ส่องนโยบาย 'สหรัฐ-อังกฤษ-จีน-ไทย' หนุนบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สนค.ติดตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการลดใช้พลาสติกของประเทศเศรษฐกิจสำคัญ หวังลดโลกร้อน เผย "สหรัฐ -จีน-สหราชอาณาจักร"เร่งออกนโยบายลดปัญหาการใช้พลาสติกในผลิตภัณฑ์บรรจุอาหาร
KEY
POINTS
- ไทย เป็นผู้นำด้านการผลิตพลาสติกชีวภาพ อันดับที่ 2 ของโลก
- สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศที่สร้าง ขยะพลาสติกมากที่สุดในโลก
- สหราชอาณาจักรประกาศแผนสิ่งแวดล้อม 25 ปีและยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชีวภาพ 2018-2030
- จีน เป็นผู้ผลิตขยะพลาสติกรายใหญ่ที่สุดของโลก
ปัจจุบันเรื่องปัญหาขยะพลาสติกกำลังเป็นอีกหนึ่งความพยายามของทั่วโลกในการลดการใช้ เนื่องจากพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายนานหลายสิบปี และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งส่วนใหญ่นั้นมักมาจากบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม นานาประเทศจึงมีนโยบายเพื่อลดการเกิดปัญหาขยะพลาสติก หลายประเทศได้ออกนโยบายลดการใช้พลาสติก
สำนักงานนโยบายและยุทศาสตร์การค้า (สนค.)กระทรวงพาณิชย์ “พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ “ผู้อำนวยการสนค. กล่าวว่า ได้ติดตามนโยบาย สำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศสำคัญ หนึ่งในนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมคือ การลดขยะพลาสติก พบว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการผลิตพลาสติกชีวภาพ อันดับที่ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา สมาคมพลาสติกชีวภาพไทย ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน ไทยมีกำลังการผลิตพลาสติกชีวภาพปริมาณ 95,000 ตันต่อปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีอัตรา การผลิต 150,000 ตันต่อปี อย่างไรก็ดี ไทยมีแผน ที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตอีก 75,000 ตันต่อปี จุดแข็งที่สำคัญของไทยที่ทำให้สามารถก้าวขึ้นมา เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ คือ วัตถุดิบพื้นฐานที่ใช้ในกาผลิตเม็ดพลาสติก ชีวภาพมาจากพืช (Biobased Plastics) เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง โดยกว่า 90% ของการผลิต พลาสติกชีวภาพของไทยเพื่อการส่งออก
สหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในประเทศที่สร้างขยะพลาสติกมากที่สุดในโลก จากข้อมูลของ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (Environmental Protection Agency: EPA) ระบุว่า สหรัฐฯ มีขยะที่มาจากบรรจุภัณฑ์มากถึง 80 ล้านตันต่อปี โดยครึ่งหนึ่งของขยะบรรจุภัณฑ์ มาจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ภาครัฐมีการออกกฎหมายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่ทำลายระบบนิเวศ อาทิ พระราชบัญญัติ Break Free From Plastic Pollution Act of 2021 (BFFPPA) ที่กำหนดให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ต้องออกแบบ จัดการ และให้เงินสนับสนุนสำหรับการจัดการขยะและ ยุทธศาสตร์รีไซเคิลแห่งชำติ (National Recycling Strategy) ที่ต้องการรวมวัสดุรีไซเคิล เข้ากับการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ พร้อมจัดตั้งนโยบาย/โครงการจูงใจเพื่อเพิ่ม ความต้องการใช้วัสดุรีไซเคิลมากขึ้น
ขณะเดียวกันภาคเอกชนได้ร่วมวางแผนและ ดำเนินการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ บริษัท McDonald’s วางแผน ที่จะใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน 100% ภายในปี 2025 และบริษัท Microsoft ให้คำมั่นว่าจะเลิกใช้ บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ภายในปี 2025 และใช้วัสดุรีไซเคิล รวมถึงวัสดุ ทดแทนอื่น ๆ มาเป็นบรรจุภัณฑ์ให้ได้ 100% ภายในปี 2030
สหราชอาณาจักรมี ความมุ่งมั่นที่จะเพิ่ม การลงทุนในพลาสติกชีวภาพ เพื่อส่งเสริมประเด็น ด้านความยั่งยืน และการลดขยะพลาสติก โดยในปี 2018 รัฐบาลได้ประกาศแผนสิ่งแวดล้อม 25 ปี (25 Year Environment Plan : 25YEP) และยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชีวภาพ 2018-2030 (BioeconomyStrategy2018to 2030) ที่สนับสนุน ให้โลกก้าวไปสู่การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการพัฒนาด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม สินค้า และบริการแห่งอนาคต โดยเฉพาะการส่งเสริม การพัฒนาพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กองทุนวิจัยและนวัตกรรมพลาสติก (The PlasticsResearch and Innovation Fund : PRIF) UK Research and Innovation (UKRI) แ ล ะ Biotechnologyand BiologicalSciences Research Council (BBSRC) เป็นหน่วยงานสำคัญที่มีบทบาท ในการสนับสนุนเงินทุน เพื่อพัฒนาและส่งเสริม ให้มีการนำพลาสติกชีวภาพมาใช้มากขึ้น ตัวอย่าง บริษัทที่ได้รับการสนับสนุน อาทิ Skipping Rocks Lab สตาร์ทอัพที่พัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหา ร จากสาหร่ายทะเล ซึ่งย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ภายใน 4-6 สัปดาห์ รวมถึงบรรจุภัณฑ์อย่าง Ooho! ซึ่งเป็นขวดน้ำลักษณะแคปซูลที่สามารถรับประทานได้ Entoplast ผลิตพลาสติกที่สกัดจากแมลงวันลาย (Black Soldier Fly) ที่อยู่ในขยะอินทรีย์และ Naturbeads ผลิตเม็ดพลาสติกที่ย่อยสลายทาง ชีวภาพได้ 100% ทดแทนเม็ดพลาสติกที่เป็นอันตราย ต่อร่างกายมนุษย์และก่อให้เกิดมลพิษในทะเล
จีน เป็นผู้ผลิตขยะพลาสติกรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยเฉพาะกล่องอาหารและหลอดพลาสติดในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจากบริการดิลิเวอรี่ที่เติบโตอย่างมาก ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ จากขยะพลาสติกทั่วประเทศ อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2021 รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งห้ามใช้พลาสติกและบรรจุภัณฑ์ พลาสติกที่ย่อยสลายไม่ได้อย่างเข้มงวด รวมถึง ส่งเสริมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเดินหน้าสู่การบรรลุเป้าหมายการลดปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมทั้งกระตุ้นการบริโภค สีเขียวให้สำเร็จภายในปี 2025
ภายใต้ความกดดันจากนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อม จากทั่วโลก ทำให้ผู้ประกอบการอาหารและ เครื่องดื่มเริ่มหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ประกอบกับข้อมูลการบริโภค ในจีน ปี 2023 พบว่า บรรจุภัณฑ์มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคอย่างมาก โดยผู้บริโภค 65% ยินดีจ่ายเงินสำหรับผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ความต้องการพลาสติกที่ย่อยสลายได้ของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยคาดว่า 2.10ล้านตัน ในปี 2025