OR ลุยสร้างอุทยานอเมซอนลำปาง แลนด์มาร์คแห่งใหม่ หนุนเศรษฐกิจไทยโตยั่งยืน
"OR" ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืนด้วย SDG ในแบบฉบับของ OR ลุยสร้าง "อุทยานอเมซอนลำปาง" บนพื้นที่ 600 ไร่ ปักหมุดแลนด์มาร์ค แห่งใหม่ สร้างอาชีพ-รายได้ให้เกษตรกรไทยเติบโตยั่งยืน
OR จัดงาน OR Sustainability: SDG In Action ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนตามกรอบแนวคิด ESG ผ่านวิถีการดำเนินงานด้วย SDG ในแบบฉบับของ OR จนเป็นองค์กรต้นแบบในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน จากการจัดอันดับทั้งในระดับสากลและระดับประเทศในปี 2566 พร้อมเผยเรื่องราวความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG ผ่านการลงมือทำ
นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า OR มีวิสัยทัศน์และแนวคิดในการสร้างความยั่งยืน โดยมีการนำประเด็นความยั่งยืนตามแนวทาง SDG ในแบบฉบับของ OR คือ S-Small โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก D-Diversified โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ และ G-Green โอกาสเพื่อสังคมสะอาด มาผสมผสานกับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
พร้อมทั้งนำเป้าหมาย OR 2030 Goals มาติดตามและทบทวนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนถูกผนวกเข้าไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริง ซึ่ง OR ได้นำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริง แบบ In Action ตั้งแต่กลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและเป้าหมายธุรกิจจนเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น วิภาวดี 62, โครงการไทยเด็ด และการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน เป็นต้น
นายดิษทัต กล่าวว่า สิ่งที่ทำมาตลอดคือ การคำนึงถึงชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยดูแลคนตัวเล็กไปสู่ธุรกิจใหม่และอยู่ในอีโคซิสเต็มด้านสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่าง คาเฟ่ อเมซอน ที่มี Value Chain ส่งผลให้ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 4,000 สาขา พร้อมมีโรงคั่วกาแฟ และมีการนำหุ่นยนต์มาใช้ในการขนส่ง และช่วยคำนวนสต็อก ฯลฯ
นอกจากนี้ ในส่วนของเมล็ดกาแฟที่คนไทยมีการบริโภคมาก OR จะนำร่องที่จังหวัดลำปาง โดยการปลูกกาแฟสายพันธุ์ต่าง ๆ อย่างจริงจังบนพื้นที่ของ OR เอง 600 ไร่ พร้อมพัฒนาสู่เมืองท่องเที่ยว จะช่วยเหลือเกษตรกร สร้างงาน ยกระดับคุณภาพชีวิต กระจายรายได้ ดูแลสิ่งแวดล้อม
"เราอยากสร้างอุทยานอเมซอนลำปาง ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้เพาะพันธุ์กาแฟ เพราะคนไทยชอบดื่มกาแฟ ซึ่งยังไม่มีองค์กรใดทำอย่างจริงจัง จึงหวังว่าอีก 5 ปี เมื่อเราสามารถเพาะพันธุ์ต้นกล้ากาแฟและพัฒนาให้แข็งแรงและสมบูรณ์ใส่งมอบให้กับเกษตรกรจะเกิดความยั่งยืน พร้อมรับซื้อกาแฟด้วยราคาที่เป็นธรรม จึงหวังว่า 3-5 ปีนี้ เราจะเห็นความสวยงามบนพื้นที่สีเขียว เกิดแหล่งเยี่ยมชมของประชาชน สร้างรายได้ให้จังหวัดลำปาง"
นายดิษทัต กล่าวว่า สำหรับงบประมาณในการสร้างอุทยานดังกล่าว ยังไม่สามารถบอกได้ คาดว่าอีก2-3 เดือน จะขออนุมุติงบการลงทุนจากคณะกรรมการบริการฯ โดยความคืนหน้าขณะนี้ได้เตรียมหน้าดิน เรือนเพาะชำไว้รองรับแล้ว จึงหวังว่าแฟที่ OR จะทำการวิจัยพัฒนาและเพาะพันธุ์จะมีความเข้มแข็งมีคุณภาพและรสชาติดีที่สุด
สำหรับงบลงทุนด้านความยั่งยืนนั้นหน้างานกว้างมากเพราะจะแฝงไปในทุก ๆ กลุ่มธุรกิจ อาทิ การทำหลังคาโซลาร์รูฟท็อป, ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) รวมถึงอุปกรณ์สนับสนุนที่ก่อให้เกิดพลังงานสะอาด เป็นต้น OR จึงไม่มองเป็นต้นทุน อีกทั้ง การดำเนินธุรกิจที่ไม่ได้มองแค่กำไรอย่างเดียวเชื่อว่าอีก 15-20 ปี จะเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนของการเปลี่ยยผ่านพลังงานฟอสซิลเพื่อตอบโจทย์พอร์ตลังงานสะอาด
"เราเอาธุรกิจยั่งยืนเข้ามา สิ่งที่ทำจะลดต้นทุนทางการเงิน ตอบโจทย์คาร์บอนเครดิตอนาคต โดยทำเป็นระบบที่ถูกต้อง เช่น การปลูกกาแฟโดยมีต้นไม้บังแสงแดดจะเครมคาร์บอนเครดิตในตลาดสากลได้ จึงจะสร้างแลนด์มาร์คในลำปาง"
สำหรับดีมานด์คาเฟ่อเมซอนคร่าวๆ ปีละ 6,000 ตันต่อปี ในขณะที่ความต้องการทั้งประเทศอยู่ที่ 80,000 ตันต่อปี OR จะเขัาไปแก้ไขเพราะที่ผ่านมากาแฟไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง ดังนั้น OR จะเข้ามาเพิ่มดีมานด์ทำให้ประชาชนรักและรับรู้ว่า OR ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐได้ให้การสนับสนุน
ทั้งนี้ OR ได้ร่วมบอกเล่าตัวอย่าง “ความสำเร็จ” ผ่านการ “ลงมือทำ” ในทั้ง 3 มิติของ ESG ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (E – Environment) ด้านสังคม (S – Social) และด้านการกำกับดูแลที่ดี (G – Governance & Economics) โดย
นายวิศน สุนทราจารย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน OR เปิดเผยว่า OR มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามหลักการ TCFD โดยกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามหลักการ SBTi และกำหนดกลยุทธ์ 3R ได้แก่ Reduce Remove และ Reinforce เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี 2030 และ Net Zero ในปี 2050
นายพิมาน พูลศรี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน OR กล่าวว่า OR ได้ปรับรูปแบบของสถานีบริการน้ำมันเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไม่ว่าจะเป็นการขยายเครือข่าย EV Station PluZ รวมไปถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนในสถานีบริการน้ำมัน มุ่งเน้นการสร้าง “Green Station” โดยมีต้นแบบคือ พีทีที สเตชั่น วิภาวดี 62
นายสุชาติ ระมาศ ผู้อำนวยการใหญ่ OR ยกตัวอย่าง คาเฟ่ อเมซอน ที่ได้ผนวกแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปในการดำเนินธุรกิจ จากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาเมล็ดกาแฟ ที่ส่งเสริมการปลูกกาแฟและรับซื้ออย่างเป็นธรรม เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกร การดูแลชุมชนรอบโรงงานให้เกิดรายได้จากการจำหน่ายอาหารให้กับพนักงาน และร้าน “Café Amazon for Chance” ที่ช่วยสร้างอาชีพให้กับผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง มุ่งจะเป็น “กาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลก”
นายโกสัลล์ ลิมอักษร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านศักยภาพองค์กร OR กล่าวว่า การสร้างความยั่งยืนในองค์กรนั้น “คน” เป็นปัจจัยสำคัญ OR จึงปลูกฝัง OR DNA ให้กับพนักงานทุกคน พร้อมทั้งใช้ OR Academy ในการสร้างเสริมศักยภาพทั้งในการดำเนินธุรกิจและความยั่งยืนให้กับพนักงาน ไปจนถึงพันธมิตรทางธุรกิจ
นางสาวราชสุดา รังสิยากูล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการ ORion กล่าวถึงการดำเนินธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมในแบบฉบับของ OR ซึ่งมุ่งสู่การทำธุรกิจที่สามารถแก้ไขปัญหาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป โดยมีแอปพลิเคชัน xplORe ซึ่งถือเป็น Digital Platform หลักของ OR ในการขับเคลื่อนให้ OR เติบโตสู่ธุรกิจทั้งในอุตสาหกรรมเดิมและกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคตผ่านการทำ O2O (Online to Offline) รวมถึงการสนับสนุน SMEs ให้เติบโตร่วมกัน
นางสาววิไลวรรณ กาญจนกันติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารการเงิน OR ให้มุมมองว่า ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน โดยจะถูกหยิบยกมาเป็นเกณฑ์ในการลงทุน ทั้งในส่วนของนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบัน รวมถึงสถาบันการเงิน ผู้ให้กู้ จนถึงการคัดเลือกคู่ค้าในการทำธุรกิจ ดังนั้นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่โดดเด่น จะมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี รวมทั้งในเรื่องการกำกับดูแลที่ดี ก็เป็นอีกส่วนที่ OR ให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่น เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ในระยะยาว
ภายในงานยังมีกิจกรรมการจัดบูธนิทรรศการแสดงผลงานแบ่งออกเป็น 3 ด้านได้แก่ บูธด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization) บูธเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และบูธการดำเนินงานเพื่อสังคม เพื่อบอกเล่าเรื่องราว การลงมือทำจริงของ OR ที่สะท้อนการดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลที่ดี ไปพร้อมกับการให้ความสำคัญและใส่ใจสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
สำหรับงาน OR Sustainability: SDG In Action จัด ณ Synergy Hall ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ (Energy Complex) โดยคำนึงถึงการใส่ใจสิ่งแวดล้อมภายใต้รูปแบบรักษ์โลกโดยดำเนินการตามเกณฑ์โครงการ “Care the Bear” ลดโลกร้อน ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และยังเป็นการจัดงานในรูปแบบคาร์บอนนิวทรัล อีเว้นท์ (Carbon Neutral Event) ตามหลักเกณฑ์ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งจะมีการนำคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกมาชดเชยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมในการจัดงานอีเว้นท์อีกด้วย