NCSA จัดหลักสูตรป้องความปลอดภัยทางไซเบอร์

NCSA  จัดหลักสูตรป้องความปลอดภัยทางไซเบอร์

สกมช. - AIIT จัดทำหลักสูตร ผู้นำการปฏิบัติ-ผู้นำตรวจสอบ เสริมขีดความมั่นคงปลอดภัยตาม พ.ร.บ. ไซเบอร์ หวังหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ให้กับหน่วยงานได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) หรือ NCSA กล่าวว่า เพื่อยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  NCSA ร่วมกับ บริษัท เอเชี่ยน อินเทลลีเจนท์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (AIIT)  จัดทำ หลักสูตรผู้นำการปฏิบัติ (Lead Implementor) และหลักสูตรผู้นำตรวจสอบ (Lead Auditor)

 

NCSA  จัดหลักสูตรป้องความปลอดภัยทางไซเบอร์ NCSA  จัดหลักสูตรป้องความปลอดภัยทางไซเบอร์ NCSA  จัดหลักสูตรป้องความปลอดภัยทางไซเบอร์

                โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจในนโยบาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึง มาตรการ มาตรฐาน แนวปฏิบัติขั้นต่ำและแนวทางการส่งเสริมในการปกป้องและรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562

พื่อช่วยให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ให้กับหน่วยงานได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป โดย มีผู้เข้าร่วมการอบรมจากหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ และหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจ โดยผ่านการสอบวัดผลตามเกณฑ์ที่ สกมช. กำหนด จำนวนทั้งสิ้น 80 คน

นวรัตน์ ฉายศรี ศูนย์วิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ  กล่าวว่า ปัจจุบันมีการเชื่อมโยงอุปกรณ์เทคโนโลยีทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอีกหลากหลายอุปกรณ์ผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในการทำงานและใช้ในชีวิตประจำวันให้ดำเนินไปอย่าง สะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ Lifestyle ทำให้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ จําเป็นต่อชีวิตประจำวันอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้และมีแนวโน้มการใช้งานเติบโตอย่างก้าวกระโดด ยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19ทำให้หลายหน่วยงานทั่วโลกปรับตัวให้พนักงานทำงานจากที่บ้านมากขึ้น

ข้อมูลจาก Statista แสดงถึงตัวเลข ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ปี 2564 มีจำนวน 4.72 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 60.1 ของประชากรโลก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกั บปี 2563 และมี รายงานของ Trend Micro กล่าวถึงภัยคุกคามที่เกี่ยวกับ Ransomware 7,353,785 ครั้ง ซึ่งประเทศไทยถูกตรวจพบมากถึง 25,595 ครั้ง

จากตัวเลขดังกล่าวทำให้หน่วยงานและผู้ใช้งานต้องระวังเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์มากขึ้นด้วย เนื่องจากอาชญากรจะพยายามโจมตี ทางไซเบอร์ผ่านทางช่องโหว่หรือจุดอ่อนต่าง ๆ ของระบบ เพื่อเข้าควบคุมระบบ ขโมยข้อมูลสำคัญ เรียกค่าไถ่ หรือหวังให้เกิดผลเสียอื่น ๆ ตามมา

ดังนั้นหน่วยงานควรใช้ กรอบทำงานด้านความมั่นปลอดภัยไซเบอร์ หรือ NIST Cyber Security Framework ที่เสนอถึงหลักการและแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงปลอดภัย ช่วยให้หน่วยงานสามารถวางแผนป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ