'โลกร้อน' กับปัจจัยเสี่ยงหลักทำเศรษฐกิจพัง

'โลกร้อน' กับปัจจัยเสี่ยงหลักทำเศรษฐกิจพัง

สภาพภูมิอากาศของโลกตั้งแต่ในอดีตมีความแปรปรวน จากกิจกรรมของมนุษย์ซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านที่เป็นข้อระวังในการทำธุรกิจต่างๆ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที

 

ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์  กล่าวว่า สภาพภูมิอากาศของโลกตั้งแต่ในอดีตมีความแปรปรวนอยู่แล้ว แต่กิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มากขึ้น และการเพิ่มขึ้นของประชากรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และรองรับการขยายตัวของเมือง เป็นสาเหตุสำคัญของการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวโลกในช่วงหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกยังเห็นได้จากปรากฏการณ์เช่น ธารน้ำแข็งที่ลดลง ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นตลอดจนการเกิดสภาพอากาศสุดขั้วที่รุนแรง และดีขึ้นสำหรับสภาพภูมิอากาศของไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่ามีสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น และร้อนยาวนานขึ้นอีกทั้งสภาพอากาศสุดขั้วของไทยมีความรุนแรงขึ้นและเกิดบ่อยครั้งขึ้น

แนวโน้มสภาพภูมิอากาศของไทยในอนาคต

ข้อมูลจากหลายแบบจำลองภูมิอากาศพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของไทยในอนาคตมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกภาพจำลอง โดยมีแนวโน้มที่จะเผชิญอากาศร้อนมากขึ้น และมีช่วงเวลาที่อากาศร้อนยาวนานขึ้น อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าไทยจะเผชิญกับทั้งปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วม ฉับพลันจากเหตุการณ์ฝนตกหนักมากยิ่งขึ้น โดยจะเกิดสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะยาวมากกว่า 1 ทศวรรษนี้

โดยทุกภูมิภาคของประเทศไทยร้อนขึ้นโดยเฉพาะภาคกลาง และภาคตะวันออกทำให้ประเทศไทยเสี่ยงต่อน้ำแล้ง และน้ำท่วมฉับพลันจากภาวะสุดขั้วของฝนจะทำให้

  • จำนวนวันที่ฝนตกในแต่ละปีลดลง
  • ระยะเวลาฝนตกอย่างต่อเนื่องลดลง
  • ความแรงของฝนเพิ่มขึ้น
  • ปริมาณฝุ่นจากเหตุการณ์ฝนตกหนักเพิ่มขึ้น
  • ปริมาณฝนรวมสูงสุดในรอบ 1 และ 5 วัน เพิ่มขึ้น
  • ความเสี่ยงต่อน้ำท่วมฉับพลัน/น้ำแล้งเพิ่มขึ้น

 

และประเทศไทยเสี่ยงต่อน้ำแล้ง และน้ำท่วมฉับพลัน จำนวนพายุที่ต่อปี มีแนวโน้มลดลงแต่จะมีพายุในระดับที่รุนแรงกว่าดีเปรสชัน (มากกว่า 61 กม./ชม.) ที่เกิดขึ้นในรอบทุกๆ 10 ปี กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอุณหภูมิเฉลี่ยของไทยในอนาคตคาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นอุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้น 1.09 องศา ภายในช่วงปี 2020-2040 อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้น 1.5 องศา และภายในช่วงปี 2045-2080 อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้น 2.0 องศา ภายในช่วงปี 2050-2070

ในด้านของผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์และรายได้ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของทั้งธุรกิจ ครัวเรือน สถาบันการเงิน และภาครัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจมหภาคเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทั้งผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) เงินเฟ้อ และความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจ

ระยะเวลาที่ร้อนยาวนานขึ้น และร้อนขึ้น ระยะเวลาฝนตกอย่างต่อเนื่อง ลดลง แต่ความแรงของฝน และเหตุการณ์ฝนตกหนักเพิ่มขึ้น

ภาคเกษตรกรรมเผชิญ

ความเสี่ยงทางกายภาพ

  • พืชผลรวมถึงอาหารสัตว์เสียหาย
  • การประมงนอกชายฝั่งได้รับผลกระทบจากพายุที่รุนแรงและดีขึ้น
  • ห่วงโซ่อุปทานและการขนส่งวัตถุดิบ และสินค้าได้รับผลกระทบ
  • ขาดแคลนน้ำสำหรับการเพาะปลูก และปศุสัตว์
  • สัตว์กินอาหารน้อยลง การผลิตเนื้อ และนมของสัตว์ลดลงการสืบพันธุ์ของสัตว์ได้รับผลกระทบ สัตว์มีภูมิคุ้มกันเชื้อโรคลดลง สัตว์เสียชีวิต
  • ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง กระทบห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน

  • ต้นทุนที่สูงขึ้นของการผลิตภาคเกษตรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงจากมาตรการราคาคาร์บอน (carbon pricing)
  • ความต้องการสินค้าลดลงจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
  • เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตสินค้าเกษตรปรับเปลี่ยนกระบวนการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และเพาะเลี้ยงสัตว์
  • น้ำเพื่อให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ความต้องการและราคาของสินค้าเกษตรที่ไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมลดลง

ภาคอุตสาหกรรม

ความเสี่ยงทางกายภาพ

  • ห่วงโซ่อุปทาน และการขนส่งวัตถุดิบ และสินค้าได้รับผลกระทบ
  • เครื่องจักร อุปกรณ์ สิ่งปลูกสร้างในโรงงาน รวมถึงที่ดินได้รับความเสียหาย
  • ขาดแคลนน้ำสำหรับใช้ในกระบวนการผลิต
  • โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมาก
  • ประสิทธิภาพแรงงานลดลง
  • ต้นทุนค่าไฟฟ้าจากการใช้ระบบปรับอากาศเพิ่มขึ้น
  • กระบวนการทำความเย็น (cooling process) ได้รับผลกระทบ
  • ห่วงโซ่อุปทาน และการขนส่งวัตถุดิบและสินค้าได้รับผลกระทบ

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่านฯ

1. ที่ดิน ต้นทุนที่สูงขึ้นของธุรกิจในอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น ซีเมนต์ เหล็ก จากมาตรการ

2. ราคาคาร์บอน (carbon pricing)

  • เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำสร้างแรงจูงใจให้โรงงานอุตสาหกรรมปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากต้นทุนลดลง
  • ความต้องการ และราคาของสินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมลดลง
  • ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์กรเสียหายหากธุรกิจไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที

ภาคการท่องเที่ยว

ความเสี่ยงทางกายภาพ

  • แหล่งท่องเที่ยวต้องหยุดให้บริการนักท่องเที่ยวซึ่งกระทบ ต่อรายได้ของธุรกิจท่องเที่ยว
  • การดำเนินกิจการของธุรกิจ ห่วงใช่อุปทานและการขนส่งวัตถุดิบ ได้รับผลกระทบ
  • ขาดแคลนน้ำสำหรับให้บริการนักท่องเที่ยว
  • ต้นทุนค่าไฟฟ้าจากการใช้ระบบปรับอากาศเพิ่มขึ้น
  • แหล่งท่องเกี่ยวประเภทกิจกรรมกลางแจ้งและแหล่ง ท่องเที่ยวที่พึ่งพาอากาศหนาวเย็นได้รับผลกระทบ
  • ปัญหาปะการังฟอกขาวและกระทบต่อการอยู่รอดของ สัตว์ทะเลซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่านฯ

  • ต้นทุนที่สูงขึ้นของธุรกิจในการซื้อคาร์บอนเครดิต/ลงทุนในมาตรการลดการปล่อยคาร์บอน
  • ธุรกิจสามารถสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ความต้องการของการท่องเที่ยวที่ไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมลดลง
  • ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ขององค์กรเสียหายหากธุรกิจไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างกันท่วงที

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ต่อภาคการผลิตสินค้าและบริการ ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคบริการโดยเฉพาะภาคท่องเที่ยว พบว่าแต่ละภาคได้รับผลกระทบจาก climate change ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเปิดรับภัยคุกคาม และความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศ โดยครัวเรือนก็ได้รับผลกระทบจากโลกร้อน เช่นกัน

ทั้งการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว การกระจายตัวของโรคติดต่อ ความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสาธารณสุข การย้ายถิ่นที่อยู่ ตลอดจนผลกระทบต่อรายได้ รายจ่าย สินทรัพย์ และหนี้สินของครัวเรือน นอกจากนี้ความเสียงทางกายภาพจากโลกร้อน และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ทำให้ความเสี่ยงทางการเงินของภาคการเงินสูงขึ้น ทั้งความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านภาวะตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ตลอดจน

ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ ส่วนผลกระทบต่อการคลังภาครัฐ climate change ส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ รายได้ และรายจ่ายของภาครัฐ ซึ่งในที่สุดแล้วมีผลต่อหนี้สิน และความยั่งยืนทางการคลังในแง่ของผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค climate change

ส่งผลกระทบต่อ GDP ทั้งฝั่งอุปสงค์รวม และฝั่งอุปทานรวมกระทบต่อระดับราคาและภาวะเงินเฟ้อ และมีแนวโน้มที่จะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น เนื่องจากธุรกิจและครัวเรือนต่างๆ มีความเปราะบางและมีความสามารถในการรับมือที่แตกต่างกัน

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์   ศิลาวงษ์