“บลูคาร์บอน”กลไกธรรมชาติ เพื่อการเยียวยาธรรมชาติ

“บลูคาร์บอน”กลไกธรรมชาติ  เพื่อการเยียวยาธรรมชาติ

“คาร์บอน”คือของเสียจากกระบวนการผลิต การขนส่ง หรือแม้แต่กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ซึ่งคาร์บอนดังกล่าวสร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ความพยายามจัดการกับคาร์บอนที่ควบคู่ไปกับการผลักดันเศรษฐกิจให้เคลื่อนตัวและเติบโตไปได้

เป็นอีกความท้าทายที่มีทางเลือกหนึ่งที่จะเป็นตัวช่วยให้การจัดการกับคาร์บอนมีประสิทธิภาพที่เรียกว่า “บลูคาร์บอน”

       วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวในการเสวนา“The Blue Carbon and Blue Finance:The Sustainable Way for Achieving Net Zero” จัดโดย ชมรมวิทยาการพลังงาน ว่า สถานการณ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย มีีสัดส่วนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 0.88 % ของโลก แต่ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศแรกของโลก ที่มีดัชนีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศสูงที่สุด  ขณะที่อันดับด้านการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก GHG ของไทยอยู่ที่อันดับ 20 ของโลก ดังนั้นไทยจึงมีค่าดัชนีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศ อันดับที่ 9 ของโลก ข้อมูลดังกล่าวกำลังเป็นตัวเร่งให้ประเทศไทยต้องตื่นตัวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่ง“เศรษฐกิจสีน้ำเงิน”เป็นแนวคิดที่นำเอาความยั่งยืนมาประยุกต์ใช้กับสิ่งแวดล้อมทางทะเล 

โดยการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง เป็นแนวทางการขับเคลื่อนให้เกิดการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในการประชุม United Nations Conference on Sustainable Development

สำหรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูก ดูดซับและกักเก็บไว้ โดยมหาสมุทรและระบบนิเวศ ชายฝั่ง ซึ่งประกอบด้วยระบบนิเวศป่าชายเลน หญ้าทะเล และที่ราบนํ้าท่วมถึง โดยระบบนิเวศเหล่านี้จะทําหน้าที่ กักเก็บคาร์บอน ในรูปแบบชีวมวลและการทับถมของตะกอนลงสู่ชั้นดิน จึงมีความสําคัญอย่างมากในการควบคุมและยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก

ทั้งนี้ แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงินแบ่งเป็น 1. ระบบเศรษฐกิจ 2. ระบบนิเวศ 3. ความมั่นคง ซึ่งมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ที่มีมูลค่าเศรษฐกิจทางทะเล ประมาณ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี  ซึ่งเป็นมูลค่าที่คิดจากสัดส่วน80% ของการค้าทั่วโลก ถูกขนส่งทางทะเล

ดังนั้นจึงมีการจ้างงาน 350 ล้านตำแหน่ง ขณะเดียวกันปี 2568 ประมาณการ ว่า 34% ของการผลิตนํ้ามันดิบจะมาจากนอกชายฝั่ง ส่วนการเติบโตภาคเพาะเลี้ยง 50% ของผลผลิตเป็นอาหารให้กับมนุษย์จะมาจากทะเลและมหาสมุทร

“ประโยชน์ของทะเลยังไม่หมดแค่นี้ ระบบนิเวศบลูคาร์บอนคิดเป็น 50 % ระบบนิเวศชายฝั่งจะช่วยให้ คาร์บอนตกตะกอนในมหาสมุทร ซึ่ง 95% ของปริมาณคาร์บอนจะมีหญ้าทะเลกักเก็บคาร์บอนไว้ ขณะที่ในชั้นดิน 6 เมตร ความลึกระดับนี้ของมวลชีวภาพของระบบนิเวศชายฝั่งจะกักเก็บคาร์บอนส่วนที่เหลือไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้การลดลงของป่าชายเลนจะส่งผลให้ ปริมาณการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้น”

    วราภรณ์ หิรัญวัฒน์ศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมอาวุโสธนาคารโลก ( World Bank)  กล่าวว่า จํานวนเงินทุนเพื่อการกุศลทั่วโลกสําหรับการริเริ่มที่เกี่ยวข้องกับด้านท้องทะเล ตั้งแต่ปี 2009-2019 ทั้งหมด175 ทุน  หรือคิดเป็น 0.34% ของเงินช่วยเหลือทั้งหมดที่มีต่อทะเล  ซึ่งพบว่ามีเงินทุนเพื่อการกุศลจํานวนเล็กน้อยมากที่ใช้เพื่อดูแลสุขภาพมหาสมุทร หรือ เพื่อกิจกรรมด้าน Blue Carbon “บลูคาร์บอน”กลไกธรรมชาติ  เพื่อการเยียวยาธรรมชาติ

เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(TGO) กล่าวว่า  คาร์บอนเครดิต (Carbon Credits) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ ลด/กักเก็บได้

“เราสามารถสร้างแรงจูงใจในการเพิ่ม Blue Carbon ที่มีเป้าหมายไว้ที่ 3 แสนไร่ได้ ด้วยการนำหลักการคาร์บอนเครดิตมาใช้และนำประโยชน์ที่ได้จากการไปเป็นแรงจูงใจสำหรับการปลูกป่าอีกต่อหนึ่ง”  า 

วรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การจัดการด้านป่าไม้และเครื่องมือเพื่อลดคาร์บอน ในส่วนปตท.กำหนดแนวทางการปลูกป่ามุ่งให้คนและป่าอยู่ได้โดยมีเป้าหมาย 3P ลดคาร์บอน 1.เร่งปรับกระบวนการผลิต การแสวงหาการปล่อยมลพิษที่ต่ำ 2. เร่งเปลี่ยนสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 3.เร่งปลูกป่าเพิ่มอีก 1 ล้านไร่

จิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สวล.กล่าวว่า ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล กำลังแสดงผลไปในทางที่ว่า ประชากรสัตว์น้ำได้ลดลงไปแล้วถึง 36% ดังนั้นเศรษฐกิจสีน้ำเงินจะต้องเข้ามามีส่วนช่วยและดูแลนิเวศทางทะเลให้สมดุลโดยเร็ว

“บลูคาร์บอน”คือเครื่องมือที่ใช้กลไกธรรมชาติเพื่อการเยียวยาธรรมชาติแต่การจะใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้ต้องอาศัยความเข้าใจและความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน