sustainability
"กรุงเทพฯ"มี"จำนวนรถ"เท่ากับ"จำนวนคน"
ข้อมูลจาก ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนำเสนอผลงานวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพและต้นทุนทางสุขภาพของฝุ่นละอองขนาดเล็กจากภาคขนส่งทางถนน ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่าแหล่งกำเนิดของฝุ่น PM2.5ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
พบว่า 54% มาจากการขนส่งทางถนน 22% ภาคอุตสาหกรรม 11% ภาคครัวเรือน 10% ภาคขนส่งอื่นๆ และ1% จาก ภาคเกษตร ภาคพลังงาน และการจัดการขยะ
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ประสบกับปัญหาด้านการจราจรเช่นเดียวกับอีกหลายเมืองทั่วโลก ส่งผลให้การใช้ชีวิตในเมืองลำบากขึ้นและความน่าอยู่ของเมืองลดลง ถึงแม้จะมีการลงทุนมหาศาลในระบบขนส่งสาธารณะ แต่ส่วนใหญ่ก็เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองซึ่งไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาเดิมที่มีอยู่
ดังนั้นความท้าทายหลักสำหรับกรุงเทพมหานครคือการพัฒนาระบบขนส่งที่พึ่งพารถยนต์ส่วนตัวน้อยลงและเน้นใช้การขนส่งสาธารณะ การเดิน และการใช้จักรยานให้มากขึ้น นโยบายหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนาระบบขนส่งให้มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น และสนับสนุนการบูรณาการรูปแบบการขนส่งที่ใช้พลังงานต่ำและลดการปล่อยมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ