เกษตรฯ วางกรอบแก้ปัญหาฝุ่น พบเผาพื้นที่ตนเอง งดช่วยเหลือทุกกรณี

เกษตรฯ วางกรอบแก้ปัญหาฝุ่น พบเผาพื้นที่ตนเอง งดช่วยเหลือทุกกรณี

เกษตร ยกระดับการ เพิ่มความเข้มข้น แก้ไข ปัญหา ฝุ่น PM 2.5 วางกรอบเฝ้าระวังการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม สร้างการรับรู้ เตรียมการป้องกันในระยะถัดไป เล็งตัดสิทธิ์การได้รับความช่วยเหลือชดเชยต่าง ๆ จากภาครัฐกรณีเผาในพื้นที่การเกษตรกรรมของตนเอง

KEY

POINTS

1) Re-Habit : ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชเป็นการปลูกแบบไม่เผา เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย (รวมถึงนาข้าว) ในพื้นที่เดิม โดยส่งเสริมให้เกษตรเข้าร่วมโครงการตามมาตรฐาน GAP

2) Replace with perennial crops : การปลูกทดแทนจากพืชล้มลุก เป็นพืชที่มีมูลค่าสูง เช่นไม้ผล (กาแฟ มะคาเดเมีย อะโวคาโด มะม่วง) หรือไม้ยืนต้นที่ไม่โตเร็วสามารถกักเก็บคาร์บอนได้ดี

และ 3) Replace with Alternate crops : การปลูกทดแทนในพื้นที่นาปรัง ซึ่งหากมีการปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวนาปรังเป็นพืชหลังนาที่มีศักยภาพและใช้น้ำน้อย เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

นอกจากนี้ที่ประชุม ได้รับทราบสถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) ข้อมูลสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 พฤษภาคม 2567 จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (Gistda) พบจุดความร้อนโดยเป็นพื้นที่การเกษตร 3,255 จุด (ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 10.16) พื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน 1,864 จุด (ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 9.34) จังหวัดที่พบจุดความร้อนในพื้นที่เกษตรสูงสุด 3 จุด ได้แก่ ขอนแก่น 151 จุด ปราจีนบุรี 150 จุด นครราชสีมา 149 จุด และพบจุดความร้อนในเขต ส.ป.ก. สูงสุด 3 จุด ได้แก่ สระแก้ว 154 จุด นครราชสีมา 134 จุด และชัยภูมิ 133 จุด

" ฝุ่นละออง PM 2.5 ภาคการเกษตร  เป็นปัญหาที่สำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในการยกระดับการเฝ้าระวังอย่างจริงจัง และเพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา

โดยนำนวัตกรรมที่มีเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความแม่นยำและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนเร่งสร้างความตระหนักรู้ให้กับเกษตรกร เนื่องจากการเผาในพื้นที่เกษตรนั้นเป็นแหล่งที่มาของฝุ่นละออง ซึ่งส่งกระทบต่อสุขภาพของประชาชน สิ่งแวดล้อม และยังส่งผลเสียต่อพื้นที่ทำการเกษตรอีกด้วย"

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ภาคการเกษตร ครั้งที่ 2/2567 ว่า ประชุมเห็นชอบกรอบแนวทางในการกำหนดมาตรการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ปี 2567/68 ใน 3 ด้าน ประกอบด้วย

เกษตรฯ วางกรอบแก้ปัญหาฝุ่น พบเผาพื้นที่ตนเอง งดช่วยเหลือทุกกรณี

การเฝ้าระวัง สร้างการรับรู้ และปราบปราม การเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้ยกระดับมาตรการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน ฝุ่นละออง (PM 2.5) โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาตัดสิทธิการได้รับความช่วยเหลือชดเชยต่าง ๆ จากภาครัฐ หากตรวจพบว่ามีการเผาในพื้นที่การเกษตรกรรมของตนเอง

โดยนำข้อมูลจากผลการลงพื้นที่ของชุดปฏิบัติการเพื่อเฝ้าระวังการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมนำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลรายชื่อเกษตรกรที่ทำการเผา อีกทั้งการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ และป้องปรามการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีชุดปฏิบัติการเพื่อเฝ้าระวังการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ ระงับยับยั้งเหตุการณ์ เพื่อป้องกัน บรรเทาการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

เกษตรฯ วางกรอบแก้ปัญหาฝุ่น พบเผาพื้นที่ตนเอง งดช่วยเหลือทุกกรณี

 ตลอดจนหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ออกจดหมายแจ้งเตือนให้ตระหนักถึงข้อเสียของการเผาที่กระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย พร้อมกับให้คำแนะนำการจัดการเศษวัสดุให้กลุ่มเป้าหมาย

การส่งเสริมการเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรที่ปลอดการเผา โดยส่งเสริมการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแบบไม่เผา การส่งเสริมการไถกลบและผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ และปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อบรรเทาปัญหาหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 ตลอดจนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำรายละเอียดแผนงาน/โครงการที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2568 เพื่อนำมากำหนดเป็นแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ปี 2567/68 ต่อไป

เกษตรฯ วางกรอบแก้ปัญหาฝุ่น พบเผาพื้นที่ตนเอง งดช่วยเหลือทุกกรณี

และ การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมในระยะถัดไป อาทิ ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขอรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผา เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) พ.ศ.2567 แนวทางการดำเนินงานเพื่อลดปริมาณ PM 2.5 สำหรับพื้นที่เกษตรอย่างยั่งยืนตามกรอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แบ่งออกเป็น 3R ประกอบด้วย