"Net Water Positive" คืนแหล่งน้ำท้องถิ่น-ชุมชนยั่งยืน

"Net Water Positive" คืนแหล่งน้ำท้องถิ่น-ชุมชนยั่งยืน

ตลอดระยะเวลากว่า 8 ปี ตั้งแต่ปี 2558 ที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ (อบจ.แพร่) พยายามแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ รวมกับปัญหาความยากจนของชุมชน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย โดยปัญหาทั้ง 3 สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านอย่างมาก

"จ.แพร่" มีปัญหาเรื่องน้ำอย่างมาก ทั้งการขาดแคลนน้ำ น้ำแล้งในหลายพื้นที่ รวมถึงมีปัญหาความขัดแย้งในชุมชน เพราะต้องแย้งน้ำกัน เพื่อนำมาใช้อุปโภค บริโภค และทำการเกษตร  ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่จะทำอาชีพเกษตรกรรม

ขณะที่บางพื้นที่สภาพน้ำก็ไม่เหมาะต่อการบริโภค เมื่อไม่มีการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ พื้นที่ป่าต้นน้ำถูกบุกรุก  ปัญหาขาดแคลนน้ำจึงได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำมาหากินอย่างมาก

\"Net Water Positive\" คืนแหล่งน้ำท้องถิ่น-ชุมชนยั่งยืน

บริหารจัดการน้ำ ปลูกป่าต้นน้ำ

นางเพ็ญศรี ปันฟอง ตัวแทนชุมชนแม่ขมิง จ. แพร่ เล่าว่าอดีตชาวบ้านจะทำการเกษตรได้ยาก เพราะน้ำไม่พอ ผลผลิตก็ออกมาไม่ดี เดือนร้อนมาก ยิ่งสภาพอากาศแปรปรวน ภัยแล้งรุนแรงและยาวนานมากขึ้น ชาวบ้าน เกษตรกรยิ่งลำบาก

ดังนั้น เมื่อทางอบจ.แพร่ จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่ และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน อย่าง มูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อพ.) ,สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) และกลุ่มธุรกิจ TCP ได้เข้ามาช่วยบริหารจัดการน้ำ ผ่านโครงการ TCPโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย  ทำให้เกิดความร่วมมือและช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้อย่างแท้จริง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

กลุ่มธุรกิจ TCP ทุ่ม 1,500 ล. ผนึก CROWN ผุดโรงงานกระป๋องฯ ป้อนชูกำลัง

กระทิงแดง ยืนหนึ่ง! ย้ำนโยบายตรึงราคาเครื่องดื่มชูกำลัง 10 บาท

เปลี่ยนตู้เสื้อผ้าให้เป็นเงิน กับธุรกิจใหม่ "Cycle by SOS"

ยุทธศาสตร์สร้าง“นิเวศน์โชห่วย” เคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนโตยั่งยืน

 

จัดทำข้อมูล ฟื้นฟูป่า สร้างฝาย แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ปี 2561 ที่ “อัจฉริยะพงษ์ ปันพอง" ผู้ใหญ่บ้านแม่ขมิง ได้ไปเรียนรู้การจัดการน้ำกับโรงเรียนบริหารจัดการน้ำที่ทางสสน.จัดขึ้น ทำความเข้าใจในการสร้างรูปแบบการจัดการน้ำ โดยเน้นไปที่การแก้ปัญหาเรื่องน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค รวมถึงการจัดทำข้อมูลของพื้นที่ และดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายทอดความรู้ให้ชาวบ้าน  ช่วงแรกมีชาวบ้านเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ยอมเข้ามาฟัง

ต่อมาปี 2562 กลุ่มธุรกิจ TCP ได้เข้ามาสนับสนุนทั้งในด้านงบประมาณ และอุปกรณ์ต่างๆ โดยสสน.คัดเลือกชุมชน หมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจัง และสามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน

\"Net Water Positive\" คืนแหล่งน้ำท้องถิ่น-ชุมชนยั่งยืน

ขณะนั้น “ผู้ใหญ่อัจฉริยะพงษ์ และชาวบ้านกลุ่มแรก” ได้จัดทำข้อมูลในพื้นที่ชุมชน รู้ถึงปัญหาและสาเหตุที่ทำให้ขาดแคลนน้ำ และน้ำคุณภาพไม่ดี ทำให้เห็นถึงการบริหารจัดการน้ำที่เห็นผล แก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน

หลังจากมีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่อย่างชัดเจน และนำแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทาง รวมถึงความร่วมมือจากชาวบ้าน และการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน จึงร่วมกันจัดทำแนวกันไฟ สร้างฝายชะลอน้ำ กันตะกอนไหลลงอ่างเก็บน้ำ และการใช้ระบบท่อนำน้ำจากภูเขามาสะสมไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของชุมชน จนปัจจุบันในเขตชุมชนสามารถมีน้ำอุปโภคบริโภคได้ตลอดหน้าแล้ง ไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำแล้ว

\"Net Water Positive\" คืนแหล่งน้ำท้องถิ่น-ชุมชนยั่งยืน

รวมถึงยังมีแนวทางในการลดการเผาในชุมชน และลดจำนวนเชื้อเพลิงที่ติดไฟง่าย เช่น ใบไม้, กิ่งไม้ แล้วนำมาสร้างประโยชน์โดยการหมักกับมูลวัวที่หาได้ทั่วไปในท้องถิ่นผสมกับเชื้อจุลินทรีย์ ให้เป็นปุ๋ยชีวภาพใช้ในการเกษตรของคนในชุมชน 

\"Net Water Positive\" คืนแหล่งน้ำท้องถิ่น-ชุมชนยั่งยืน

 

ฟื้นพื้นที่แล้งสู่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

 เปลี่ยนจากพื้นที่ที่มีปัญหาดินโคลนถล่ม เพราะตัดไม้ทำลายป่า เกิดไฟป่า และภัยแล้ง จนเกษตรกรไม่สามารถทำมาหากินได้ กลายเป็นชุมชนต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจรทั้งเรื่องการจัดการป่า ปศุสัตว์ พลังงานทดแทน การบริหารจัดการน้ำ และการเกษตร ชาวบ้านช่วยกันปรับภูมิทัศน์จนกลายเป็น “อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปะยาง” ที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ทำการเกษตร และป้องกันไม่ให้น้ำไหลนองในฤดูน้ำหลาก

\"Net Water Positive\" คืนแหล่งน้ำท้องถิ่น-ชุมชนยั่งยืน

"เพ็ญศรี" เล่าต่อว่า ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำมากกว่าต้นทุนน้ำที่ชุมชนต้องการ สร้างผลผลิตการเกษตร มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สามารถนำไปแปรรูปและเพิ่มมูลค่าได้อย่างต่อเนื่อง ยิ่งในช่วงโควิด-19 มีหลายๆ ครอบครัว เด็กรุ่นใหม่ คนว่างงานกลับมาอยู่บ้าน พวกเขาได้มีที่ทำมาหากิน ทำการเกษตร สร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัวได้ถึง 8,000 – 15,000 บาท/เดือน และชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น ไม่มีความขัดแย้งเหมือนในอดีต

ปลุกพลังคนรุ่นใหม่รักษ์ป่า-ดูแลน้ำ

"อัจฉริยะพงษ์" เล่าเสริมว่าปัจจุบันได้พัฒนาพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปะยาง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนมากขึ้น โดยช่วงเดือนเม.ย. สงกรานต์นี้ จะมีกิจกรรม Fishing หรือเทศกาลกินปลา และแข่งขันตกปลา และช่วงวันแม่ เดือนส.ค.จะมีกิจกรรมวิ่งเทรล ซึ่งจะเปิดรับนักวิ่ง และนักท่องเที่ยวให้ได้มาสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติรอบอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปะยาง โดยการต้อนรับจากพี่น้องในหมู่บ้าน รวมถึงจะมีการจัดกิจกรรมดนตรี และสินค้าการเกษตรจากชาวบ้าน

\"Net Water Positive\" คืนแหล่งน้ำท้องถิ่น-ชุมชนยั่งยืน

“การฟื้นฟูป่า บริหารจัดการน้ำ ไม่ใช่เพียงดึงชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่เข้ามามีส่วนร่วมเท่านั้น แต่ยังปลูกฝังกลุ่มเยาวชน เพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืน และต่อยอด ซึ่งเยาวชนคนรุ่นใหม่พวกเขาเรียนรู้ได้เร็ว ใช้เทคโนโลยีเก่ง และอยากให้คนรุ่นใหม่กลับมาช่วยดูแลบ้านเกิด แหล่งน้ำของตนเอง ดังนั้น หากมีน้ำหมายถึงมีอาชีพ เมื่อกลับมาอยู่บ้านเกิดของตัวเองพวกเขาจะได้ร่วมกันอนุรักษ์ดูแลผืนป่า ดูแลแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ และมีอาชีพ มีรายได้ต่อไป”อัจฉริยะพงษ์ กล่าว

DSLM "บ้านเหล่าเหนือ"มีน้ำใช้

ส่วนที่ ชุมชนบ้านเหล่าเหนือ แก้ปัญหาน้ำตามแนวทาง DSLM  ตามความต้องการ  D(Demand)ของประชาชน S(Supply) คือ ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ L(Logistics) คือ โครงข่ายน้ำในเขตพื้นที่ และ M(Management) คือ การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

\"Net Water Positive\" คืนแหล่งน้ำท้องถิ่น-ชุมชนยั่งยืน

"กัณหา แสงแก้ว" ผู้ใหญ่บ้านเหล่าเหนือ เล่าว่าพื้นที่แห้งแล้งมาก และขาดแคลนน้ำมาตลอด ทั้งน้ำอุปโภค บริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร จนได้ไปเข้าโรงเรียนบริหารจัดการน้ำ ซึ่งต้องเริ่มจากการจัดทำข้อมูลเพื่อจะได้รู้จักพื้นที่ของตนเอง  รวมกลุ่มกับชาวบ้าน และทางศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่เข้ามาทำงานร่วมกัน มีการจัดทำข้อมูล และนำนวัตกรรมแนวคิด DSLM มาใช้

โดยให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารในการประมวลผลการตัดสินใจ ด้วยการลงพื้นที่ศึกษาสภาพปัญหาวิเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริง โดยใช้แอพพลิเคชั่น แผนที่ทางอากาศ และสร้างฝายกักเก็บน้ำเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแบบมีส่วนร่วมของประชาชน

หลังจากมีการนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทำให้มีการจัดทำสมดุลน้ำ ช่วยกันสร้างฝายชะลอน้ำ ฟื้นฟูป่า ส่งผลให้ปัจจุบันชุมชนบ้านเหล่าเหนือน้ำเพียงพอในการทำเกษตร เลี้ยงสัตว์ สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่คนในชุมชน

\"Net Water Positive\" คืนแหล่งน้ำท้องถิ่น-ชุมชนยั่งยืน

โมเดล "TCPโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย" ช่วยบริหารจัดการน้ำ

"TCPโอบอุ้มลุ่มน้ำไทย" เป็นหนึ่งในโครงการของ “กลุ่มธุรกิจ TCP” ที่เห็นความสำคัญของน้ำ โดยได้ร่วมมือกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งน้ำบนดิน และใต้ดิน เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง นำร่องใน 3 ลุ่มน้ำใหญ่ ได้แก่ ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำบางปะกง และลุ่มน้ำมูล

 ดำเนินงาน 5 ปี (.2562 - 2566) เพิ่มปริมาณน้ำมากกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตร (หรือกว่า 3 เท่าของปริมาณน้ำที่กลุ่มธุรกิจ TCP ใช้ในตลอดกระบวนการ) ให้ชุมชน กว่า 16,000 ครอบครัว ใน 7 จังหวัด ได้เข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม โดยสนับสนุนงบดำเนินการ 100 ล้านบาท ขยายการพัฒนาออกไปจนครบทั้ง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ

\"Net Water Positive\" คืนแหล่งน้ำท้องถิ่น-ชุมชนยั่งยืน

"อรัญญา ลือประดิษฐ์"  รองผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสาร กลุ่มธุรกิจ TCP เล่าว่าการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทุกมิติ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับแหล่งน้ำต่างๆ โดยการสนับสนุนในส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำยม จ.แพร่ จะเป็นน้ำบนดิน เพื่อสร้างสมดุลน้ำให้แก่คนในชุมชนได้มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี และสามารถทำการเกษตรได้

“เราได้ทำงานลงพื้นที่อย่างใกล้ชิด เริ่มต้นวางแผนและลงมือทำโดยชุมชน เสริมด้วยหน่วยงานภาครัฐที่เข้าไปให้ความรู้ และนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ เข้าไปช่วยให้เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำ ทำให้เกิดการทำงานที่มีระบบและเป็นรูปธรรม จนปัจจุบันสามารถพลิกฟื้นพื้นที่แห้งแล้ง ให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำอุปโภคบริโภค และทำการเกษตรอย่างมั่นคง ตามนโยบาย  Net Water Positive หรือการใช้น้ำสุทธิเป็นบวก ลดการใช้ทรัพยากรน้ำและเติมน้ำสะอาดกลับคืนสู่แหล่งน้ำในท้องถิ่นให้ได้มากกว่า 100 %" อรัญญา กล่าว

\"Net Water Positive\" คืนแหล่งน้ำท้องถิ่น-ชุมชนยั่งยืน