'เศรษฐกิจฐานราก' ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นกระจายรายได้ที่ยั่งยืนสู่ชุมชน

'เศรษฐกิจฐานราก' ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นกระจายรายได้ที่ยั่งยืนสู่ชุมชน

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เศรษฐกิจฐานราก (พ.ศ. 2561 - 2580) ระบุว่าการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เป็นการดำเนินการที่สำคัญในการพัฒนาและยกระดับประเทศให้เป็นประเทศรายได้สูง ที่มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับเศรษฐกิจไทยในอนาคต

โดยการส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้

ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้นและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เสมอภาคตามเป้าหมายการพัฒนาของ ยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

เพื่อให้ทุกคนได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ผ่านการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและพฤติกรรม และด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาและส่งเสริมการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรและการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นและวิสาหกิจชุมชน

ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หัวหน้าทีมภาคเอกชนคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และประธานคณะกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย กล่าวในงานสัมมนาประจำปีคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ว่าตามที่คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 นับตั้งแต่ ปี 2559 ภายใต้พันธกิจหลัก คือ สร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุข โดยเน้น 5 กระบวนการ ประกอบด้วย การเข้าถึงปัจจัยการผลิต การสร้างองค์ความรู้ การตลาด การสื่อสารสร้างการรับรู้ และการบริหารจัดการที่ดี

การดำเนินงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยรวมถึงภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ด้วยโครงการกว่า 1,690 โครงการ มีผู้ได้รับผลประโยชน์กว่า 136,000 ครัวเรือน สร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 2,600 ล้านบาทจนถึงปัจจุบันโดยในปี 2566 สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนกว่า 460 ล้านบาท จากการดำเนินโครงการอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง 

\'เศรษฐกิจฐานราก\' ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นกระจายรายได้ที่ยั่งยืนสู่ชุมชน

สำหรับหนึ่งโครงการที่สร้างความสำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน คือ โครงการ "ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย" ที่ดำเนินการมากว่า 7 ปี ย่างเข้าสู่ปีที่ 8 ที่เครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม  ร่วมมือกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา และ ภาคเอกชนในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า

\'เศรษฐกิจฐานราก\' ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นกระจายรายได้ที่ยั่งยืนสู่ชุมชน

โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างสรรค์กับผลผลิตการเกษตรของท้องถิ่น ผ่านการแปรรูป ที่รวมถึงการพัฒนาสีที่สกัดจากธรรมชาติ การออกแบบ การตัดเย็บ สีสัน และลวดลายผ้า จนเป็นสินค้าที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นแก่ชุมชน  ช่วยสร้างรายได้และเสริม ศักยภาพให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมาอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

วรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐมีกลไกดังนี้

  • 1 เป้าหมายสร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุข
  • 3 กลุ่มงาน คือ เกษตร แปรรูป (SME/OOP) ท่องเที่ยวชุมชน 
  • 5 กระบวนการ คือ การเข้าถึงปัจจัยการผลิต

การสร้างองค์ความรู้  การตลาด การสื่อสารเพื่อการรับรู้  การบริหารจัดการเพื่อความยังยื่นโดยมีรูปแบบการขับเคลื่อน ประกอบด้วย เอกชน ร่วมขับเคลื่อน รัฐบาลสนับสนุน ประชาชนลงมือทำ จึงจะสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนได้มีประสิทธิภาพ

\'เศรษฐกิจฐานราก\' ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นกระจายรายได้ที่ยั่งยืนสู่ชุมชน

มนตรี จงวิเศษ ประชารัฐรักสามัคคี นครราชสีมา กล่าวใน เสวนาในหัวข้อเสวนา "พลังร่วมภาคเอกชน-ชุมชนในพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก" ว่าโครงการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร จำหน่ายวัตถุดิบแก่บริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์  โดยเริ่มแรกทำโครงการยังไม่มีกำไร ต้องมีการใช้ตลาดนำใช้ประชารัฐเป็นกลไกลกลางในการทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมลงมือทำและขับเคลื่อน

ซึ่งเป็นโอกาสที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ เพิ่มมากขึ้น และสร้างสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ เชื่อมโยงและส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชน ในปี 2567 ได้มีการจัดส่ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนสำคัญที่สุดคือต้องมีการบริหารจัดการในด้านต่างๆ จึงจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีการลงพื้นที่ในการอบรมณ์เกษตรกร ที่ผ่านมาทำให้ชุมชนได้รายได้ 6,240,027 บาท 352 ครัวเรือน ในปี 2566

\'เศรษฐกิจฐานราก\' ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นกระจายรายได้ที่ยั่งยืนสู่ชุมชน

ชาญฤทธิ์ เพิ่มทรัพย์ ประชารัฐรักสามัคคี กระบี่ กล่าวว่า เราเป็นภาคเอกชนที่สนับสนุนชุมชน ที่มีภาครัฐเป็นฝ่ายสนับสนุน ซึ่งยึดภาคดังนี้เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนประเทศได้แก่ ภาคการเกษตร การแปรรูป  SME ซึ่งเป็นพื้นฐานของภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวโดยชุมชน  ทั้งหมดนี้มีการวางแผนพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค

รวมถึงการลงพื้นที่วางแผนพัฒนาการผลิตให้กับเกษตรกร ให้มีมาตราฐานและมีความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค โดยในปัจจุบันมีการขายในโรงพยาบาลในจังหวัด ภายใต้โครงการอาหารปลอดภัย และมีการขยายโรงพยาบาลทั่วจังหวัด รวมถึงมีการขยายแผนไปยังโรงเรียนและโรงแรมรวมถึงร้านอาหารต่างๆอีกด้วย

นอกจากนี้ยังหาช่องทางในการจำหน่ายสินค้าต่างๆผ่านงานบูท อีเวนต์ในการหารายได้ที่มากขึ้น ในโครงการต่างๆรวมถึงผลักดันสินค้าให้เป็นสินค้าระดับท่องเที่ยวเพื่อเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด

รวมถึงปรับให้ทันยุคทันสมัยในด้านของออนไลน์ต่างๆ ในปัจจุบันมีสินค้ามากกว่า 200 รายการ 1 ปีมีรายได้ 10 กว่าล้านบาท นอกจากนี้ยังผลักการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้นเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนเริ่มต้นในชุมชนในการวางแผน แหล่งท่องเที่ยวกิจกรรมการท่องเที่ยว ให้มีความพร้อมในช่องทางหารายได้และโปรโมทการท่องเที่ยวต่อไป

ประพิณ ลาวัณย์ประเสริฐ บริษัท ไทยเพรสซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การทำงานกับขณะทำงานกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากนั้นเป็นเรื่องที่ดีในการช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ในส่วนของบริษัทได้ยึดความปลอดภัยเป็นไปตามระดับสากล ของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ

โดยใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรทั้งสิ้นตั้งแต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปยังส่วนของทางเครื่องปรุง วัตถุดิบทั้งหมดล้วนมีความปลอดภัย เพราะมีการตรวจสอบและมีการให้ความรู้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่องจากทางประชารัฐ ส่วนราคาที่รับซื้อจะรับซื้อในราคาตลาด ตามห่วงโช่อุปทานตามฤดูกาล รวมถึงการส่งมอบวัตถุดิบที่ตรงเวลาเพราะไม่มีการเก็บของไว้ในคลัง เพราะใช้ของที่มีความสดใหม่และตามสเปคอยู่ตลอด

ใน1 ปีมีการใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรประมาณ 2,000 ตันต่อปี ซึ่งสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้อีกด้วยหวังว่าโครงการของประชารัฐจะช่วยขับเคลื่อนไปพร้อมๆกับอุตสาหกรรมที่ต้องการความปลอดภัยในประเทศและทั่วโลก

ธัญญ์นภัส กิ่งสุวรรณผู้ก่อตั้ง บริษัท THORR's กล่าวว่า การทำงานกับภาคเอกชนนั้นตลอด 6 ปี ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหัตถกรรม และส่งออก บางจังหวัดไม่ได้มีที่หลากหลายไม่ใช่เพียงแค่เกษตรกรเพี่ยงเท่านั้นงานหัตถกรรมก็ถือเป็นสินค้าเด่นในบางจังหวัดเหมือนกัน จึงสามารถช่วยชุมชนได้อย่างมาก 

ซึ่งนำจุดแข็งในเครือข่ายชุมชนประชารัฐมาปรับใช้ในการหาตลาดใหม่นำมูลค่าจากสินค้านั้นกลับคืนสู่ชุมชน รวมถึงยังบริหารจัดการในด้านการวางแผน เรื่องของการออกแบบ และต้นทุนที่สมเหตุสมผล การเอาใจเขามาใส่ใจเราเพื่อสร้างตลาดใหม่สู่อนาคต และกำลังการผลิตเป็นเรื่องที่สำคัญเครือข่ายในชุมชุนเป็นเรื่องสำคัญในอุตสาหกรรม ที่เป็นสากลและไปสู่ตลาดโลกได้

\'เศรษฐกิจฐานราก\' ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นกระจายรายได้ที่ยั่งยืนสู่ชุมชน \'เศรษฐกิจฐานราก\' ลดความเหลื่อมล้ำ เน้นกระจายรายได้ที่ยั่งยืนสู่ชุมชน