รู้จักรถไฟฟ้าโมโนเรล ล้อยางบนรางเหล็กสู่ขนส่งที่ยั่งยืน

รู้จักรถไฟฟ้าโมโนเรล  ล้อยางบนรางเหล็กสู่ขนส่งที่ยั่งยืน

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เปิดให้ประชาชนทดลองใช้ “รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง” จากถนนศรีนครินทร์ – ถนนลาดพร้าว งานรีวิวจากสื่อออนไลน์เล่าถึงรถไฟฟ้า

ไม่มีคนขับ และมีรูปร่างที่ต่างจากรถไฟฟ้าที่เคยใช้มาสายอื่นๆ แม้โมโนเรลจะไม่ใช่ครั้งแรกที่เปิดใช้ในประเทศไทย แต่การทำความรู้จักกันอีกครั้ง กับรถไฟฟ้าโมโนเรลอีกครั้งก็ไม่เสียหายอะไร 

ระบบขนส่งมวลชนระบบไฟฟ้า เป็นทางเลือกที่ช่วยลดปัญหามลพิษในอากาศตามเมืองใหญ่ต่างๆ เพราะของเสียที่ปล่อยออกมาน้อยมาก เมื่อเทียบกับระบบขนส่งจากพลังงานฟอสซิล แม้ว่ายังเป็นที่ถกเถียงถึงที่มาของพลังงานไฟฟ้าที่ส่วนใหญ่ยังเป็นการผลิตจากพลังงานเก่า นอกจากนี้ รถไฟฟ้ายังมีคุณสมบัติลดมลพิษทางเสียง มีศักยภาพขนส่งผู้โดยสารครั้งละมากๆ สามารถลดการใช้พลังงานได้ และที่มองไม่เห็นแต่รู้สึกได้คือ การประหยัดเวลา ไม่มีเงื่อนไขการจราจรติดขัดซึ่งเป็นการเผาผลาญพลังงานอย่างไม่จำเป็นแต่ก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีตัวรถไฟฟ้า “อินโนเวีย โมโนเรล 300” เป็นซีรีส์ของระบบโมโนเรลแบบอัตโนมัติไร้คนขับที่ผลิตโดยบอมบาร์ดิเอร์ (Bombardier) มีรูปลักษณ์โฉบเฉี่ยวทันสมัย ภายในห้องโดยสารกระจกกว้างสามารถชมทัศนียภาพภาพนอกได้อย่างชัดเจน โดยสเปคของรถไฟฟ้านี้ ประกอบด้วย อาศัยการเคลื่อนที่ของล้อยางคร่อมบนคานเดียว เสียงจึงเบากว่าการขับเคลื่อนด้วยล้อเหล็ก

รองรับผู้โดยสารสูงสุดได้ประมาณ 28,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง

รู้จักรถไฟฟ้าโมโนเรล  ล้อยางบนรางเหล็กสู่ขนส่งที่ยั่งยืน

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์