'ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป' เดินหน้า 'ฟาร์มกุ้ง' ยั่งยืน ลดก๊าซเรือนกระจก 

'ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป' เดินหน้า 'ฟาร์มกุ้ง' ยั่งยืน ลดก๊าซเรือนกระจก 

ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป เดินหน้าไปสู่การผลิตอาหารทะเลอย่างยั่งยืน ผ่านนวัตกรรมและการร่วมมือ สร้างเกณฑ์มาตรฐานใหม่ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มกุ้ง สำหรับอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้น สร้างการเปลี่ยนแปลงในการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบก้าวกระโดดและยั่งยืน 

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้นำอุตสาหกรรมอาหารทะเลระดับโลก ร่วมกับ องค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติระดับโลก The Nature Conservancy (TNC) และ บริษัท อาโฮลด์ เดอแลซ สหรัฐอเมริกา (Ahold Delhaize USA) หนึ่งในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกระดับโลก เปิดตัวโครงการนำร่องเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกระบวนการเลี้ยงกุ้ง ตั้งเป้าสร้างการเปลี่ยนแปลงในการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบก้าวกระโดดและยั่งยืน 

 

'เลี้ยงกุ้ง' ยั่งยืน ปีละ 1,000 ตัน

อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่ม ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการนำร่องในครั้งนี้ ตั้งเป้าผลิตกุ้งปีละประมาณ 1,000 ตัน ที่กระบวนการผลิตต้องลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และเป็นกุ้งที่มีคุณภาพสูงและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่โรงเพาะฟักลูกกุ้งจนถึงจุดสิ้นสุดของกระบวนการจัดส่ง

 

เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์กุ้งคุณภาพสูงไปยังบริษัท ชิคเก้น ออฟ เดอะ ซี โฟรเซ่น ฟู้ดส์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป โครงการนี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการดูแลสิ่งแวดล้อมและลงมือทำอย่างจริงจังของไทยยูเนี่ยนเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมอาหารทะเลแบบยั่งยืนในอนาคต เพื่อให้บรรลุผลตามโครงการริเริ่มเป้าหมายที่อิงหลักวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative) หรือ SBTi ที่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 42% ในระบบปฏิบัติการและห่วงโซ่อุปทาน

 

\'ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป\' เดินหน้า \'ฟาร์มกุ้ง\' ยั่งยืน ลดก๊าซเรือนกระจก 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

การทำงานร่วมกับ TNC จะช่วยให้เราเป็นผู้นำและต้นแบบในการผลิตกุ้งที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม แต่สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย โครงการนำร่องในปี 2567 จะเป็นข้อพิสูจน์ถึงความทุ่มเทของเราในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกำหนดเกณฑ์มาตรฐานใหม่ด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหารทะเล

 

"อีกทั้ง โครงการนี้จะช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมกุ้งให้มีความยั่งยืน มีประสิทธิภาพ และมีความเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนจะนำไปสู่การสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเรามุ่งมั่นว่าจะสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นต้นแบบให้กับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมทั้งหมด” นายอดัม กล่าว

 

ในช่วงเริ่มต้นโครงการนี้จะมุ่งไปที่การลงทุนในฟาร์มเป็นหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ลดการใช้พลังงาน และเพิ่มการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในส่วนของฟาร์มและอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งนั้น เป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุเป้าหมายที่จะเพิ่มผลผลิตและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ควบคู่กัน

 

หลังจากโครงการนำร่องนี้ประสบความสำเร็จ ไทยยูเนี่ยน วางแผนที่จะเพิ่มขนาดของโครงการไปยังฟาร์มกุ้งอื่น ๆ ในประเทศไทย และพื้นที่อื่น ๆ โดยการขยายของโครงการจะช่วยส่งต่อหลักปฏิบัติที่ยั่งยืนให้กับเกษตรเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้น

 

ทั้งนี้ บริษัท อาโฮลด์ เดอแลซ สหรัฐอเมริกา หนึ่งในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกระดับโลก ได้ตกลงให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์กุ้งในโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มกุ้ง ผ่านแบรนด์ Food Lion และ Hannaford  

 

มาร์ค สโตลแมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน บริษัท อาโฮลด์ เดอแลซ สหรัฐอเมริกา หนึ่งในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกระดับโลก กล่าวว่า อาโฮลด์ เดอแลซ สหรัฐอเมริกา และแบรนด์ท้องถิ่นในเครือให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนและรับผิดชอบต่อกระบวนการคัดสรรและจัดซื้อวัตถุดิบในทุกผลิตภัณฑ์

 

"เพราะเราตระหนักถึงความจำเป็นอันเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มกุ้งนี้เป็นก้าวสำคัญของวงการอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน เราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่มีคุณค่าและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับอุตสาหกรรมค้าปลีกระดับโลกสอดคล้องกับแนวทางของบริษัทฯ เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้คนและโลก" 

 

สำหรับรูปแบบการสนับสนุนจะถูกปรับให้เหมาะกับฟาร์มแต่ละประเภท ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในฟาร์ม โดยคาดว่าจะสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ สะท้อนถึงศักยภาพในการสร้างเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ

 

ความร่วมมือ ครั้งสำคัญนี้เป็นการเดินหน้าไปสู่การผลิตอาหารทะเลอย่างยั่งยืน ผ่านนวัตกรรมและการร่วมมือ เพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานใหม่ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มกุ้ง สำหรับอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้น