แฟชั่นมือ 2 อนาคตธุรกิจใหม่ ไลฟ์สไตล์ความยั่งยืนแบบฉบับคน’รักษ์โลก’
สงครามแฟชั่น เมื่อแฟชั่นมือ 2 จะกลายเป็นธุรกิจใหม่ ตามไลฟ์สไตล์ความยั่งยืน แบบฉบับคน’รักษ์โลก’ จะเติบโตได้แค่ไหน
ในยุคที่โลกกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และปัญหา ClimateChage ความตระหนักรู้ในการบริโภคที่ยั่งยืนมาขึ้น
ในยุคที่โลกกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหา climate change ความตระหนักรู้ในการบริโภคที่ยั่งยืนกลำยเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคให้ควำมสนใจมำกขึ้น
ทำให้ธุรกิจแฟชั่นมือสองหรือ ‘Resale fashion’ เข้ามามีบทบาทที่อาจแช่งชิงส่วนแบ่งตลาด “ฟาสต์แฟชั่น” ในอนาคต เพราะสินค้ามือ 2 ไม่ได้มีดีแค่ถูก แต่มันยังช่วยให้เกิดการลดการใช้ทรัพยากรและลดปริมาณขยะ
ทำให้มีการคาดการณ์ว่าในอีก 3 ปี มูลค่าตลาด เสื้อผ้ามือสองของโลกจะเติบโตเร็วกว่าตลาดเสื้อผ้าทั่วไปถึง 3 เท่า โดยตั้งแต่ 2024-2027 ตลาดจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 12% ส่งผลให้ในปี 2027 มูลค่ำตลำดสินค้ำแฟชั่นมือสอง จะมีมูลค่ำรำว 3.5 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีภูมิภาคเอเชียเป็นตลาดใหญ่สำหรับสินค้าแฟชั่นมือสอง ที่สามารถครองส่วนแบ่งตลาดจากทั้วโลกได้ถึง 41%
Boston Consulting Group (BCG) ชี้ว่าในปี 2565 ยอดขายของสินค้าแฟชั่นมือสองในโลกมีสัดส่วนราว 3-5% ของมูลค่าตลาดแฟชั่น และคาดว่าตลาดนี้มีศักยภาพเติบโตได้อีกมาก โดยคาดว่าจะมีสัดส่วนสูงถึง 40% ของมูลค่า ตลาดแฟชั่นทั้งหมดในอนาคต
ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าแฟชั่นมือสองมีการตัดสินใจซื้อจากหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ ความคุ้มค่ำและการเข้าถึง ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามสูงถึงกว่า50 %
อุตสาหกรรมแฟชั่นทำลายโลก
ปฎิเสธไม่ได้ว่า อุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่นเป็นหนึ่งในอุตสำหกรรมที่กำลังประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ท่ามกลางกระแสที่ทั้งผู้บริโภค ภาคธุรกิจ และภาครัฐให้ความสนใจด้านความยั่งยืนมากขึ้น
อุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่นผลิตขยะสิ่งทอให้กับโลกมากถึง 92 ล้านตันต่อปี และมีโอกาสที่ขยะสิ่งทอจะเพิ่มขึ้นเป็น 134 ล้านตันภายในปี 2030 นอกจากนี้ ไม่เพียงแต่ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น ขยะเหล่านี้ยังส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น และหากอุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่นยังไม่มีการปรับตัว จะเพิ่มขึ้นถึง 50% ภายในปี 2030
การสนับสนุนสินค้ำแฟชั่นมือสองจะช่วยลดกำรปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประหยัดทรัพยากรน้ำ และพลังงาน นอกจากนี้ยังเป็นการใช้พยากรอย่างคุ้มค่า ลดจำนวน เสื้อผ้าเก่าที่ไปจบลงที่หลุมฝังกลบหรือเตาเผา และยังสามารถซื้อได้ในรำคำที่ถูกลงอีกด้วย
คนเราทิ้งเสื้อผ้าปีละ 37 กิโลกรัม
ทั้งนี้จากกรณีศึกษาในสหรัฐ ผู้บริโภค 1 คน ทิ้งเสื้อผ้าเฉลี่ยประมาณ 37 กิโลกรัมต่อปี รวมเป็นขยะสิ่งทอถึง 11.3 ล้านตัน สถานการณ์นี้จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเนื่องจำกเสื้อผ้าถูกใส่จำนวนครั้งน้อยลงและถูกทิ้งเร็วขึ้นกว่าเดิม
โดยเสื้อผ้าหนึ่งชิ้นมีการใช้งานลดลง 36% เมื่อเทียบกับ 15 ปีที่ผ่านมา อีกทั้ง ปัญหาขยะจะยิ่งทวีควำมรุนแรงขึ้น เมื่อมีการทิ้งเสื้อผ้าที่ถูกส่งคืนถึง 2.6 ล้านตันในปี 2020 เพียงปีเดียว เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเห็นว่าการกำจัดเสื้อผ้า มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการนำมาใช้ใหม่
นอกจากนี้ อัตราการผลิตสินค้า Fast fashion เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี 2000 วัสดุจำนวนมากถูกทิ้งเพราะไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ นอกจากนี้การศึกษาในปี 2012 พบว่าราว 60% ของเสื้อผ้าประมาณ 150 ล้านชิ้นที่ผลิตทั่วโลกถูกทิ้งเพียงไม่กี่ปีหลังจากการผลิตโดยแบรนด์สินค้า Fast fashion น ำไปสู่ขยะและการทำลาย สิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่นไม่ได้มีเพียงแค่การสร้างขยะเท่านั้น อุตสำหกรรมสินค้ำแฟชั่น ยังเป็นต้นเหตุของน้ำเสียทั่วโลกถึง 20% โดยการผลิตฝ้ายหนึ่งกิโลกรัมต้องการน้ำมากถึง 20,000 ลิตร
อีกทั้ง การรีไซเคิลที่ไม่เพียงพอและกำรใช้เสื้อผ้าไม่เต็มที่อาจทำให้สูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจของโลกถึง 5 แสน้านดอลลาร์ต่อปี นอกจากนี้ อุตสาหกรรมนี้ยังมีส่วนทำให้เกิดมลพิษจากไมโครพลาสติกในมหาสมุทร โดยราว 10% ของไมโครพลาสติก ที่พบในมหำสมุทรทุกปีมาจากอุตสำหกรรมสินค้ำแฟชั่น
แบรนด์มือ 1 ลงตลาดมือ 2 มากขึ้น
แบรนด์สินค้าแฟชั่นเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดสินค้าแฟชั่นมือสองมากขึ้น ตลาดสินค้าแฟชั่นมือสองมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้แบรนด์สินค้าแฟชั่นต่าง ๆ เริ่มเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดสินค้าแฟชั่นมือสองมากขึ้น โดยทั่วไปสามารถพบการ Resale ของแบรนด์สินค้า อยู่ 2 รูปแบบที่เป็นที่นิยม คือ
1. แบรนด์/ผู้ค้าปลีกเป็นผู้รับซื้อและขายสินค้ามือสองของตัวเองโดยตรง และ 2. แบรนด์ร่วมมือกับแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อขายสินค้ามือสองที่ได้รับการรับรองจากแบรนด์
แฟชั่นมือสองในไทยอนาคตรุ่ง
ไม่เพียงแต่ตลาดสินค้าแฟชั่นมือสองในตลาดโลกเติบโตได้ดี ตลาดแฟชั่นมือสองในไทยก็มีแนวโน้ม เติบโตดีต่อเนื่อง ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันการซื้อสินค้ำแฟชั่นมือสองอย่าง เสื้อผ้า เครื่องประดับ เป็นที่พูดถึง และนิยมมากขึ้นในไทย สะท้อนได้จากการวางจำหน่ายสินค้าแฟชั่นมือสองเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
สาเหตุสำคัญอาจมาจากการที่ตลาดสินค้าแฟชั่นมือสองได้รับการยอมรับมากขึ้นจากผู้บริโภคไทย นอกจากนี้ ผู้บริโภคบางส่วน อาจมีความตื่นรู้ด้่นสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
โดย SCB EIC คาดว่า ในปี 2023 มูลค่าตลาดแฟชั่นมือสองของไทยจะเติบโตราว 20% ที่มูลค่าประมาณ 1,800 ล้านบาท และคาดว่าจะมีอัตราเติบโต ต่อเนื่องเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ราว 15% ในช่วงปี 2024-2027