เครื่องดื่มไทยปรับตัวตามเทรนด์ บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม โตยั่งยืน

เครื่องดื่มไทยปรับตัวตามเทรนด์ บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม โตยั่งยืน

ด้วยความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของผู้ประกอบการ จึงต้องเปลี่ยนแปลงไปเพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจัยหลักกระตุ้นองค์กรสู่ความยั่งยืน

Keypoint:

  • 3 มิติ "สภาพภูมิอากาศ สุขภาพใจ สื่อสารที่เรียบง่ายและชัดเจน" ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเครื่องดื่มได้
  • ทุกธุรกิจต้องให้ความสำคัญ หรือ Sustainable Business วิถี ไลฟ์สไตล์ใหม่ที่ทุกคนทั่วโลกหันมาใส่ใจและปฏิบัติกันอย่างจริงจัง
  • ทศวรรษต่อไปของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน “Growing Sustainably Together”

ในโอกาสครบรอบ 15 ปี สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย “ประธาน ไชยประสิทธิ์” นายกสมาคมฯ ได้ประกาศยุทธศาสตร์ผลักดัน  "อุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย"ให้เติบโตสู่ความยั่งยืนสอดคล้องความต้องการผู้บริโภค แต่ละปีจะมีปริมาณการบริโภคในประเทศที่คิดเป็นสัดส่วนกว่า 90% ของปริมาณการผลิตเครื่องดื่มทั้งหมด แต่ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทตลาดด้วย

เครื่องดื่มไทยปรับตัวตามเทรนด์ บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม โตยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ส่องผลงาน “เครื่องดื่ม” ยักษ์ใหญ่ รายได้ - กำไร ใครโต - หดตัว!

โอสถสภา ดึงจุดแข็งธุรกิจร้อยปี จุดพลุเครื่องดื่มสุขภาพหนุนโต

สรุป 10 เทรนด์ "อาหารและเครื่องดื่ม" มาแรงปี 2022

“อิมแพ็ค” ผนึก “กรมอนามัย” ปลุกพฤติกรรมบริโภคอาหาร-เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเครื่องดื่มไทย 

ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเข้าใจแนวโน้มตลาดหรือเทรนด์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดย 5 ปีข้างหน้า จะเผชิญกับ 3 มิติใหญ่ๆ ดังนี้

1. มิติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มต้องคำนึงถึงการทนต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยผู้บริโภคมีความต้องการอาหารและเครื่องดื่มที่คำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ เช่น คลื่นความร้อน อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์ และสภาพอากาศเลวร้ายต่างๆ ส่งให้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ต้องคิดค้นพัฒนานวัตกรรมการบริโภคเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถรับมือกับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แย่ลงได้

เครื่องดื่มไทยปรับตัวตามเทรนด์ บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม โตยั่งยืน

2.ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างสภาวะทางจิตใจ สุขภาพใจที่ดีในช่วงเวลาต่างๆ เช่น ขณะทำงาน พักผ่อนอยู่ที่บ้าน หรือเล่นสนุกกับกิจกรรมบางอย่าง โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถในการคิด การจัดการความเครียด เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เป็นต้น

3.ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกับการสื่อสารที่เรียบง่ายและชัดเจน การสื่อสารที่ชัดเจนและเรียบง่ายเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคที่กำลังเหนื่อยล้า ให้สามารถเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคกำลังมองหาและตอบสนองความต้องการได้ โดยผ่านทางช่องทางการสื่อสารอย่างโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ หรือบนจุดขายที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ช หรือร้านค้าบนโลกเสมือนจริง(Metaverse) เป็นต้น

 

ขบวนการผลิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

สำหรับมิติด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยมากขึ้น ดังนั้น การที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ หรือ Sustainable Business ซึ่งเป็นวิถี ไลฟ์สไตล์ใหม่ที่ทุกคนทั่วโลกต้องเริ่มหันมาใส่ใจและปฏิบัติกันอย่างจริงจัง

ทั้งนี้จากการสำรวจของ  International Data Corporation (IDC) พบว่า ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มเกือบ 30 % มองว่าความต้องการของลูกค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีข้อเสนอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืนที่มากขึ้น

เครื่องดื่มไทยปรับตัวตามเทรนด์ บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม โตยั่งยืน

“ปี 2566 องค์กรธุรกิจเครื่องดื่มไทยนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและส่งผลต่อเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น เช่น ระบบการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ฯ มุมของผู้บริโภคกว่า 60-70% ยอมจ่ายเงินมากขึ้นสำหรับแบรนด์ที่เลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อความยั่งยืนของโลก การเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่นำมาใช้แล้วปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม การเน้นบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ การใช้กระดาษแข็ง และบรรจุภัณฑ์แบบปิดถาด เพื่อลดการใช้พลาสติก และลดพลังงานในการผลิต เป็นต้น”ประธาน กล่าว

การดำเนินธุรกิจนอกจากตระหนักถึงการสร้างการดำเนินงานที่ดี ผลกำไรแล้ว สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันจากนี้ไป คือมุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในขณะเดียวกันต้องลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Sustainable Business

ทศวรรษใหม่เครื่องดื่มไทยโตยั่งยืน

ทศวรรษต่อไปของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยจะให้ความสำคัญกับแนวทาง Sustainable Business มากยิ่งขึ้น เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน “Growing Sustainably Together” โดยขยายความร่วมมือ ระหว่างผู้ผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และแผนงานต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ นำไปสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

ยกเลิกการใช้ Cap seal ในบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มพลาสติกลงนามความร่วมมือ(MOU)ส่งเสริมการผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่สามารถรีไซเคิลได้ กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เช่น การมอบทุนการศึกษาให้กับเยาวชนผู้ขาดโอกาสทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ผ่านกิจกรรม “TBA รวมพลังแบ่งปันความสุขให้น้อง” ร่วมให้ความรู้ด้านอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ผ่านการสัมมนา “TBA Executive Talk” ร่วมกับพันธมิตรของสมาคม ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เป็นต้น

เครื่องดื่มไทยปรับตัวตามเทรนด์ บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม โตยั่งยืน

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมมีมูลค่าทางเศรษฐกิจในประเทศปีละกว่า 260,000 ล้านบาท มูลค่าการส่งออกกว่า 90,000 ล้านบาททั่วโลก มีการจ้างงานให้กับคนในประเทศกว่า 130,000 ครัวเรือน ขยายการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรไทย

“สมาคมฯจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ หากขาดความร่วมมือร่วมใจในการขับเคลื่อนของคณะกรรมการ ผู้ประกอบการเครื่องดื่ม และการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายภาครัฐ รวมถึงการยกระดับการทำงานกับหน่วยงานต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ก้าวสู่อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ กระตุ้นภาคเศรษฐกิจ ภายใต้การแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน”นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย กล่าว

กรม Climate Change ปกป้องสิ่งแวดล้อม

กรม "Climate Change” มีการจัดตั้งใน 26 ประเทศทั่วโลกแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ทวีปเอเชียได้แก่ ออสเตรเลีย จีน เกาหลี ปากีสถาน บังคลาเทศ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจอร์แดน ส่วนทวีปยุโรป ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน เดนมาร์ก สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ไอแลนด์ ตุรกี และทวีปแอฟริกา ได้แก่ เคนยา และ ไนจีเรีย “ทวีปอเมริกา” สหรัฐอเมริกา และ ไมโครนีเซีย

ประเทศไทยผลักดันให้มีการจัดตั้ง “กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” หรือ กรม Climate Change ขึ้นมาเป็นหนาวยงานหนึ่งในสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)เพื่อแสดงให้นานาอารยประเทศได้เห็นถึงความตั้งใจ และความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายเพื่อดูแล ศึกษา และรับมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน และปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยคาดว่าจะจัดตั้งในเดือนเม.ย.-พ.ค. 2566 นี้

เครื่องดื่มไทยปรับตัวตามเทรนด์ บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม โตยั่งยืน

โดยมีภารกิจหลักและหน้าที่จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ และลดก๊าซเรือนกระจก ประเมินความเสี่ยง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดำเนินการ และเสนอแนวทางตามพันธกรณีของอนุสัญญา พิธีสาร และความตกลงระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สำหรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจะมี “ตลาดคาร์บอน” ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำคาร์บอนเครดิตมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ ที่จะมีกฎระเบียบข้อบังคับมากำกับการซื้อขายอย่างชัดเจน และมีผลผูกพันทางกฎหมาย

2. ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ มีการตั้งเป้าหมายกันขึ้นเองตามความสมัครใจ และไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายด้วยเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าชุมชนประมาณ 12,117 แห่งทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม กระทรวง ทส. อยู่ระหว่างผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นกฎหมายฉบับแรกของไทย ยกระดับจากภาคสมัครใจ (Voluntary) เป็นภาคบังคับ (Mandatory) มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารคาร์บอนเครดิต กลไกการเงิน การกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก