“ความมั่นคงทางอาหาร” ปี 66 น่าห่วง ชาวโลกร้อยล้านคนเผชิญความหิวโหย

“ความมั่นคงทางอาหาร” ปี 66 น่าห่วง ชาวโลกร้อยล้านคนเผชิญความหิวโหย

วิกฤตการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นกำลังคุกคามเป้าหมายในการกำจัดความหิวโหยของโลกภายในปี 2573 ที่พบว่าอยู่ในภาวะชะลอตัววัดจากข้อมูลรายงานฉบับใหม่ของสหประชาชาติที่ว่าด้วยจำนวนผู้ที่เผชิญกับความหิวโหยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2562

ซึ่งสาเหตุหลักมาจากปัญหาโรคโควิดที่ระบาดในช่วงที่ผ่านมา  

ข้อมูลจากสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum : WEF ระบุว่า การระบาดใหญ่ทั่วโลก ประกอบกับความขัดแย้ง และรูปแบบสภาพอากาศที่เกี่ยวข้องกับวิกฤติสภาพภูมิอากาศ ทำให้เป้าหมายในการกำจัดความหิวโหยของโลกล่าช้าออกไปภายในปี 2573 จากรายงานของ State of Food Security and Nutrition in the World (SOFI) พบว่ามีประชากรอีก 122 ล้านคนที่ต้องอดอยากตั้งแต่ปี 2562 แม้ว่าจำนวนผู้อดอยากทั่วโลกจะอยู่ที่ระดับคงที่ระหว่างปี 2564-2565 แต่ก็ยังมีหลายภูมิภาคที่เผชิญกับวิกฤติอาหารที่รุนแรงขึ้น กระตุ้นให้ทั่วโลกเรียกร้องให้มีความพยายามในการแก้ปัญหาโดยมุ่งไปที่ต้นตอของความไม่มั่นคงทางอาหาร 

“ปีที่แล้ว เกือบ 30% ของประชากรโลก เท่ากับ 2.4 พันล้านคนไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งท้าทายเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติที่จะยุติความอดอยากภายในปี 2573 ดังนั้นจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อระบุ และเน้นประเด็นระดับภูมิภาค และขยายการแก้ไขปัญหาไปสู่ระดับโลก”

แม้ว่าจำนวนผู้อดอยากทั่วโลก จะคงที่ระหว่างปี 2564-2565 แต่ก็ยังมีหลายภูมิภาคที่เผชิญกับวิกฤติอาหารที่รุนแรงขึ้น ในขณะที่เอเชีย และละตินอเมริกามีความคืบหน้าในการลดความหิวโหย เอเชียตะวันตก แคริบเบียน และภูมิภาคย่อยทั้งหมดของแอฟริกากลับมีจำนวนเพิ่มขึ้น แอฟริกายังคงเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยผู้คน 1 ใน 5 ต้องเผชิญกับความอดอยาก ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 2 เท่า

“ความมั่นคงทางอาหาร” ปี 66 น่าห่วง ชาวโลกร้อยล้านคนเผชิญความหิวโหย

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า สภาวะความมั่นคงทางอาหารในปี 2565รายงานของ SOFI เน้นย้ำถึงความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการในปี 2565 จากจำนวนประชากร 2.4 พันล้านคน ที่ประสบปัญหาขาดการเข้าถึงอาหารอย่างต่อเนื่อง ประชากรประมาณ900 ล้านคนเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหารขั้นรุนแรง นอกจากนี้ การเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ถดถอยลงตั้งแต่เกิดโรคระบาดทั่วโลก โดยในปี 2564 ประชากร 3.1 พันล้านคน ไม่สามารถซื้ออาหารที่มีประโยชน์ได้ ซึ่งเพิ่มขึ้น 134 ล้านคนเมื่อเทียบกับปี 2562

    ผลกระทบของเงื่อนไขเหล่านี้เด่นชัดต่อเด็กๆ รายงานเปิดเผยว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีจำนวน 148 ล้านคน มีรูปร่างแคระแกร็น 45 ล้านคนถูกทิ้ง และ 37 ล้านคนมีน้ำหนักเกินในปี 2565 แม้ว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวจะเห็นผลดีขึ้น โดยการส่งเสริมโภชนาการของผู้หญิง จำเป็นต้องมีความพยายามร่วมกันมากขึ้นเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายภาวะทุพโภชนาการภายในปี 2573

"การขยายตัวของเมือง ส่งผลการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรอาหารยังเน้นถึงความสมดุลที่ซับซ้อนของการขยายตัวของเมืองในระบบเกษตรอาหาร ประชากรเกือบ 7 ใน 10 คนคาดว่าจะอาศัยอยู่ในเมืองภายในปี 2593 ผู้กำหนดนโยบายจึงพยายามทำความเข้าใจว่าการขยายตัวของเมืองหมายถึงอะไรในแง่ของการแก้ปัญหาความอดอยาก และภาวะทุพโภชนาการมีผัก และผลไม้ไม่เพียงพอต่อความต้องการประจำวันของอาหารเพื่อสุขภาพในเกือบทุกภูมิภาคของโลกโดยทั่วไป การเข้าถึงอาหารราคาไม่แพง และมีคุณค่าทางโภชนาการในเมืองมากกว่าในชนบท ชี้ถึง“ความไม่เท่าเทียมกันโดยสิ้นเชิง”

วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการธุรกิจอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต กล่าวว่า สถานการณ์ที่ทำให้เกิดการขาดแคลนทางด้านอาหาร ได้แก่ 1.สินค้าทางด้านการเกษตรมีเพียงพอหรือไม่ ซึ่งถ้าเกิดสถานการณ์ที่ไม่พอในบางประเทศก็จะมีวิธีการป้องกันอย่างสิงคโปร์ไม่มีการคิดภาษีนำเข้าอาหาร 2. ผู้บริโภคมีกำลังทรัพย์เพียงพอในการซื้ออาหารหรือไม่ อย่างไทยมีกลุ่มเปราะบางที่ยังไม่มีรายได้ในการเข้าถึงอาหารต้องดูแลเป็นพิเศษ 3.โภชนาการเพียงพอต่อความต้องการต่อร่างกายหรือไม่

จากสถานการณ์ความรุนแรงระดับโลก เมื่อย่อส่วนมาประเมินสถานการณ์ในระดับประเทศไทยก็จะพบว่า ความมั่นคงทางอาหารนั้นอยู่ในระดับพอใช้ได้ แม้จะมีกลุ่มเปราะบาง บางกลุ่มยังเข้าถึงอาหารไม่ได้ สอดคล้องกับประเทศแถบเอเชียส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยประสบปัญหาอาหารแพงเพราะมีพื้นที่ในการเพาะปลูกอาหารได้ 

ดังนั้นพอจะสรุปได้ว่าปัญหาอาหารไม่เพียงพอน่าจะเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่ไม่สามารถผลิตอาหารได้แต่รายละเอียดการเข้าถึงอาหารก็ยังปัจจัยอื่นเกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายต้องไม่มองข้ามปัญหา และร่วมสร้าง “ความมั่นคงด้านอาหาร”

 

 

 

 


พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์