“บลูคาร์บอน”หนุนบทบาททะเล เร่งธุรกิจสู่ Net Zero เร็วขึ้น
ประเทศไทยเป็นประเทศมีพื้นที่ด้านป่าชายเลน พื้นที่ราบน้ำขึ้นถึง และหญ้าทะเลบนเวทีเดียวกัน เพื่อแบ่งปันแนวทางการฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งกักเก็บคาร์บอนทะเล (Blue Carbon) ที่กักเก็บได้มากกว่าระบบนิเวศป่าบกถึงเกือบ 10 เท่า
ซึ่งสร้างประโยชน์ทั้งทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการรวบรวมความเห็นเพื่อการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการอนุรักษ์และนำพาประเทศไทยและภาคธุรกิจบรรลุสู่เป้าความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero
ดินโด แคมปิลัน ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย และผู้อำนวยการศูนย์กลางภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) กล่าวว่า บลูคาร์บอน คือ การกักเก็บคาร์บอนโดยระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่มีประสิทธิภาพกักเก็บสูงกว่าป่าบก แต่ปัจจุบันทรัพยากรเหล่านี้ถูกทำลายไปมาก จำเป็นต้องมีการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรเหล่านี้เพื่อคงไว้ซึ่งการรักษาระบบนิเวศบริการ จากการกักเก็บคาร์บอน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว และเพื่อบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่เรียกว่า Nature-based Solution หรือการแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน เพื่อให้ธรรมชาติสามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหาที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ เช่น แหล่งเพาะพันธุ์อาหารถูกทำลาย น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่มาจากปัญหาภาวะโลกร้อน
พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)กล่าวว่า บลูคาร์บอนมาจากภาคทะเลและช่ายฝั่งหญ้าทะเล ป่าชายเลนและชายฝั้ง สามารถ ดูดซับคาร์บอนมากกว่าป่าไม้กว่า 10 เท่า มีการส่งเสริมการปลูกป่าชายเลน และหญ้าทะเล สาหร่ายทะเลในการดูดซับคาร์บอน ในการลดภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต การเก็บกักบูลคาร์บอน มีความสำคัญอย่างมากสามารถลดภาวะโลกร้อนได้
ฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหารกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) กล่าวว่า ได้ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และ IUCN ก่อตั้งเครือข่าย Dow & Thailand Mangrove Alliance ตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งในปัจจุบันเป็นภาคีเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่งที่มีองค์กรเข้าร่วมมากที่สุดในประเทศไทย และมีแผนงานที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานกับเครือข่ายป่าชายเลนโลก Global Mangrove Alliance และการตั้งเป้าหมายการกำจัดขยะพลาสติก และป้องกันขยะพลาสติกหลุดสู่ทะเล วางระบบสร้างเครือข่ายดูแลป่าชายเลนและมีส่วนร่วมกับภาครัฐและเอกชนในการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่ออนุรักษ์เขตพื้นที่ทะเล บลูคาร์บอนและสนับสนุนธุรกิจสู่ Net Zero ได้อย่างยั่งยืน
อภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ในฐานะที่ทช. มีภารกิจในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู คุ้มครอง ดูแล รักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรวมถึงป่าชายเลน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกี่ยวกับการลดก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้ จึงได้จัดทำโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต กำหนดเป้าหมายระยะ 10 ปี (ปี2565-2574) เนื้อที่ 300,000 ไร่ ในท้องที่ 23 จังหวัดชายฝั่งทะเล
โดยทช. ได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต สำหรับบุคคลภายนอก และระเบียบการปลูกป่าชายเลยเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตสำหรับชุมชน พ.ศ. 2565 ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและชุมชนสามารถยื่นเข้าโครงการ สำหรับในปี พ.ศ. 2565 มีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการ สำหรับบุคคลภายนอกประมาณ 44,000 ไร่ และสำหรับชุมชนประมาณ 44,000 ไร่ เช่นกัน ซึ่งขณะนี้ ได้รับความสนใจ มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก โดยเมื่อได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการจากทช.แล้ว ผู้เข้าร่วมจะต้องยื่นจดทะเบียนโครงการฯ กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งเป็นหน่วยงานประเมินคาร์บอนเครดิต สำหรับการดำเนินโครงการ โดยทช.เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ในทุกขั้นตอนของการดำเนินการ
โครงการนี้นอกจากได้พื้นที่ป่าที่สมบูรณ์กลับคืนมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว ยังประหยัดงบประมาณภาครัฐได้ถึงปีละประมาณ 600-700 ล้านบาท อีกทั้งเป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ดำเนินโครงการ สำหรับกรอบระยะเวลาการดำเนินการ ผู้ร่วมโครงการจะต้องดำเนินการปลูกและบำรุงดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องในระยะ 10 ปีขึ้นไป จะทำให้พื้นที่ป่าชายเลน ที่เสื่อมโทรมได้รับการปลูกฟื้นฟูคืนสู่ความสมบูรณ์และประชาชนใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป”
นอกจากป่าชายเลนยังมีแหล่งหญ้าทะเลซึ่งนับรวมเป็นระบบนิเวศบลูคาร์บอน หญ้าทะเลได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในประเทศไทยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาในฐานะแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์
เกรียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO)กล่าวว่า คาร์บอนเครดิตสามารถไปลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้ การปลูกป่าในปัจจุบันไม่ใช่แค่กิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility)แต่เป็นการปลูกป่าที่มีคุณค่าสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนได้ชัดเจน และสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรปรับมาตรฐานสู่สากล และผลักดันโปรเจคปลูกป่าเพื่อไปการลดภาษีได้ 2 เท่า และกฎหมายเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไปประสานกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องเดิมเพื่อความยั่งยืนของประเทศ