นักวิทยาศาสตร์พบวิธีทําให้ ‘ธารน้ําแข็ง’ ในแอนตาร์กติกาหนาขึ้น

นักวิทยาศาสตร์พบวิธีทําให้ ‘ธารน้ําแข็ง’ ในแอนตาร์กติกาหนาขึ้น

ธารน้ำแข็งทเวตส์ขนาดมหึมาในแอนตาร์กติกา หรือ “ธารน้ำแข็งวันสิ้นโลก” กำลังจะละลายอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันก็ยังพอมีดีอยู่บ้าง โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองสร้าง “แผ่นน้ำแข็ง” ในทะเล ด้วยการการสูบน้ำทะเลลงบนหิมะ ซึ่งช่วยให้ด้านล่างแผ่นน้ำแข็งหนาขึ้นมาบ้าง

KEY

POINTS

  • ธารน้ำแข็งทเวตส์ หรือ “ธารน้ำแข็งวันสิ้นโลก” กำลังจะละลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากละลายทั้งหมด ทำให้ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น หลายพื้นที่ทั่วโลกจะจมลงสู่ใต้น้ำ ตามสมญานามของมัน
  • นักวิจัยพยายามหาวิธีจะเพิ่มความหนาให้กับธารน้ำแข็ง โดยทดลองน้ำแข็งลงไปให้ถึงน้ำที่อยู่ใต้แผ่นน้ำแข็ง จากนั้นสูบน้ำขึ้นไปไว้บนธารน้ำแข็ง ซึ่งช่วยให้น้ำแข็งหนาขึ้นได้จริง
  • แต่ถ้าต้องการให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน สร้างน้ำแข็งให้หนาประมาณ 1 เมตรขึ้นไป ซึ่งต้องใช้ปั๊มประมาณ 10 ล้านตัว

แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกา กำลังละลายด้วยอัตราที่เร็วกว่าในที่ผ่านมา ทำให้เกิดความกังวลว่าแผ่นน้ำแข็งอาจจะละลายหายไปหมด ทุกอย่างดูเหมือนจะเลวร้ายลงไปกว่าเดิม เมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ธารน้ำแข็งทเวตส์ ขนาดมหึมาใน แอนตาร์กติกา หรือที่รู้จักในชื่อ “ธารน้ำแข็งวันสิ้นโลก” กำลังจะละลายอย่างรวดเร็ว

ซึ่งหากแผ่นน้ำแข็งทเวตส์ละลายทั้งหมด ทำให้ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และหลายพื้นที่ทั่วโลกจะจมลงสู่ใต้น้ำ ตามสมญานามของมัน

แต่ขณะเดียวกันก็ยังพอมีดีอยู่บ้าง โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองสร้าง “แผ่นน้ำแข็ง” ในทะเล ด้วยการการสูบน้ำทะเลลงบนหิมะในอาร์กติกของแคนาดา ซึ่งช่วยให้ด้านล่างแผ่นน้ำแข็งหนาขึ้นมาบ้าง

 

“ธารน้ำแข็งวันสิ้นโลก” ละลายต่อเนื่อง

ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษและอเมริกันได้ติดตามการละลายของธารน้ำแข็งทเวตส์ มาตั้งแต่ปี 2018 และพบว่า ธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดซึ่งมีความหนากว่า 2,000 เมตรในบางจุด กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ปริมาณน้ำแข็งของธารน้ำแข็งทเวตส์และธารน้ำแข็งใกล้เคียงที่ละลายไหลลงสู่ทะเลจากเพิ่มขึ้นจากช่วงทศวรรษ 1990-2010 มากกว่าสองเท่า หากธารน้ำแข็งทเวตส์พังทลายลงทั้งหมด ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 65 ซม.

“ธารน้ำแข็งทเวตส์หดตัวมานานกว่า 80 ปีแล้ว โดยหดตัวเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา และผลการศึกษาของเราบ่งชี้ว่าธารน้ำแข็งจะหดตัวเร็วขึ้นและมากขึ้น ซึ่งเราเห็นตรงกันว่าธารน้ำแข็งทเวตส์จะหดตัวเร็วขึ้นอีกในช่วงศตวรรษหน้า”
- ดร. ร็อบ ลาร์เตอร์ นักธรณีฟิสิกส์ทางทะเล และสมาชิกกลุ่มความร่วมมือธารน้ำแข็งทเวตส์ระหว่างประเทศ (ITGC) ซึ่งติดตามแผ่นน้ำแข็งและกล่าว

ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ธารน้ำแข็งทเวตส์ และ แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาตะวันตกส่วนใหญ่อาจสูญหายไปภายในศตวรรษที่ 23 โดยธารน้ำแข็งทเวตส์มีความเสี่ยงสูงที่จะละลายอย่างรวดเร็ว เนื่องจากธารน้ำแข็งตั้งอยู่บนพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลมาก ในลักษณะที่ลาดลงมาสู่ใจกลางของแอนตาร์กติกาฝั่งตะวันตก

 

หาทางให้น้ำแข็งกลับมาอีกครั้ง

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น หุ่นยนต์ใต้น้ำ เทคนิคการสำรวจแบบใหม่ และแนวทางใหม่ในการจำลองการไหลของน้ำแข็งและรอยแตก ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับธารน้ำแข็งมากขึ้น จนพบว่ายังพอจะมีวิธีที่ทำให้แผ่นน้ำแข็งกลับมาหนาขึ้นได้ ด้วยการใช้ “น้ำทะเล

บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอังกฤษอย่าง Real Ice ได้ทำการทดลองภาคสนามเมื่อต้นปี 2024 บริเวณทะเลอาร์กติกของแคนาดา โดยเจาะน้ำแข็งลงไปให้ถึงน้ำที่อยู่ใต้แผ่นน้ำแข็ง จากนั้นสูบน้ำขึ้นไปไว้บนธารน้ำแข็ง

น้ำจะเข้าไปเติมเต็มช่องว่างอากาศในหิมะและแข็งตัว ก่อนจะค่อย ๆ กลายเป็นน้ำแข็ง ส่งผลให้มีน้ำแข็งตามธรรมชาติเติบโตสูงถึง 25 เซนติเมตร ที่บริเวณด้านล่างของน้ำแข็ง

นักวิทยาศาสตร์พบวิธีทําให้ ‘ธารน้ําแข็ง’ ในแอนตาร์กติกาหนาขึ้น

การทดลองสูบน้ำจากใต้น้ำแข็งขึ้นมาถมบนหิมะของ Real Ice 

อันเดรีย เชคโกลินี ซีอีโอร่วมของ Real Ice กล่าวกับ New Scientist ว่า “เป้าหมายของเราคือการแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มความหนาของน้ำแข็งสามารถรักษาและฟื้นฟูน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ขณะที่ ฌอน ฟิตซ์เจอรัลด์ ผู้อำนวยการศูนย์ซ่อมแซมสภาพอากาศแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งร่วมดำเนินการการทดลองนี้ กล่าวกับ New Scientist ว่า “ผลการทดลองยืนยันว่ามีอัตราการเติบโตของน้ำแข็งทะเลใหม่เพิ่มขึ้นจากบริเวณด้านล่างจริง”

ปัจจุบันน้ำแข็งทะเลอาร์กติกเหลือเพียง 1.65 ล้านตารางไมล์ ซึ่งลดลงประมาณ 750,000 ตารางไมล์ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำแข็งในช่วงสิ้นฤดูร้อนระหว่างปี 1981-2010 ที่อยู่ที่ 2.4 ล้านตารางไมล์

มีการคาการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะไม่มีน้ำแข็งเลยในช่วงฤดูร้อนภายในทศวรรษ 2030 

อีกทั้งน้ำแข็งที่มีอยู่นี้ มักเป็นน้ำแข็งที่เกิดใหม่มีอายุเพียง 1 ปี ซึ่งยังบางและไม่สามารถสามารถอยู่รอดในช่วงเดือนที่อากาศอบอุ่นได้ ส่วนน้ำแข็งที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไปมีจำนวนน้อยลงมาก

อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้จำเป็นต้องพัฒนาต่อไป เพื่อเร่งให้เกิดกระบวนการแช่แข็งตามธรรมชาติ และ สร้างน้ำแข็งให้หนาประมาณ 1 เมตรขึ้นไป ถึงจะสามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นได้ ซึ่งอาจจะต้องใช้ปั๊มประมาณ 10 ล้านตัว จึงจะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้

New Scientist กล่าวว่าวิธีการนี้อาจทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่ตั้งใจ เช่น ผลกระทบต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว รวมถึงอาจทำให้อุณหภูมิการละลายของน้ำแข็งลดลง ขณะที่

ฮาโย เฮนดริกเซ ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟต์กล่าวกับ The Guardian ว่านวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การทำให้น้ำแข็งกลับมาแข็งอีกครั้ง ไม่ใช่ “วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง” แต่เป็นเพียงการช่วยบรรเทาอาการ เปรียบเสมือนกับ “พลาสเตอร์ยา” ที่ใช้ได้กับปัญหาเล็ก ๆ เท่านั้น

 

 

ที่มา: Euro NewsNew ScientistThe WeekWION