“เหงาไม่มีเงินใช้” ความกลัววัยเก๋า WEF ชี้ผลสำรวจคนส่วนใหญ่ไร้แผนเกษียณ

“เหงาไม่มีเงินใช้” ความกลัววัยเก๋า  WEF ชี้ผลสำรวจคนส่วนใหญ่ไร้แผนเกษียณ

“วัยเกษียณ” เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญดังนั้นการวางแผนเพื่อรับมือกับวัยเกษียณเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งพบว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีการวางแผนเพื่อรองรับสิ่งนี้ วัยหนุ่มสาวกับวัยเกษียณเป็นช่องว่างที่ห่างกันมากแต่ในความเป็นจริงการวางแผนเกษียณเป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคน

สภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum  : WEF  เปิดเผยรายงาน “ชีวิตดี-ยืนยาวด้วยการเข้าใจตำราอายุวัฒนะ”Living Longer, Better: Understanding Longevity Literacy"  สาระสำคัญโดยสรุป ระบุถึงผลการสำรวจแผนการใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายจากกลุ่มตัวอย่าง 397 ราย เป็นชาย 146 ราย หญิง 241 ราย และไม่ระบุ 10 ราย ในช่วงอายุต่ำกว่า 40 ปี 163 ราย สูงกว่า 40 ปี 231 ราย พบว่า สิ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญสูงสุดถึงการใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายชีวิต คือ ความคาดหวังว่าจะยังมีรายได้สูงในช่วงวัยเกษียณ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะทำแผนเกษียณเมื่อช่วงอายุเข้าวัย 60 ปีแล้ว 

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังบอกว่า คนส่วนใหญ่กลัวความเหงาและความโดดเดี่ยวในช่วงปัจฉิมวัย และอยากให้ครอบครัวดูแลตอนแก่ ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงต้องการทำสิ่งใหม่ๆมองหากิจกรรมที่น่าสนใจเพื่อทำให้การอยู่กับตัวเองในวัยชราสามารถดูแลตัวเองได้ไม่เป็นภาระแก้คนรอบข้างและยังเป็นชีวิตที่น่าสนใจ โดยกลุ่มตัวอย่างถึง 88% ตอบว่าการสร้างทักษะใหม่ ด้วยการอบรมความรู้หรือกิจกรรมต่างๆ จะทำให้คุณภาพชีวิตหลังเกษียณดีขึ้น

“หัวใจสำคัญของรายงานนี้ คือการรับฟังเสียงจากคนทั่วไปที่ต้องการนำเสนอแรงบันดาลใจควบคู่ไปกับความกังวลซึ่งมาพร้อมกับอายุที่ยืนยาวขึ้น ท่ามกลางความต่างในช่วงวางระหว่างวัยในด้านต่างๆ ที่มากขึ้นเช่นกัน”

ความต่างเรื่องทัศนคติต่างๆของคนในแต่ช่วงวัย เห็นได้จากผลสำรวจเรื่องการมองหาแหล่งข้อมูลเพื่อปรึกษาด้านต่างๆ ซึ่งพบว่า คนที่อายุต่ำกว่า 40 ปี จะฟังข้อมูลและให้ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นที่ปรึกษาในการตัดสินใจ ขณะที่คนอายุมากกว่า 40 ปี จะให้ช่องทางดังกล่าวในสัดส่วนที่น้อยกว่า แต่จะหันไปปรึกษากับบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า 

นอกจากนี้ การมีอายุยืนนานขึ้น แม้จะเป็นประโยชน์ที่ดีที่หลายคนปรารถนา แต่ก็สวนทางกับความเป็นจริงอีกด้านที่ว่า กลุ่มตัวอย่างกังวลกับคุณภาพชีวิตในช่วงบั้นปลาย การต้องหลุดออกจากสังคม การต้องอยู่โดยลำพัง รวมถึงความภาคภูมิใจในตัวเองที่อจค่อยๆลดลง  “เหงาไม่มีเงินใช้” ความกลัววัยเก๋า  WEF ชี้ผลสำรวจคนส่วนใหญ่ไร้แผนเกษียณ

รายงานฉบับนี้ ได้นำเสนอทางออกกับข้อกังวลต่างๆที่ภาครัฐและเอกชน รวมถึงตัวผู้เกษียณเองต้องเร่งดำเนินการ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งการวางแผนทางการเงิน และการจัดการกับสภาพจิตใจในวัยเกษียณ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก 

ในระดับบุคคล WEF แนะนำว่าควรจะหารือกับหัวหน้างานถึงแผนการยกระดับทักษะและกำหนดผลตอบแทนที่เหมาะสม ขณะเดียวกันต้องหารือกับครอบครัว เพื่อนและสังคมรอบตัว ถึงการจัดการทรัพย์สิน การลงทุน ที่ต้องเชื่อมโยงกับคนเหล่านั้น และการเริ่มมีบทบาทเพื่อทำงานด้านสังคมในรูปแบบอาสาสมัครที่ทำงานเพื่อชุมชนหรือท้องถิ่นที่อยู่

ในระดับภาครัฐ WEF แนะนำว่าควรกำหนดกฎเกณฑ์ให้ทุกอาชีพมีความยืดหยุ่นต่อการทำงานกับผู้สูงอายุ โดยกำหนดดีมานด์ด้านแรงงานให้สอดคล้องกับศักยภาพผู้สูงอายุ การใช้สังคมท้องถิ่นในการสร้างความเข้มแข็งให้ความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้สูงอายุกับคนในสังคม และ การนำเสนอทักษะด้านดิจิทัลผ่านการอบรมและสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าเกิดความเท่าเทียมกับในการเข้าถึงโอกาสของทุกช่วงวัย

ในระดับภาคธุรกิจ WEF แนะนำว่า ในบริบทนายจ้างและการจัดการทรัพยากรบุคคล ควรให้ความสำคัญกับคนกลุ่มน้อยในบริษัท เช่น การไม่ทิ้งประเด็นสิทธิผู้หญิง พนักงานวัยรุ่น   หรือแม้แต่ผู้สูงอายุ ด้วยการกำหนดเป้าหมายการทำงานของคนแต่ละกลุ่มให้ชัดเจนและสร้างโอกาสการทำงานที่เหมาะสมกับคนแต่ละกลุ่มและการทำงานร่วมกัน 

“ ธุรกิจควรสร้างยุทธศาสตร์ที่มีความยืดหยุ่นที่จะสนับสนุนคนสูงวัย ผ่านการสอนเรื่องการลงทุน เช่น จูงใจให้พนักงานสูงอายุลงทุนไปอบรมหลักสูตรต่างๆเมื่อประสบความสำเร็จแล้วและสามารถนำมาใช้พัฒนาการทำงานได้ก็จะมีผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ”

มีคำพูดที่ว่า ความแน่นอน ก็คือ ความไม่แน่นอน แต่การวางแผนไว้ก่อนก็เป็นสิ่งที่จำเป็น ยิ่งเป็นเเผนชีวิตก็จำเป็นจะต้องวางแผนตั้งแต่เริ่มต้นเติบโต ศึกษา ทำงานและแผนสำหรับวัยเกษียณที่พบว่าหลายคนยังมองข้ามส่วนนี้ไป