นโยบายพลังงานชีวภาพใหม่ของญี่ปุ่น หนุนส่งออกเอทานอลของสหรัฐ

นโยบายพลังงานชีวภาพใหม่ของญี่ปุ่น    หนุนส่งออกเอทานอลของสหรัฐ

สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ หรือ ยูเอสทีอาร์ ได้เปิดเผยบทวิเคราะห์ ถึง“นโยบายพลังงานชีวภาพใหม่” ซึ่งจะทำให้สหรัฐเห็นถึงโอกาสตลาดเอทานอลของญี่ปุ่นที่มีความชัดเจนขึ้น 100% โดยเจ้าหน้าที่รัฐบาล

สหรัฐชี้ว่านโยบายดังกล่าวเป็นอีกขั้นของการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสองประเทศได้อย่างเข้มแข็งมากขึ้น

สำหรับ “นโยบายพลังงานชีวภาพใหม่”ของญี่ปุ่นที่ได้ประกาศออกมาเป็นผลจากการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสหรัฐ และญี่ปุ่น และจะเป็นอีกก้าวที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตในสหรัฐได้พบกับดีมานด์ในตลาดญี่ปุ่น ซึ่งต้องการแหล่งการจัดหาพลังงานที่หลากหลายขึ้น     

แคทเธอลีน ไท่ ผู้แทนการค้าสหรัฐ กล่าวถึง การทำงานร่วมกันของทีมงานในระดับเจ้าหน้าที่ ที่ได้ลงรายละเอียดด้านเทคนิคเพื่อสร้างความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่นเรื่องพลังงานชีวภาพ ทำให้ความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นจากนี้ไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่ดีของสองประเทศ 

“นโยบายใหม่นี้ เกิดขึ้นภายใต้กฎหมาย Sophisticated Methods of Energy Supply Structure Act ที่ส่งเสริมการส่งออกเอทานอลของสหรัฐให้เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันอยู่ที่ 80 ล้านแกลลอน มูลค่า 15-200 ล้านดอลลาร์ ในการส่งออกแต่ละปี ทั้งสหรัฐ และญี่ปุ่นจะทำงานร่วมกันในการเพิ่มโอกาสต่อความต้องการเอทานอล และส่งเสริมร่วมกันด้านนโยบายพลังงานชีวภาพนี้

หลังการประกาศนโยบายดังกล่าว สหรัฐของชื่นชมรัฐบาลญี่ปุ่น ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างพลังงานสะอาด และยั่งยืนในอนาคต โดยนโยบายใหม่นี้ยังเป็นโอกาสสำคัญของเกษตรกรสหรัฐรวมถึงเศรษฐกิจในชนบท ที่จะสามารถขยายตลาดเพื่อเป็นผู้ผลิตพลังงานชีวภาพให้เข้าถึงตลาดญี่ปุ่น ซึ่งจากนี้สหรัฐและญี่ปุ่นจะต้องทำงานร่วมกันมากขึ้นหลังสองฝ่ายยอมรับมาตรฐานสินค้าร่วมกันแล้ว

ในส่วนประเทศไทย ได้มีแผนส่งเสริมการใช้พลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพในรูปแบบต่างๆ เช่น  เมื่อปี 2565 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพออกไป 2 ปี จนถึงวันที่ 24 ก.ย.2567

ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลได้ดำเนินการตามแนวทางสนับสนุนการใช้น้ำมันจากพืชเป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล รวมถึงการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจากเอทานอล และไบโอดีเซล โดยมีการใช้เงินจากกองทุนน้ำมันและเชื้อเพลิงเป็นกลไกในการรักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยการสร้างส่วนต่างราคาขายปลีก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 24 ก.ย.2565 

และตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กองทุนน้ำมันและเชื้อเพลิง พ.ศ.2562 กำหนดให้สามารถขยายระยะเวลาสำหรับโครงการที่มีการจ่ายเงินชดเชยแก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 2 ปี 

โดยครั้งนี้จะเป็นการขยายระยะเวลาครั้งแรก “ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายในการจ่ายเงินชดเชยให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพจะครบกำหนดในวันที่ 24 ก.ย. 2565 นี้ โดยกระทรวงพลังงานพิจารณาแล้วยังคงมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวต่อไป เพื่อเป็นกลไกในการรักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยการสร้างส่วนต่างราคาขายปลีก จูงใจให้เกิดการใช้พลังงานชีวภาพ และยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้จากการขยายพืชผลทางเกษตร

การส่งเสริมพลังงานสะอาด ซึ่งนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตร อย่างเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นโอกาสทั้งทางด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม การดูแลเศรษฐกิจและความยั่งยืนด้วย 

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์