โรดแมพแผนความเท่าเทียม "สตรี"และการมีส่วนร่วมพัฒนาอย่างยั่งยืน

โรดแมพแผนความเท่าเทียม "สตรี"และการมีส่วนร่วมพัฒนาอย่างยั่งยืน

ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ หรือ The Sustainable Development Goals : SDG ซึ่งมีทั้งหมด 17 ข้อ และมีข้อที่ 5 ระบุถึงการสร้างความเท่าเทียมทางเพศสัตรีและเด็กหญิงทุกคน

ดังนั้น การตระหนักถึงประเด็นสตรีจึงพบเห็นได้ในหลายเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งล่าการประชุมระดับรัฐมนตรีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค ที่ประชุมสรุปถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี 2023 ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระดับรัฐมนตรีมีสาระสำคัญเพื่อทบทวนการทำงานของเอเปคในปีที่ผ่านมาและให้แนวทางสำหรับการดำเนินการต่อไป โดยสาระร่างถ้อยแถลงส่วนหนึ่งให้ความสำคัญการสร้างเชื่อมโยง ว่าด้วยการส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุนที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในภูมิภาคเอเปค MSME สตรี และกลุ่มอื่น ๆ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจแต่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (เช่น กลุ่มชนพื้นเมือง ดั้งเดิม ผู้พิการ และกลุ่มคนจากชุมชนชนบทและชุมชนห่างไกล)

ขณะเดียวกันในกรอบความร่วมมือเดียวกันนี้ แต่เป็นเวทีระดับผู้นำได้ออก"ปฏิญญาผู้นำเอเปค "Golden Gate Declaration" เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระดับผู้นำที่เน้นย้ำ ความมุ่งมั่นในเรื่องต่าง ๆนั้น ก็ได้ระบุถึงการให้ความสำคัญกับบทบาทสตรีด้วย 

“การสนับสนุนแรงงาน”ว่าด้วย  เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่แรงงาน โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองทุกคน และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นสำหรับทุกคน รวมทั้งการสนับสนุนความเท่าเทียม ทางเพศสภาพและการสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้แก่สตรี เยาวชน และกลุ่มอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ ทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้ใช้ เช่น กลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ผู้พิการ และกลุ่มคนจากชุมชนชนบท และชุมชนห่างไกล เป็นต้น "

นอกจากนี้ต้อง การมีส่วนร่วมในตลาดการสร้างทักษะและขีดความสามารถ การให้โอกาสในการเป็นผู้นำ การมีเสียงและมีอำนาจในการดำเนินการ และการสนับสนุนต่อนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และการใช้เทคโนโลยีของสตรี โดยการลดช่องว่างของอัตราการมีส่วนร่วมระหว่างบุรุษและสตรี

ย่อมลงมาอีกหน่อยคือเวทีความร่วมมือประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ในส่วนประเทศไทย คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ให้การรับรองร่างปฏิญญาว่าด้วยการส่งเสริมรูปแบบธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก : ส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยเพื่อการเติบโตอย่างเท่าเทียม (Declaration on Promoting Inclusive  Business Models : Empowering Micro, Small and Medium The Sustainable Development Goals Enterprises for Equitable Growth) ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอ มีสาระสำคัญโดยสรุปคือ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการสนับสนุนการดำเนินการในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยเพื่อการเติบโตอย่างเท่าเทียม โดยพิจารณาจากบริบทของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านความสามารถและทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะได้รับรองหลักการจากคณะกรรมการด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยอาเซียน (ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small, and Medium Enterprise หรือ ACCMSME) แล้ว

 

ทั้งนี้ เพื่อให้เจตนารมณ์เป็นความจริงในทางปฎิบัติ จึงมีการกำหนดชุดเครื่องมือการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสตรีวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ในระดับชาติ (Strengthening Women’s Entrepreneurship in National MSME Policies and Action Plans) โดยจะขอเรียกสั้นๆ ว่า โครงการชุดเครื่องมือกำหนดนโยบาย หรือ Policy Toolkit Project  เพื่อสนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในภูมิภาคอาเซียน และการสร้างระบบนิเวศเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการของสตรี 

บทที่ 1 คุณลักษณะความเท่าเทียมทางเพศที่เพิ่มพลังทางเศรษฐกิจของสตรีที่สอดคล้องกับการเพิ่มจำนวนการจ้างงานของสตรีบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำอย่าง McKinsey & Company และ Boston Consulting Group ระบุว่า การเพิ่มจำนวนตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product—GDP) แต่หากไม่มีการแก้ไขการลดช่องว่างทางเพศหรือกล่าวถึงประเด็นนี้ ภูมิภาคอาเซียนอาจจะเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ เพราะการเพิ่มบทบาทของผู้ประกอบการสตรีจะช่วยส่งเสริมให้ MSME มีความเข็มแข็ง 

บทที่ 2  ความเสมอภาคทางเพศในเชิงกฎหมาย และความท้าทายที่ผู้ประกอบการสตรีต้องเผชิญในด้านการเงิน การตลาด ทุนมนุษย์ และโครงสร้างการสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง และการส่งเสริมสนับสนุนทักษะต่างๆ อาทิ ทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล การเปลี่ยนผ่านสู่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-commerce) และแนวคิดในการลดภาระที่ไม่จำเป็นต่างๆ 

บทที่ 3 ได้กล่าวถึงภาพรวมโดยสังเขป เกี่ยวกับนโยบายและโครงสร้าง MSME ในแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน และยังนำเสนอภาพรวมโดยสังเขป เกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายและกฎหมายที่มีบริบทกว้างขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเป็นผู้ประกอบการสตรี

บทที่ 4 ด้านนโยบายในหัวข้อนวัตกรรมและเทคโนโลยี การเงิน ระบบกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การเข้าถึงตลาดในประเทศและต่างประเทศ การเพิ่มทุนมนุษย์ บริการสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจ (Business Development Support—BDS) กลไกการกำกับดูแล ความเป็นผู้นำนโยบายและการประสานงาน และการติดตามผลกระทบของนโยบายสำหรับกิจการที่สตรีเป็นเจ้าของและบทที่ 5 แนวทางในการสร้างระบบนิเวศที่อำนวยความสะดวกในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรี 

"สตรี" คือกลไกทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญที่ SDG มองว่าการสร้างความเท่าเทียมไม่เพียงลดจุดอ่อนและเพิ่มความสุขให้มวลมนุษยชาติอย่างถ้วนหน้าแล้ว ความเท่าเทียมที่เราทุกคนกำลังพยายามอยู่นี้คือเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจที่เคยถูกกดเอาไว้เป็นเวลานานมาแล้วให้กลับมาเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาร่วมกันอีกครั้งอย่างเท่าเทียม