CAL Forum#3 'รัฐ-เอกชน' ร่วมส่งเสริมการลงทุน เคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net Zero
เวที CAL Forum รุ่น 3 ครั้งที่ 3 "ส.อ.ท.-บีโอไอ-กนอ." ร่วมขับเคลื่อนทิศทางนโยบายและส่งเสริมการลงทุน หนุนอุตสาหกรรมไทยเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net zero แข่งขันเวทีโลก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ร่วมกับ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดจัดสัมมนา Climate Action Leaders Forum รุ่น 3 : CAL Forum #3 ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ ทิศทาง นโยบาย และการลงทุน ภาคเอกชน
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า กนอ. มีนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามภารกิจเป็นรัฐวิสาหกิจหนึ่งใน 50 รัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่พัฒนานิคมอุตสาหกรรมกระตุ้นให้เกิดการพัฒนารวม 68 นิคมฯ และ 1 ท่าเรืออุตสาหกรรม แบ่งเป็นดำเนินการเอง 15 แห่ง และร่วมพัฒนา 53 แห่ง รวมถึงบทบาทร่วมดึงการลงทุน และการกำกับกฎระเบียบให้ผู้อยู่ในนิคมฯ ปฎิบัติตามกฎระเบียบ
ทั้งนี้ ปัจจุบัน กนอ.มีพื้นที่เกือบ 2 แสน จำนวน 5,021 โรงงาน มูลค่าการลงทุน 16.83 ล้านล้านบาท จำนวนแรงงาน 1,077,784 คน สำหรับภาพรวมงบประมาณปี 2566 เพิ่มขึ้น 202% รวมพื้นที่ 6,090 ไร่ แบ่งเป็น 5,148 ไร่ ในพื้นที่อีอีซี และนอกพื้นที่อีอีซี ที่ 948 ไร่ จากเป้า 2,500 ไร่ มูลค่าลงทุน 475,560 ล้านบาท โดยปีนี้ตั้งเป้า 3,000 ไร่
"กนอ." ลุยสร้างนิคมฯ รีไซเคิลครบวงจร
อย่างไรก็ตาม กนอ. มุ่งมั่นยกระดับการบริหารจัดการนิคมฯ และโรงงานในนิคมฯ สู่ความยั่งยืนโดยนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมทั้งบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 อาทิ มีการ MOU กับ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และสถาบันการเงิน 5 แห่ง ได้แก่ ธ.กรุงไทย, ธ.ไทยพาณิชย์, SME D Bank, EXIM Bank และ บสย. ส่งเสริมมาตรการด้านการเงินให้ผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ ปี 2566 กนอ.ได้ทำเอ็มโอซี กับ 6 บริษัทไทย-ญี่ปุน เพื่อเปลี่ยนพลังงานถ่านหินเป็นไฮโดรเจนในนิคมฯ สมาร์ท ปาร์ค และมาบตาพุด คาดว่าช่วง 1-2 ปีนี้น่าจะเห็นการใช้งาน รวมถึงการปลูกป่าโดยเชิญชวนโรงงานในนิคมฯ ให้ประหยัดพลังงานและใช้พลังงานสีเขียวมากขึ้นฯลฯ สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ 1.2 ล้านตัน นอกจากนี้ จาการถมทะเลมาบตาพุดเฟส3 แล้วเสร็จจะติดตั้งโซลาร์ Floating ซึ่งจะเปิดโกาสให้เอกชนดำเนินการ
"โรงไฟฟ้าแม่เมาะที่ลำปางจะเริ่มหมดอายุ กนอ.ได้หารือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ติดตั้งโซลาร์ เพื่อผลักดันให้เป็นนิคมฯ พลังงานสะอาด รวมถึงปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) มีจำนวนมากขึ้น กนอ.จะพัฒนาพื้นที่ในอีอีซี ทำนิคมฯ รีไซเคิลครบวงจรที่ทันสมัยสะอาดมุ่งสู่เป้าหมายโกกรีนร่วมกัน"
"บีโอไอ" หนุน "อุต-พลังงาน-ขนส่ง-ชุมชน" ลดคาร์บอน
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า บีโอไอ สนับสนุนครบวรจรตั้งแต่กำหนดนโยบาย สิทธิประโยชน์ จับคู่ธุรกิจ แก้ปัญหาการลงทุน ถือว่าทำงานใกล้ชิดกับ กนอ. เพื่อสนับสนุนเป้าหมายให้เกิดการลงทุนในไทย
สำหรับเครื่องมือที่ใช้ สิทธิประโยชน์ที่ให้ทั้ง ภาษี เช่น ภาษีเงินได้สูงสุดทางกฎหมายไม่เกิน 15 ปี ภาษีอากร ภาษีเครื่องจักร เป็นต้น รวมถึงสนับสนุนนักลงทุนต่างชาติเกี่ยวกับการถือคลองที่ดินเพื่อประกอบกิจการ เป็นต้น ส่วนด้าน การเงิน จะมีกองทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ราว 1 หมื่นล้านบาท เน้นการวิจัยพัฒนาต่าง ๆ
ทั้งนี้ เมื่อมองไปข้างหน้า เหตุการสำคัญที่มีผลต่อการลงทุนมี 3 เรื่อง ซึ่งบริษัทชั้นนำทั้ง อเมริกา ยุโรป และจีน คือ 1. กรีน แต่ก่อนเมื่อพูดเรื่องการลดคาร์บอน หรือเรื่องของ Net Zero จะพูดกันระดับโลก ไม่จริงจังเท่าไหร่ แต่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาทุกประเทศต่างให้ความสำคัญเรื่องนี้ และวันนี้บริษัทล้วนมีเป้าความเป็นกลางทางคาร์บอน และเป้าการใช้พลังงานสะอาด
2. จีโอโพลิติก และ 3. กฏกติกาใหม่ โดยเฉพาะองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้มีเริ่มมีการหารือกันถึงการกำหนดอัตราภาษีที่จัดเก็บภาษีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดยกำหนดอัตราภาษีขั้นต่ำที่เป็นมาตรฐานทั่วโลกสำหรับนิติบุคคลในอัตราอย่างน้อย 15%
อย่างไรก็ตาม บีโอไอ ได้สนับสุนด้านการลดคาร์บอน ผ่านมาตรการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม พลังงาน ขนส่ง และชุมชน อาทิ ส่งเสริม BCG โมเดล และการสนับสนุนเทคโนโลยี CCUS สนับสนุนเป้าหมายพลังงานสะอาด อุดหนุนนโยบายยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ส่วนชุมชนจะเน้นภาคธุรกิจที่ต้องเข้าไปช่วยสนับสนุนมากขึ้น
"ส.อ.ท." ชู BCG โมเดล เคลื่อนอุตสาหกรรมใหม่ดัน GDP
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ปรธานสภาอุตสาหกรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท. ถือเป็นภาคที่ขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศ ซึ่งตนวางนโยบาย ONEFTI เสริมสร้างความแข่งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยแข่งแกร่งมากกว่าเดิม โดยขับเคลื่อน GDP ประเทศ 30% สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าภาคอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ส.อ.ท. มองทิศทางสู่ความยั่งยืนคือ กรีน และคลีนเอ็นเนอจี้ เพื่อไปสู่เป้า Net Zero การที่ส.อ.ท. ประกอบด้วย 46 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีขนาดใหญ่สุดรวมถึงเอสเอ็มอีนั้น จะเอาอุตสาหกรรมที่ต่างคนต่างอยูมาร่วมกันอย่างไร จากสมาชิก 76 จังหวัด ที่แบ่งเป็น 5 ภาค 11 คลัสเตอร์ ตามกระทรวงมหาดไทย การจะร่วมกันเป็นหนึ่งจะต้องร่วมมือกับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสหกรรม
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้ทรานฟอร์มอุตสาหกรรมจากเกษตรมาเป็นอุตสาหกรรมใหม่ จากเดิมที่มีแรงงานภาคการเกษตรเยอะที่ทั้งค่าแรงและที่ดินราคาถูก เมื่อมาสู่ภาคอุตสาหกรรมใหม่ กลายเป็นที่รองรับเงินทุนต่าง ๆ ที่ย้ายนฐานการผลิตโดยเฉพาะญี่ปุ่น แต่ไทยเป็นแค่ OEM ที่รับจ้างผลิตในซัพพลายเชนนักลงทุนได้แต่ค่าแรง ปัจจุบันไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแบบเต็มรูปแบบ รวมกับปัญหาใหญ่การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแค่นิดหน่อนผู้ผระกอบการก็อยู่ไม่ไหว ต่างจากประเทศเพื่อบ้านอย่างเวียดนาม และอินโดนีเซีย
"เมื่อเราถูกดิจิทัลดิสรัปชันทีละอุตสาหกรรม จึงต้องเร่งช่วยให้มีความสามาถในการแข่งขันมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องสร้างเครื่องยนต์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่าน 3 กลไก คือ 1. ส่งเสริม 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย 2. นโยบาย BCG ที่อาศัยจุดแข็งด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และ 3. เป้าหมายบรรลุ Net Zero โดยการส่งเสริมตลาดซื้อขายคาร์บอน เพราะหากไม่เร่งทำด้านสิ่งแวดล้องจะกระทบคุณภาพชีวิตประชากรทั้ง 8 พันล้านคน ซึ่งนโยบายของบีโอไอถือว่าตรงกันกับ ส.อ.ท."
อย่างไรก็ตาม ต้นทุนอุตสาหกรรมสำคัญยังคงเป็น ค่าไฟ ค่าแรงงาน และ ค่าเงิน ซึ่งยิ่งใช้ไฟเยอะจะเป็นต้นทุน เราจะไปแข่งขัน แต่การผลิตสินค้าหากต้นทุนไม่ดีก็สู้เวียดนามและอินโดนีเซียที่มีเขตการค้าเสรี (FTA) ทำไมโครงสร้างค่าไฟไทยจะต้องรอทุก 4 เดือน เหมือนลุ้นหวยว่าจะออกมาเท่าไหร่ ควรปรับโครงสร้างให้แข่งขันได้แล้ว นักลงทุนจึงย้ายไปเพื่อนบ้านแม้ประเทศไทยจะน่าอยู่แต่ต้องปรับโครงสร้างค่าไฟให้ยั่งยืน ไม่ต้องมาทะเลาะทุก 4 เดือน เสียสมาธิทั้ง 2 ฝ่าย เพราะต้นทุนแกว่ง