(ร่าง)คําประกาศเจตนารมณ์ CAL FORUM #2 เพื่อความยั่งยืน
โครงการ “Climate Action Leaders Forum รุ่น 2” หรือ CAL Forum #2 จัดขึ้นโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใน Theme : Supportive Measures, Innovation and Technology
ได้นำเสนอ (ร่าง)คําประกาศเจตนารมณ์ ของ CLIMATE ACTION LEADERS FORUM #2 ว่าด้วยการมุ่งมั่น ร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงาน ต่อสู้ปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ มีดังนี้
"พวกเรา ซึ่งเป็นผู้บริหารจากภาครัฐ ภาคเอกชนในธุรกิจการผลิต การเงิน และการบริการ ภาค วิชาการ ภาคสังคม และสื่อสารมวลชน ที่ได้มาร่วมอยู่ในฐานะภาคีของเวทีผู้นํา เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” (Net Zero GHG Emissions)
1. ตกลงว่า เราต้อง Act Fast และ Act Now ที่ต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์วิธีคิด ด้วย Climate Change มิได้เป็นเพียง “มิติ สิ่งแวดล้อม” แต่เป็นเรื่องของ “มิติความมั่นคง” รูปแบบใหม่ที่ครอบคลุมถึงความมั่นคงทางอาหาร ความ มั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงด้านแหล่งน้ํา ด้านการค้าและการลงทุน
2. เรียกร้องว่า ประเทศไทยจําเป็นต้องมีกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกําหนดกฎระเบียบว่าด้วยเรื่อง Carbon Pricing และการรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการจัดทํา Green Taxonomy และ Sustainable Finance ตลอดจน การจัดตั้ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
3. รับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างขึ้นกับขีดความสามารถของประเทศ (Common but Differentiated Responsibility and Respective Capabilities)
4. สนับสนุน การปรับตัวของประเทศไทยที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของ มิให้เสียโอกาสในการ เติบโตระยะยาว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
5. เน้นย้ำและส่งเสริมให้ ภาคธุรกิจดําเนินงานด้าน Climate Action เพื่อมุ่งสู่ เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero GHG Emissions และนําแนวทาง ESG ตลอดจน Green Investment การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว มาเป็นแนวทางดําเนินธุรกิจ
6. ตกลงว่า ภาคการเงิน เป็นภาคส่วนที่มีความสําคัญในการผลักดันและสนับสนุน ให้ภาคเอกชนสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero GHG Emissions และร่วมจัดทํา Green Taxonomy ให้เกิดขึ้นใน ประเทศไทย
7. ยืนยันว่า ควรสร้างความตระหนักรู้ เกี่ยวกับทิศทาง นโยบาย และการดําเนินงาน Climate Action 8. ใช้กลไกราคา (Pricing mechanism) เข้าสนับสนุน เพื่อให้การปลูกป่าช่วยสร้างงาน และสร้างรายได้ ให้กับชุมชนท้องถิ่น
9. สนับสนุน แพลตฟอร์มการซื้อขายคาร์บอนเครดิต “FTIX” ที่สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทําขึ้น ภายใต้ความตกลงปารีส ข้อ 6.2 เพื่อใช้ใน การบรรลุเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด
10. ส่งเสริมการใช้ไกคาร์บอนเครดิต เป็นเครื่องมือเสริมประสิทธิภาพต้นทุน 11. การขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยปัจจัยหนุนเสริม (Supportive Measure) จากภาครัฐ ในด้านนโยบาย มาตรการ และกฎระเบียบต่างๆ อาทิ
i) การขับเคลื่อนนโยบาย BCG
ii) การใช้เทคโนโลยี Carbon Capture Utilization and Storage หรือ CCUS เพื่อบรรลุเป้าหมาย ยังคงต้องการการสนับสนุนในด้านระเบียบ และนโยบายสนับสนุน ตลอดจนการพิสูจน์ว่า มีแหล่งกักเก็บได้จริง และการทําความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับเทคโนโลยี CCS
iii) ด้านแบตเตอรี่ ระบบกักเก็บพลังงานหรือยานยนต์ไฟฟ้า Smart energy platform ซึ่งจําเป็นต้องได้รับการสนับสนุน การส่งเสริม และการพัฒนากฎระเบียบรองรับ
iv) การค้าและการลงทุน โดย BOI จัดทํามาตรการส่งเสริมการลงทุนในสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาต่าง ๆ
v) การจัดทํามาตรฐานคาร์บอนเครดิตของประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับ สากลได้เป็นเรื่องสําคัญ เพราะจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการกีดกันทางการค้า ทั้งนี้ ต้องมีกฎระเบียบ ข้อกําหนดของภาครัฐ สนับสนุนการขับเคลื่อน
vi) สนับสนุนการพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต และแพลตฟอร์มซื้อขายคาร์บอน เครดิตและไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด หรือ FTIX ซึ่งได้รับการพัฒนาและบริหารจัดการโดย สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเชื่อมโยงกับ ระบบทะเบียนคาร์บอนเครดิต ของ อบก.
vii) สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย หรือ TCNN เพื่อให้เกิดการทํางานร่วมกัน
viii) สนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในประเทศไทย เพิ่มแหล่งกักเก็บ/ดูดกลับก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
12.ตัดสินใจว่า การแก้ปัญหา Climate Change เป็นการทําเพื่อคนรุ่นปัจจุบัน และคนรุ่นถัดไป