SX2023 ชวนคนไทยรักษ์โลก แปลง ‘ขยะ’ ขวด PET สู่ผ้าห่มต้านภัยหนาว

SX2023 ชวนคนไทยรักษ์โลก แปลง ‘ขยะ’ ขวด PET สู่ผ้าห่มต้านภัยหนาว

รักษ์โลก ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นสิ่งที่ "คนทั้งโลก" รวมพลังปกป้องผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ งาน Sustainability Expo 2023 ปีนี้ต้องการปลุกให้ทุกภาคส่วนเกิดการ "ลงมือทำ" และกิจกรรมหลากหลายที่คนไทยมีส่วนร่วมได้ อะไรบ้างติดตาม

นับถอยหลังอีกไม่กี่วัน จะถึงการจัดงานมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่สุดในภูมิภาคอาเซียน หรือ Sustainability Expo 2023(SX2023 ) ระหว่างวันที่ 29 ก.ย.- 8 ต.ค.2566 ซึ่งปีนี้บรรดาองค์กรธุรกิจชั้นนำของเมืองไทย ในฐานะ “ต้นแบบ” ด้านความยั่งยืนของโลก 5 ราย ประกอบด้วย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี  เอสซีจี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) และบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว

การเป็นองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนระดับโลก เนื่องจากทั้ง 5 บริษัทติดทำเนียบ Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI และสร้างผลงานด้านความยั่งยืนให้ประจักษ์ในเวทีธุรกิจไทย และได้การยอมรับในระดับสากลด้วย

SX2023 ชวนคนไทยรักษ์โลก แปลง ‘ขยะ’ ขวด PET สู่ผ้าห่มต้านภัยหนาว

หัวใจสำคัญของงาน SX2023 ยังคงยึดแกน “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก”(Sufficiency for Sustainability) เป็นสำคัญ และมาพร้อมแนวคิด “สร้างสมดุล เพื่อโลกที่ดีกว่า” หรือ Good Balance, Better World

ปี 2566 การจัดงาน SX2023 ต้องการตอกย้ำให้ภารกิจการดูแลโลก การสร้างผลกระทบเชิงบวกในมิติเศรษฐกิจ สังคม และลดผลกระทบต่อ “สิ่งแวดล้อม” การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องของ “ทุกคน”

หนึ่งในกิจกรรมที่ “ทุกคน” เริ่มต้นทำเพื่อโลกได้คือ การบริหารจัดการขยะพลาสติก โดยเฉพาะขวด PET ซึ่งวันนี้ ไม่ใช่ใช้แล้วทิ้ง ก่อให้เกิดขยะเท่านั้น แต่งาน SX2023 ต้องการปลุกพลังให้เห็นถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขวด PET ไปเป็นผ้าห่ม ช่วยคนไทยลดผลกระทบจาก “ภัยหนาว” ในทุกปีอีกทางหนึ่ง

SX2023 ชวนคนไทยรักษ์โลก แปลง ‘ขยะ’ ขวด PET สู่ผ้าห่มต้านภัยหนาว

ผู้บริโภคอาจเคยเห็น “พีทีที โกลบอล เคมิคอล”หรือ จีซี เปิดตัวแฟชั่นจากขยะ การนำขวดพลาสติกมาพัฒนาเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ฯลฯ เพื่อให้คนได้สวมใส่มาแล้ว อีกฟาก “ไทยเบฟเวอเรจ” ได้มีการนำขวดพลาสติก PET มาสร้างสรรค์เป็น “ผ้าห่ม” เช่นกัน

ทั้งนี้ ขวดพลาสติก PET 38 ขวด ผลิตเป็นผ้าห่มได้ 1 ผืน แต่ตัวเลขมหัศจรรย์ หรือ Magic Number ปีที่ 24 น่าค้นหากว่านั้น เพราะใน 1 ปี ใช้ขวด PET ราว 7.6 ล้านขวด และระยะเวลา 4 ปี จะใช้ขวด PET 30.4 ล้านขวด ผลิตผ้าห่มได้ 8 แสนผืน และ 24 ปี จะผลิตผ้าห่มได้ 4.8 ล้านผืน

เป็นมิติที่เกิดผลกระทบเชิงบวก 2 ทอด นั่นคือ จากมิติด้านสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณขยะ ขวดพลาสติก PET ไปสู่ผ้าห่มต้านภัยหนาว ช่วยผู้คนในมิติทาง “สังคม”

SX2023 ชวนคนไทยรักษ์โลก แปลง ‘ขยะ’ ขวด PET สู่ผ้าห่มต้านภัยหนาว

งาน SX2023 ไทยเบฟ และพันธมิตร จึงชวนคนไทย นำขวดพลาสติก PET มายังจุดรวมทิ้ง ซึ่งกิจกรรมนี้ร่วมแล้วยังได้รับ “คะแนนสะสม” หรือ Point เพื่อแลกรับสิทธิประโยชน์มากมายด้วย

แม้งาน SX2023 องค์กรธุรกิจชั้นนำต้องการ การเชื่อม “ผู้บริโภค” เป็นแกนกลางผ่านโมเดล “B2C2B” แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า องค์ความรู้ด้านความยั่งยืนต่างๆ เอกชนมีแนวปฏิบัติที่ดีมากมาย เพื่อเป็นตัวอย่างในการเรียนรู้ ซึ่งงานปีนี้ หนึ่งในไฮไลต์ที่สามารถไปเก็บข้อมูลมาปรับใช้ได้คือ โซน Better Living ที่จะได้เห็น “การดูแลน้ำ” (Water Stewardship) แนวทางในการดูแลบริหารจัดการน้ำ อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเติบโตด้านเศรษฐกิจ การลดคาร์บอน(Decarbonization) ในหลากหลายมิติ การจัดการของเสีย (Waste Management) เพราะ “ขยะทุกชิ้น” ล้วนมีที่ไป

ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น แนวทางการจัดการทรัพยากรน้ำ การจัดการก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (net-zero) ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) การจัดแสดงผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมอัพไซคลิ่ง(Upcycling) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน กระบวนการรีไซเคิล PET จาก บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด การจัดแสดงผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งของตกแต่งบ้านที่แปรรูปจากขยะ การนำเฟอร์นิเจอร์มือ 2 จากโรงแรม 5 ดาวมาปรับโฉม รวมถึงผลงานศิลปะจากศิลปินเพื่อชุมชน โดยบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด การดำเนินการเพื่อเป็น Net Zero Emission Factory นำเสนอดีไซน์ผืนผ้าลายสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้านที่ผลิตจากเส้นใยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้เปลี่ยนขยะให้เป็นผลงานศิลปะจาก "วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์" ที่จะสร้างสรรค์งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ จากบริษัท พาซาญ่า กรุ๊ป จำกัด เป็นต้น

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์