เปิดอาหารแห่งอนาคตเพื่อ "ความยั่งยืน"
จากที่ไทยมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเอเปคผ่านการเปลี่ยนแปลงสู่โลกที่สมดุล มีส่วนร่วม และยั่งยืนหลังโควิด-19 ภายใต้แนวคิด BCG Economy เพื่ออาหารที่ยั่งยืน
ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติว่าเป็น “ครัวของโลก” และอาหารไทยถือเป็น Soft Power ที่สำคัญของประเทศ คนไทยกว่า 38.9 ล้านคนอยู่ในภาคอาหารและเกษตร ประเทศนี้อยู่ในอันดับที่ 12 ของโลกในฐานะผู้ส่งออกอาหารและได้รับการยกย่องจาก UN ให้เป็น “แบบอย่าง” ในด้านการเกษตรและสาธารณสุขที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้แนวคิด BCG เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงพลังอ่อนของอาหารไทย ได้รับการพัฒนาด้วยนวัตกรรมและภูมิปัญญาตามกระแสแห่งอนาคตในมุมมองด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ เป็นการโชว์ศักยภาพการเป็น “ครัวแห่งโลกอนาคต” ภายใต้แนวคิด BCG ส่งเสริมความผูกพันและศักดิ์ศรีเป็นเวทีให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงพลังของประเทศ ต่อยอดจากนโยบาย 5 S-Curve ศักยภาพของ Soft Power และความยั่งยืน สร้างความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของเศรษฐกิจใหม่แก่สตาร์ทอัพและเกษตรกร
แนวคิดของการพัฒนาอาหารแห่งอนาคต หรือ Future Food โดยเน้น 3 สรรพคุณ คือ ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ และดีต่อโลกนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นทิศทางของการพัฒนานวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาเพื่อ ตอบสนองต่อปัญหาและความท้าทายของโลก อย่างสภาวะความมั่นคง ทางอาหาร (Food Security) คือ สภาวะที่ทุกคน และทุกช่วงเวลา เข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะด้วยความสามารถทางกายภาพ หรือเศรษฐกิจก็ตาม อีกทั้งอาหารที่ได้รับจะต้องปลอดภัย มีคุณค่า ด้านโภชนาการต่อร่างกาย เพื่อให้เกิดความพึงพอใจและตอบสนอง ได้อย่างเหมาะสม
โดยผลักดันประเด็นหลักที่จะช่วยสนับสนุน นโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก ผ่านนโยบาย 5 ด้าน 1. สนับสนุนความปลอดภัยทางอาหาร อ่านวยความสะดวกทางการค้า 2. ปรับปรุงการดำรงชีวิตและ ความเป็นอยู่ที่ดี 3. ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากร ธรรมชาติ 4. ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภาคเกษตรและอาหาร 5. สร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ผลักดันความร่วมมือด้านการเกษตร ไทย จะผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ควบคู่กับ นโยบาย “3S” ได้แก่ Safety ความปลอดภัย ของอาหาร Security & Sustainability ความมั่นคงและความยั่งยืนของภาค การเกษตร พร้อมส่งเสริมเทคโนโลยีและ นวัตกรรม เพิ่มโอกาสในการเข้าถึง เศรษฐกิจดิจิทัล
ซึ้งเป็นโอกาสที่น่าสนใจของประเทศไทยในที่ประชาคมโลก มีจุดแข็ง คือ ความโดดเด่นด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ที่ทําให้เรา มีความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ในระดับค่อนข้างสูง และการผลักดันนโยบาย ด้านอาหารที่สําคัญในหลายมิติจะทำประสบความสำเร็จในการค้า การลงทุน และความยั่งยืน โดยเน้นที่ประโยชน์สำหรับอนาคตทางอาหารที่ยั่งยืน ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดต่อไป