รู้มั้ย"คลองลาดพร้าว"ยาวกว่า24กม.เก็บขยะ5 กม.ได้วันละ1-2 พันกก.ต่อวัน

รู้มั้ย"คลองลาดพร้าว"ยาวกว่า24กม.เก็บขยะ5 กม.ได้วันละ1-2 พันกก.ต่อวัน

“โลกใบเดียว รักษาไว้ไม่ได้” ดูจะเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริงสำหรับในยุคปัจจุบันที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลก ทั้งการบริโภคอุปโภค การดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม ภาคพลังงาน ภาคบริการ ค้าปลีก ทุกภาคส่วนต่างมีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อมโดยไม่ได้ทดแทน

ปัจจุบันโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากเดิมจนเหล่านักวิชาการ องค์กรนานาชาติทั่วโลกต่างออกมาเตือน อย่างให้อุณหภูมิของโลกแตะถึง 1.5 องศาเซลเซียล ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะ “ขยะ” ไม่ว่าจะเป็นขยะมูลฝอย พลาสติก ขยะอาหารเหลือทิ้ง ล้วนเกิดจากมนุษย์ทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อมนุษย์เป็นคนสร้างก็ต้องเริ่มแก้ที่มนุษย์

จากสถิติงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2563 พบว่า ประเทศไทยมีการสร้างขยะพลาสติกต่อประชากรสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก โดยมีปริมาณขยะพลาสติก 4,796,494 ตัน/ปี  (หรือราว 69.54 กิโลกรัม/ปี/คน) และมีสัดส่วนขยะพลาสติกในขยะทั่วไปมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ปริมาณพลาสติกในประเทศไทย แบ่งเป็นประเภทถุงพลาสติก 1.11 ล้านตัน ขวดพลาสติก   0.40 ล้านตัน แก้ว กล่อง และถาดพลาสติก 0.23 ล้านตัน ตามลำดับ

รู้มั้ย\"คลองลาดพร้าว\"ยาวกว่า24กม.เก็บขยะ5 กม.ได้วันละ1-2 พันกก.ต่อวัน

โดยในพื้นที่ "กรุงเทพมหานคร" มีปริมาณขยะสูงถึง 10,000 ตัน/วัน มีทั้งขยะบกและขยะในแม่น้ำลำคลอง ซึ่งขยะในแม่น้ำลำคลองนั้น ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีคลองระบายน้ำ 1,980 คลอง อยู่ในความดูแลของสำนักการระบายน้ำ 233 คลอง แต่จัดเก็บขยะในลำคลองยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่และอุปกรณ์บางส่วนชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ อย่าง การเก็บขยะในคลองลาดพร้าวเก็บเป็นประจำทุกวันวันละ 2 รอบ ด้วยการวางอุปกรณ์กักขยะในลำคลองของกรุงเทพมหานคร ที่มีระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร แล้วมีทางเชื่อมต่อยังคลองแสนแสบและคลองบางซื่อที่มีการจัดเก็บขยะ โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

แก้ปัญหาขยะล้นกรุงเทพฯ ด้วยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

'การจัดการขยะ' ของไทย ทำอย่างไรให้ไปถึงเศรษฐกิจหมุนเวียน

วิกฤติโควิด 'ขยะพลาสติก' กทม. เพิ่ม 60%

"กัลฟ์" หนุน "ขยะทะเล" เป็นศูนย์ ติดทุ่นกักขยะนำร่อง 5 ปากแม่น้ำ

 

สร้างความมีส่วนร่วม สร้างรายได้แก่ชุมชนริมคลอง

เมื่อขยะในแม่ลำคลองไม่สามารถจัดการได้ ขยะเหล่านี้ก็จะไหลลงสู่ทะเล สร้างปัญหาให้แก่ทั้งสัตว์น้ำ คน และทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ซึ่งปัจจุบันขยะทะเลมีรายงานบอกไว้ว่า ในปี 2564 สามารถจัดเก็บขยะที่ตกค้างออกจากระบบนิเวศชายฝั่งรวมทั้งสิ้น 443,987 กิโลกรัม

ขยะที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ขวดเครื่องดื่มพลาสติก ถุงพลาสติก เศษโฟม ขวดเครื่องดื่มแก้ว นอกจากนี้พบขยะที่ไหลผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยามากที่สุด จำนวนเฉลี่ย 52.65 ล้านชิ้น/ปี

รู้มั้ย\"คลองลาดพร้าว\"ยาวกว่า24กม.เก็บขยะ5 กม.ได้วันละ1-2 พันกก.ต่อวัน

“เจมส์ สกอทท์” กรรมการบริหารมูลนิธิเทอร์ราไซเคิลโกลบอล และ ประเทศไทย เล่าว่ามูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทย เป็นองค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไรที่ดำเนินการบริหารจัดการขยะ ฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากขยะจำนวนมาก ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปริมาณขยะจำนวนมาก โดยเฉพาะขยะในแม่น้ำลำคลอง หากไม่มีการจัดการขยะเหล่านี้ ขยะก็จะไหลลงสู่ทะเล และทำให้การบริหารจัดการยากขึ้น เพราะขยะเมื่อลงสู่ทะเลแล้ว ส่วนใหญ่ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ อีกทั้งการจัดการขยะในทะเลต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก 

"การบริหารจัดการขยะ แก้ปัญหาขยะตั้งแต่ต้นทางเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ซึ่งการที่ทางมูลนิธิเทอร์ราไซเคิล เริ่มดำเนินการในส่วนแม่น้ำลำคลอง เพราะเมื่อคนในชุมชนได้เห็นถึงปัญหา และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการขยะ จะทำให้เกิดความยั่งยืนในการลดขยะมากขึ้น การทำงานของมูลนิธิฯ จึงเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีการหารือกับผู้นำชุมชน และมีการจ้างงานชาวบ้านในพื้นที่ เป็นการสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง และสร้างรายได้ อาชีพให้แก่คนในชุมชนร่วมด้วย" เจมส์ กล่าว

รู้มั้ย\"คลองลาดพร้าว\"ยาวกว่า24กม.เก็บขยะ5 กม.ได้วันละ1-2 พันกก.ต่อวัน

 

ปริมาณขยะคลองลาดพร้าว 5 กม. มากถึง 1,000-2,000 กก.ต่อวัน

เจมส์ กล่าวต่อว่า มูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทยดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการมาสู่ปีที่ 2 แล้ว ได้มีการบริหารจัดการเก็บขยะไปแล้วกว่า 6 แสนกิโลกรัม หรือประมาณ 600 ตัน โดยเริ่มเก็บขยะคลองลาดพร้าว เนื่องจากการสำรวจพบว่าเป็นคลองมีขยะเป็นจำนวนมาก  ทางมูลนิธิได้มีการเข้าช่วยบริหารจัดการเก็บขยะ มีการติดตั้งเครื่องดักขยะจำนวน 3เครื่องในคลองลาดพร้าว พร้อมทั้งสนับสนุนการเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะของคนในชุมชนริมคลองให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

"คลองลาดพร้าวมีความยาวกว่า 24 กิโลเมตร มีชุมชมริมคลองลาดพร้าวกว่า 50 ชุมชน ซึ่งการเก็บขยะทางมูลนิธิฯ จะตั้งเครื่องดักขยะ ที่ไม่ใช่เพียงจะดักจับขยะที่ลอยตามผิวน้ำ แต่เป็นการดักจับขยะในน้ำด้วย โดยทั้ง 3 เครื่องดักจับขยะ จะติดตั้ง 3 จุด ในระยะทาง 5 กิโลเมตร และจะมีพนักงานของทางมูลนิธิฯ เป็นผู้เก็บขยะที่อยู่ในลำคลองทุกวัน แต่ละวันจะพบว่าในระยะทาง 5 กิโลเมตรที่มีการติดตั้งเครื่องดักจับขยะ จะมีปริมาณขยะ 1,000-2,000 กิโลกรัมต่อวัน"

รู้มั้ย\"คลองลาดพร้าว\"ยาวกว่า24กม.เก็บขยะ5 กม.ได้วันละ1-2 พันกก.ต่อวัน

เมื่อได้ขยะมาแล้วจะนำมาคัดแยกขยะ โดยก่อนจะคัดแยกขยะ ต้องมีการนำขยะทั้งหมดมาตากแดดเป็นเวลา 1-2 วัน หรือมากน้อยแล้วแต่แสงแดดในแต่ละวัน หลังจากนั้นจะมีการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ ทั้งรีไซเคิลได้ และรีไซเคิลไม่ได้ ซึ่งขณะทุกประเภท ถ้ารีไซเคิลไม่ได้ก็จะมีการทำลายขยะนั้นโดยไม่ใช่วิธีการฝังกลบ 

มูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทย ร่วมมือกับเครือข่ายในสหรัฐฯ เพื่อส่งขยะไปแปรรูปในต่างประเทศ ทำให้วงจรของขยะสมบูรณ์ เกิดเป็นกระบวนการรีไซเคิลอย่างแท้จริง ส่วนขยะที่ปนเปื้อนและไม่สามารถรีไซเคิลได้ ก็จะถูกส่งไปโรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า

โดยในทุกกระบวนการจะไม่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งทางน้ำและอากาศ และมีการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต ถึงการนำขี้เถ้าและสิ่งที่เหลือจากกระบวนการมาใช้ประโยชน์ต่อไปอีกด้วย

รู้มั้ย\"คลองลาดพร้าว\"ยาวกว่า24กม.เก็บขยะ5 กม.ได้วันละ1-2 พันกก.ต่อวัน

ปัจจัยที่ทำให้ลำคลองในเมืองไทยเป็นเวนิสได้ยาก

เจมส์ กล่าวต่อไปว่าปัจจัยที่ทำให้ลำคลองของไทย ไม่สามารถก้าวสู่การเป็นเวนิสของไทยได้นั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากพื้นที่ชุมชนริมคลอง จะไม่มีถนนที่สามารถทำให้รถขยะเข้าไปเก็บขยะได้ รวมถึงชุมชนริมคลองส่วนใหญ่จะมีรายได้ต่ำ ทำให้พวกเขาสนใจเรื่องปากท้องมากกว่าจะมาช่วยจัดการดูแลสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ทางมูลนิธิฯ จึงไม่ใช่เพียงสร้างความร่วมมือกับคนในชุมชน แต่เราจะสอบถามถึงความต้องการของคนในชุมชนร่วมด้วยว่าต้องการความช่วยเหลือ หรือสอบถามความคิดเห็นในการจัดการขยะ 

"พนักงานของเราทั้ง 12 คน ล้วนเป็นคนในชุมชน ค่าแรงที่เราให้พนักงานจะสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ และมูลนิธิฯมีสวัสดิการทั้งด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และอื่นๆ ให้แก่พนักงาน ทำให้พนักงานของเรามีความร่วมมือร่วมใจที่จะช่วยแก้ปัญหาขยะ เล็งเห็นถึงปัญหา และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดขยะที่เขาไม่ได้ทำเพียงคนเดียว แต่เขาได้ขยายไปสู่ครอบครัว และเมื่อมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ พนักงานสามารถเป็นวิทยากรให้แก่ผู้เข้าร่วมงานได้ เพราะพวกเขาเข้าใจถึงปัญหาจริงๆ ทุกคนช่วยลดขยะและขยายผลไปสู่ทุกคนในชุมชน" เจมส์ กล่าว

รู้มั้ย\"คลองลาดพร้าว\"ยาวกว่า24กม.เก็บขยะ5 กม.ได้วันละ1-2 พันกก.ต่อวัน

แม้จะเป็นองค์กรที่ขนาดเล็ก ไม่ได้แสวงหากำไร แต่การจัดการขยะ การลดขยะทุกอย่างล้วนเป็นต้นทุน "เจมส์" กล่าวอีกว่า เราต้องการเป็นองค์กรที่ให้บริการที่มีความหลากหลายทั้งการเก็บ การรีไซเคิล และการสร้างจิตสำนึกการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมกับคนในชุมชน ความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรในต่างประเทศล้วนมีความสำคัญอย่างมาก 

ร่วมมือกับThe Incubation Network เพิ่มเครือข่ายจัดการสิ่งแวดล้อม

ล่าสุด มูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทย ได้ร่วมมือกับThe Incubation Network เป็นองค์กรที่เน้นแก้ปัญหาผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม  โดยให้การสนับสนุนและต่ยอดวิธีการแก้ปัญหาที่ใช้นวัตกรรมแบบองค์รวมในการแก้ปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนิเวศของผู้ประกอบการ ผ่านความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร ทั้งสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ SMEs นักลงทุน เป็นต้น 

เจมส์ กล่าวด้วยว่าแม้มูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทยจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเก็บและการจัดการขยะ แต่ในการดำเนินการจำเป็นต้องการระดมทุน และสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อขยายผลการทำงาน เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งทางThe Incubation Network มีเครือข่ายในหลากหลายประเทศ และมีโครงการต่างๆ มากมาย ความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้การทำงานของมูลนิธิฯ  มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีแนวทางในการสร้างนวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาขยะ และสิ่งแวดล้อม 

รู้มั้ย\"คลองลาดพร้าว\"ยาวกว่า24กม.เก็บขยะ5 กม.ได้วันละ1-2 พันกก.ต่อวัน

ดูอาล่า อ๊อกโตรีอานี ผู้จัดการโครงการของ The Incubation Network กล่าวว่าบทบาทหน้าที่ของผู้จัดการโครงการ จะรับผิดชอบการวางแผนและกลยุทธ์ การสร้างเครือข่าย และการบริหารพันธมิตร เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงการจัดการขยะพลาสติกธุรกิจประกอบการ SME และสตาร์ทอัพ ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น จะช่วยผู้ประกอบการธุรกิจรีไซเคิลให้เข้าถึงความต้องการของผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจากทั่วโลก ธุรกิจรีไซเคิลในประเทศไทย ต้องการความช่วยเหลือทั้งด้านเทคนิค และการลงทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขณะเดียวกันเป็นการใช้วัสดุที่มีเป็นนวัตกรรมช่วยลดการใช้พลาสติก

รวมทั้ง เป็นการให้ความรู้ช่วยเหลือแก่แรงงานนอกระบบ ปรับพฤติกรรมผู้บริโภค และนำแนวคิดการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนมาใช้ในระบบการจัดการเก็บขยะ ซึ่งต่อจากนี้ The Incubation Network จะทำงานร่วมกับทางมูลนิธิฯ ทั้งการสนับสนุนทุน การเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการกับมูลนิธิ และการจัดโครงการบ่มเพาะต่างๆ ร่วมกัน

รู้มั้ย\"คลองลาดพร้าว\"ยาวกว่า24กม.เก็บขยะ5 กม.ได้วันละ1-2 พันกก.ต่อวัน

เตรียมเปิดธนาคารขยะ ธนาคารรีไซเคิล ดึงชุมชนร่วมลดขยะในลำคลอง

นอกจากการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรมากขึ้นแล้ว ปลายปีนี้ "มูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทย" เตรียมเปิดธนาคารขยะ ธนาคารรีไซเคิล โดยจะนำร่องใน 4 พื้นที่ ชุมชนริมคลองลาดพร้าว จะเริ่มที่วัดลาดพร้าว เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักและเห็นคุณค่าของขยะที่สามารถแปรรูปเป็นเงินได้  ขณะเดียวกัน จะขยายความร่วมมือไปสู่ชุมชน ภาคเอกชนมากขึ้น มูลนิธิฯ พร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยนลดขยะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง นอกจากนั้นในส่วนของธนาคารขยะจะเริ่มดำเนินการในจ.สงขลาร่วมด้วย 

"สิ่งสำคัญในการจัดการขยะนั้น ไม่ใช่การเก็บขยะในคลอง แต่ต้องทำให้คนเห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทิ้งขยะในคลอง และมีจิตสำนึก ตระหนึกถึงปัญหาของขยะในแม่น้ำลำคลอง ที่ไม่ใช่มีเพียงขยะพลาสติก แต่มีทั้งที่นอน รองเท้า  เครื่องใช้ไฟฟ้า หมวกกันน็อค อุปกรณ์มอเตอร์ไซต์ และอีกมากมาย ดังนั้น อยากฝากทุกคนอย่าทิ้งขยะในแม่ลำคลอง เพราะหากขยะเหล่านี้ไหลลงสู่ทะเล อาหารที่เรารับประทาน ไม่ว่าจะเป็น สัตว์น้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพล้วนมีไมโครพลาสติกปกเปื้อนและจะส่งผลต่อทุกคน" เจมส์ กล่าวทิ้งท้าย

รู้มั้ย\"คลองลาดพร้าว\"ยาวกว่า24กม.เก็บขยะ5 กม.ได้วันละ1-2 พันกก.ต่อวัน