สนพ.ผนึกภาคเอกชน สร้าง 'อีโคซิสเต็ม' หนุนใช้ไฮโดรเจนในไทย

สนพ.ผนึกภาคเอกชน สร้าง 'อีโคซิสเต็ม' หนุนใช้ไฮโดรเจนในไทย

สนพ.ระบุการที่ไทยจะใช้ "กรีน เทคโนโลยี" แพร่หลายและใช้ได้จริง "รัฐ-เอกชน" ต้องร่วมมือสร้างอีโคซิสเต็ม พร้อมเร่ง "แผนพลังงานชาติ" ตั้งเป้าปี 2030 ใช้ไฮโดรเจน 20% ในภาคพลังงาน อุตสาหกรรม ขนส่ง ดันเป้าหมาย Net Zero ประเทศ

“กรุงเทพธุรกิจ” ร่วมกับ "บีไอจี" ผู้นำนวัตกรรมก๊าซอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Climate Technology Company) จัดเวทีสัมมนา Climate Tech Forum : Infinite Innovation...Connecting Business to Net Zero เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2566

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การที่ประเทศจะก้าวผ่านปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น พลังงานสะอาดจะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น

ดังนั้นกระทรวงพลังงานดูเรื่องของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทั้งปรากฏการณ์เอลนีโญ น้ำท่วม ภัยแล้ง ถือเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเกิดเป็นข้อตกลงที่จะลดผลกระทบโลกร้อน

สนพ.ผนึกภาคเอกชน สร้าง \'อีโคซิสเต็ม\' หนุนใช้ไฮโดรเจนในไทย

อย่างไรก็ตาม อีกมุมที่เป็นปัจจัยสำคัญ พลังงานเป็นหัวใจสำคัญของการผลิต ดังนั้น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ CBAM ถือเป็นส่วนสำคัญที่กระทรวงพลังงาน ต้องมีมาตรการหรือเครื่องมือสนับสนุนภาคเอกชน และประเทศไทย เพราะภาคพลังงานมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ ไทยถือเป็นหนึ่งใน 66 ประเทศ ที่ให้คำมั่นสัญญาไว้ว่าจะช่วยลดโลกร้อน 

"การลดคาร์บอนจะเป็นตัวหลักสำคัญ ภาคพลังงานมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 70% มาจากภาคไฟฟ้า ขนส่ง และอุตสาหกรรม จึงต้องมีมาตรการจากภาครัฐ"

ดังนั้น ณ วันนี้ต้องการให้เกิดเร็วขึ้น จึงตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050 และ Net Zero ปี 2065 และในปี 2030 จะต้องลดคาร์บอนให้เข้มข้นขึ้น

ทั้งนี้ ตามกรอบแผนพลังงานชาติ คาดว่าจะได้เห็นในปีนี้ เพื่อหนุนประเทศจะสู่เป้าหมาย ภาคไฟฟ้าต้องมาจากพลังงานสีเขียว ผนวกกับกรีนเอ็นเนอจี้ แบตเตอรี่ วันนี้มีเรื่องของไฮโดรเจน รถอีวีโดยรัฐบาลผลักดันนโยบาย 30@30 รวมถึงลดการใช้พลังงานผ่านอุปกรณ์ประหยันพลังงาน ดังนั้นไฮโดรเจน ถือเป็นอีกตัวสำคัญ รวมถึงนิวเคลียร์ที่ช่วยให้พลังงานหมุนเวียนเสถียรขึ้น  

สนพ.ผนึกภาคเอกชน สร้าง \'อีโคซิสเต็ม\' หนุนใช้ไฮโดรเจนในไทย

นอกจากนี้ อีกส่วนสำคัญคือซัพพลายเรื่องความมั่นคง วันนี้ใช้ฟอสซิลเยอะคือ ก๊าซธรรมชาติ เป็นพลังงานช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งสะอาดที่สุดและกำลังจะนำเทคโนโลยีไฮโดรเจนเข้าไปร่วม

รวมถึงสัดส่วนจากพลังงานหมุนเวียน อาทิ ชีวมวล ชีวภาพ พลังงานลม แสงอาทิตย์จะมากขึ้น 50% รวมถึงการลดโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ สิ่งสำคัญที่จะทำให้ก๊าซธรรมชาติเป็น 100% คงยาก กระทรวงพลังงานได้ตั้งเป้าการใช้ไฮโดรเจนในภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง 20% ในปี 2030 

"เน็ต ซีโร่ นั้นทุกคนตื่นตัวแต่ราคายังแพง หากมีดีมานด์เพิ่มขึ้นราคาจะลดลง เอกชนจะพิจารณาเพื่อเพิ่มโอกาสธุรกิจใหม่ และเรื่องของการส่งออกการได้เปรียบการแข่งขัน"

ดังนั้น ภาครัฐจะต้องมีความชัดเจนในการส่งเสริมการแข่งขันและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ โดยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะช่วยเรื่องอุตสาหกรรมใหม่ วันนี้เราเตรียมพอร์ตพลังงานสีเขียวมากขึ้น อีกสิ่งสำคัญคือ ภาษีคาร์บอน ที่เอกชนก็ต้องเตรียมตัว

สนพ.ผนึกภาคเอกชน สร้าง \'อีโคซิสเต็ม\' หนุนใช้ไฮโดรเจนในไทย

ทั้งนี้ นโยบายจะไม่สามารถดำเนินการได้หากขาดความร่วมมือระหว่างรัฐเอกชน โดยถ้าอยากให้ธุรกิจต่อเนื่องจะเกิดการลงทุนมากขึ้นและเกิดการพัฒนา

รวมทั้งสิ่งสำคัญสุด คือ การส่งสัญญาณภาครัฐ โดยจะเน้นไฮโดรเจนที่มองว่าในปี 2040 จะเริ่มใช้งานจริง ซึ่งตอนนี้ติดเรื่องราคาจึงจะใช้วิธีผสมผสาน เชื่อว่าอีก 7 ปี จะดำเนินการได้จากเป้าหมายที่วางไว้ ไฮโดรเจนจะเกิดอุตสาหกรรมผลิต เกิดอุตสาหกรรมจัดเก็บขนส่งจะเกิดขึ้นอีกมาก 

อย่างไรก็ตาม สุดท้ายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเซ็คเตอร์พลังงาน การออกใบรับรองพลังงานสีเขียวในอนาคต ถ้าซื้อไฟจากภาครัฐจะได้ใบรับรองที่ได้รับการสนับสนุนมีกฎกติกา เราพยายามส่งสัญญาณเชิงนโยบาย ซึ่งวันนี้ประเทศไทยมุ่งสู่พลังงานสะอาด การจะเกิดกรีนเทคโนโลยี จะต้องศึกษาและนำมาใช้แพร่หลาย ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะรัฐและเอกชน ต้องร่วมมือกันสร้างอีโคซิสเต็มเพื่อให้ถึงเป้าหมาย Net Zero     

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์