Green Shift ปฏิวัติเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี“เพื่อโลกที่ยั่งยืน”

Green Shift ปฏิวัติเกษตรอินทรีย์  ไม่ใช้สารเคมี“เพื่อโลกที่ยั่งยืน”

ปัจจุบันภาคการเกษตรของไทยนอกจากมุ่งเน้นการบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังเป็นการผลิตเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรไทยนิยมใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและโรคพืชเป็นจำนวนมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

KEY

POINTS

  • การใช้สารเคมีทางการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อได้รับสารกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกาย รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม
  • ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์สามารถทำให้ดินมีธาตุอาหารครบถ้วนในรูปที่พืชดูดไปใช้ได้ ทั้งธาตุอาหารหลักในปริมาณที่สูงอย่างมีนัยสำคัญ และ ธาตุอาหารรองครบถ้วน
  • ทางเลือกให้กับผู้สนใจทำการเกษตร และเกษตรกร สามารถเปลี่ยนการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นการเกษตรแบบออร์แกนิก

ปัจจุบันภาคการเกษตรของไทยนอกจากมุ่งเน้นการบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังเป็นการผลิตเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรไทยนิยมใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและโรคพืชเป็นจำนวนมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร 

กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ข้อมูลรายงานกรมวิชาการเกษตรในปี 2565 พบว่าปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรสูงถึง 0.114 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.32 จาก พ.ศ. 2563 ที่มีการนำเข้ารวม 0.098 ล้านตัน 

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่ที่ใช้ภายในประเทศได้มาจากการนำเข้า ซึ่งมีแนวโน้มในการนำเข้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้มีการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชในผลผลิตทางการเกษตรและในสิ่งแวดล้อมในปริมาณที่มากตามไปด้วย โดยเฉพาะการสะสมในดินและน้ำ รวมถึงในห่วงโซ่อาหาร ถือว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมหนึ่งที่ควรตระหนัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

Digitalize Agriculture: ฝันใหญ่ที่ (ยัง) ไปไม่ถึง

โลกเปลี่ยน เกษตรกรต้องเปลี่ยน ลุย Up skill สู่เกษตรมูลค่าสูง

ผลกระทบของสารเคมีทางการเกษตร

 การตกค้างของสารเคมีในสิ่งแวดล้อมเกิดจากการแพร่กระจายของสารเคมีในระหว่างการฉีดพ่น เนื่องจากสารเคมีส่วนใหญ่จะกระจายไปบริเวณกว้างฉีดพ่นลงสู่พื้นดินและบางส่วนระเหยอยู่ในอากาศทำให้มีการสะสมอยู่ในพื้นดินและน้ำ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงและสัตว์ในธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดการสะสมของสารเคมีในห่วงโซ่อาหารนอกจากนี้ยังทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ในการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืช เช่น ตัวห้ำ หัวเบียน ผึ้งซึ่งเป็นสัตว์ที่ช่วยผสมเกสรและไส้เดือนดินที่ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุในดินที่ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์

ปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อได้รับสารกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกาย รวมไปถึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งการแพร่กระจายสู่อากาศ สะสมในแหล่งน้ำและในดิน มีผลต่อแมลงหรือสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ และยังทำให้เกิดการสะสมของโลหะหนักที่มาจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งส่งผลทำให้ต้นพืชดูดซับสารเคมีที่มากจากการสะสมสารเคมีในดินที่ปนเปื้อนอีกด้วย

Green Shift ปฏิวัติเกษตรอินทรีย์  ไม่ใช้สารเคมี“เพื่อโลกที่ยั่งยืน”

รู้จักจุลินทรีย์ – ชีวภัณฑ์ออร์แกนิก

วานนี้ (8 ส.ค.)  สถาบันวิจัยเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) (KMITL Research Institute of Modern Organic Agriculture : RIMOA) เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “จุลินทรีย์ – ชีวภัณฑ์ออร์แกนิก” เป็นทางเลือกให้กับผู้สนใจทำการเกษตร และเกษตรกร สามารถเปลี่ยนการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นการเกษตรแบบออร์แกนิก

ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์นี้ได้รับการทดสอบและพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยหยุดการใช้สารเคมีในการทำเกษตรและเพิ่มคุณภาพและความทนทานให้กับพืชผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังทำให้ เกษตรกร ผู้บริโภค ผู้อาศัยในบริเวณใกล้เคียงได้รับความปลอดภัยจากสารเคมีซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภัยต่างๆที่แฝงตัวเข้ามาในชีวิตประจำวันของคนไทยทุกคน

 รศ. ดร.เกษม สร้อยทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่ สจล. กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ สามารถทำให้ดินมีธาตุอาหารครบถ้วนในรูปที่พืชดูดไปใช้ได้ โดยมี ธาตุอาหารหลักในปริมาณที่สูงอย่างมีนัยสำคัญ และ ธาตุอาหารรองอย่างครบถ้วนผลิตภัณฑ์มีทั้งหมด 4 สูตรซึ่งมีแร่ธาตุหลัก NPK ที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมในการเจริญเติบโตของพืชในช่วงอายุต่างๆ  และได้ร่วมมือกับ บริษัท เค-วัน ลาดกระบัง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่ใช้นวัตกรรมของ สจล. ภายใต้บริษัท KMIT Holdings จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อต่อยอดให้กับสังคมต่อไป

Green Shift ปฏิวัติเกษตรอินทรีย์  ไม่ใช้สารเคมี“เพื่อโลกที่ยั่งยืน”

รศ. ดร.สุดาพร สาวม่วง กรรมการผู้จัดการ จากบริษัท เค-วันลาดกระบัง จำกัด กล่าวว่าผลิตภัณฑ์นี้ตอบโจทย์ผู้ที่มีแนวคิดในการทำเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่ เพื่อเป็นอาชีพทางเลือก หรือเพื่อเสริมศักยภาพให้กับการทำเกษตรอินทรีย์ สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับดิน และสามารถให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกษตรกร ที่ต้องการทำเกษตรอินทรีย์

ทั้งนี้การใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชจะส่งผลดีในหลายด้าน ทั้งช่วยลดการใช้สารเคมีในแปลงเกษตร ลดสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์ ลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีจากต่างประเทศ มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศด้านเกษตรปลอดภัยและการผลิตผักผลไม้อินทรีย์ สอดรับกับนโยบาย BCG Economy Model ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย

Green Shift ปฏิวัติเกษตรอินทรีย์  ไม่ใช้สารเคมี“เพื่อโลกที่ยั่งยืน”