“พลังงาน” ชี้ราคาพลังงานผันผวน เร่งสร้างอีโคซิสเต็มสีเขียวสู่เป้า Net Zero
“พลังงาน” ย้ำวิกฤติราคาพลังงานยังคงผันผวน เร่งสร้างอีโคซิสเต็มพลังงานสะอาด ลดพึ่งพาการนำเข้า ชูจุดยืนใช้กลยุทธ์ 4D1E นำประเทศไทยสู่เป้าหมาย “Net Zero” ปี 2065
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานกรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป กล่าวในงานสัมมนา “EGCO Group Forum 2022: Carbon Neutral Pathway ปฏิบัติการสู่ความเป็
นอกจากนี้ ในช่วงนี้ถือเป็นช่วงของวิกฤติพลังงาน โดยนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศถึง 92% ราคาจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าถึง 70% จากเดิมประเทศไทยสามารถนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าได้ในราคาที่ถูก แต่มีการนำมาใช้นานถึง 30-40 ปี ส่งผลให้ปริมาณก๊าซในประเทศลดลง ส่งผลให้ต้องมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนในประเทศไทยขณะนี้เหลือ 32% นำเข้า 38% ส่งผลให้ต้นทุนสูง
นายกุลิศ กล่าวว่า หากประเทศไทยไม่ทำอะไรเลย การใช้พลังงานหมุนเวียนปัจจุบันยังน้อยแค่ 23-24% ประเทศต่างๆ ออกนโยบาย อย่าง ญี่ปุ่น มีนโยบาย กรีน เอ็นเนอร์จี้ ทั้งในเรื่องของไฮโดรเจน และพลังงานจากยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ยังต้องเริ่มต้น R&D ที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินถึง 2 ล้านล้านเยน ในการปรับปรุงระบบในระยะแรก ส่วนระยะที่ 3 จะให้เอกชนดำเนินการเองเต็มรูป ส่วนยุโรปให้เงิน 8.5 หมื่นล้านยูโร เพื่อปรับระบบโครงสร้างพื้นฐาน นำไปสู่ภาคขนส่งสู่สีเขียว เป็นต้น
ทั้งนี้ ประเทศไทย จึงได้มีการปรับกรอบแผนพลังงานชาติ 2022 โดยจะแล้วเสร็จปลายปี 2565 หรือต้นปี 2566 ซึ่งกรอบหลักเพิ่มสัดส่วนยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนอย่างน้อย 50% การปรับพลังงานขนส่งเป็นสีเขียว รถอีวี มีบอร์ดอีวีมาดำเนินการสนับสนุน อาทิ การช่วยในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ลดลงคันละประมาณ 2 แสนบาท เพื่อให้ราคารถอีวีมีราคาเทียบเท่ารถสันดาป โดยพบว่าปีนี้รถอีวีเติบโตที่ 275% จากระดับพันคันเป็นระดับหมื่นคน แผนต่อไปคือ ต้องเตรียมการขยายสถานีชาร์จ โดยเน้นบ้านเรือน และการสนับสนุนผู้ประกอบการแบตเตอรี่ในประเทศไทย รวมถึงการเพิ่มสถานีชาร์จอีวีทั้งเชิงพาณิชย์ และตามอาคารบ้านเรือน เป็นต้น
นายกุลิศ กล่าวว่า ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านพลังงานฟอสซิลไปพลังงานสะอาด อาจจะต้องใช้เวลา กระทรวงพลังงานจะใช้มาตรการ 4D1E ประกอบด้วย 1. D-carbonization ลดการปล่อยคาร์บอนในการผลิตไฟฟ้า เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน 6,000 เมกะวัตต์ ใน 20 ปี อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ โซลาฟาร์ม พลังงานลม พลังงานขยะ เชื้อเพลิงชีวมวล ชีวภาพ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยี CCUS หรือ การกักเก็บก๊าซคาร์บอน และเอามาใช้ประโยชน์ โดยขณะนี้ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.ได้เริ่มเก็บก๊าซคาร์บอนในแท่นขุดเจาะก๊าซปิโตรเลียม และน้ำมันในอ่าวไทย คือ แท่นอาทิตย์แล้ว และกำลังทำอ่าวไทยตอนบนคือ มาบตาพุด โดยร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์กรบริหารก๊าซเรือนกระจก ที่ทำในเรื่องของกรีน ไฮโดรเจน ซึ่ง เอ็กโก กรุ๊ป ได้มุ่งไปทางนี้เช่นกัน
2. D-digitalization โดยนำอินเทอร์เน็ตออฟติงมาใช้ในภาคพลังงาน หรือ Internet of Energy โดยใช้ AI ช่วยเรื่องการจัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูลทำ ดาต้า แพลตฟอร์ม ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เข้าสู่ระบบสมาร์ทกริดในพื้นที่ต่างๆ ไปถึง Smart สายส่งอัจฉริยะ เป็นต้น
3. D-centralization ถือเป็นการใช้โรงไฟฟ้าขนาดเล็กเริ่มต้นที่ 3-10 เมกะวัตต์ ที่เปลี่ยนจากระบบไฟฟ้าแบบเดิมให้เป็นระบบไมโครกริดสามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบจ่ายไฟระบบใหญ่ สามารถขายไฟฟ้าออนไลน์ ซึ่งเป็นไฟฟ้าสะอาดราคาที่ถูกลง
4. D-regulation ล่าสุด คณะกรรมการนโยบายพลังงานแหล่งชาติ (กพช.) ได้อนุมัติการเก็บค่าไฟฟ้าสำหรับพลังงานหมุนเวียนจากแสงแดด ลม น้ำ ชีวมวล และชีวภาพ เพื่อนำมาจำหน่ายให้กับบริษัทที่ต้องการใช้พลังงานสะอาด (RE100) ในการผลิตสินค้าจากพลังงานสะอาดออกจำหน่ายทั่วโลกโดยไม่ถูกตีกลับ ซึ่งอาจจะต้องมีการลงทุนในเรื่องของสายส่งพลังงานสะอาด เป็นต้น
5. ELECTRIFICATION รับมือยุคการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วที่ส่งผลกระทบต่อวงการพลังงาน (Disruption) ซึ่งจะมีทั้งการยกระดับโครงข่ายไฟฟ้าให้เป็น smart grid ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) เชื่อมโยงโรงไฟฟ้าระดับชุมชน ที่มาจากแสงอาทิตย์ ชีวภาพ และชีวมวล เป็นต้น
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์