'กรุงเทพฯ' เมืองยั่งยืน ภารกิจทุกคนร่วมออกแบบ
องค์ประกอบสำคัญในการพัฒนา "เมืองที่ดี" ต้องมีการร่วมมือที่ดีระหว่างรัฐ เอกซน ชุมชน ในการลงทุนเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างและพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่า กทม. กล่าวในงานเสวนา Pathways to a Sustainable Urban Future-One Bangkok ว่า การรักษาสมดุลระหว่างเมืองใหญ่และเมืองสีเขียวต้อง นิยามความยั่งยืนไม่ใช่แค่โลกร้อนเพียงอย่างเดียวยังเป็นเรื่องของความยั่งยืนในการใช้ชีวิตของประชาชนด้วย โดย กทม. มีวิสัยทัศน์ "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" สู่ 9 นโยบายหลัก บริหารจัดการดี ได้แก่ สิ่งแวดล้อมดี สุขภาพดี เดินทางดี ปลอดภัยดี สังคมดี เศรษฐกิจดี โปร่งใสดี เรียนดี และมี 216 แผนปฏิบัติการที่ปรับใช้ในปัจจุบัน
โดยมีเป้าหมายในปี 2570 ว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ 1 ใน 50 อันดับแรกของโลกซึ่ง กทม.ให้ความสำคัญกับโครงการที่ประชาชนจับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็น การเดินทาง Mobility ในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าหลายสาย แต่ยังไม่ยั่งยืนเพราะการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการเดินที่ฟุทบาทยังไม่เอื้ออำนวยในการเดินไดั คนก็กลับไปใช้รถส่วนตัวเหมือนเดิม ซึ่งมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
สวนสาธารณะใหญ่ใจกลางเมือง และต้องมีสวนเล็กๆใกล้บ้านที่มีมาตราฐานและน่าเดินเพื่อสุขภาพที่ดี รวมถึงเรื่องของระบบจัดการขยะ ส่งเสริมการแยกขยะในกลุ่มผู้ประกอบการที่มีขยะมาก กรณีศึกษา ตลาดมหานาค แยกขยะเศษอาหารได้ 7.83 ตันต่อวัน ส่งต่อให้สำนักงานเขตดุสิตนำไปทำปุ๋ย
และส่วนสำคัญในเรื่องของระบบระบายน้ำ ที่ได้มีการลอกท่อไป 4,000 กิโลเมตรทำให้นำระบายเร็วขึ้นและปรับปรุงจุดเสี่ยงน้ำท่วม 737 แห่งนอกจากนี้ยังมีเป้าหมายของสำนักงานเขต กทม.ในปี 2567 ได้แก่
- พัฒนาถนนสวย 124 กิโลเมตร
- ติดตั้ง/ปรับปรุง ไฟถนน 31,900 ดวง
- ติดตั้ง/ปรับปรุง ไฟริมคลอง 9,500 ดวง
- ปลูกต้นไม้ 200,000 ต้น
- ปรับปรุงจุดฝืดจราจร
- เพิ่มสวน 15 นาที 153 แห่ง
- จัดการจุดเสี่ยงอาชญากรรมและความปลอดภัย 370 แห่ง
- ปรับปรุงทางเท้า 312 กิโลเมตร
- ยกเลิกจุดทำการค้าบนทางเท้า 100 จุด
- พัฒนา Hawker center 20 แห่ง
- แก้ไขจุดเสี่ยงน้ำท่วม 212 แห่ง
นอกจากนี้ยังอาศัยความร่วมมือภาคเอกชนพัฒนาศูนย์กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์กีฬา การปลูกต้นไม้ต่างๆ หรือการดูแลกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ กทม. อยู่จำนวนมาก มีการทำธนาคารอาหาร ให้คนมาใช้ มีธนาคาร 50 แห่งทั่วกรุงเทพ ซึ่งทำให้กรุงเทพมีความยั่งยืนมากขึ้น
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มลพิษสิ่งแวดล้อม หนึ่งในสาเหตุของการเจ็บป่วย สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั่วโลกมีแนวโน้มอุบัติการณ์การเสียชีวิต จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้น
โดยปัจจัยสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื่อรังในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย คือ มลพิษทางอากาศ จำแนกสาเหตุเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรือรังที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้ถึง 8.2 ล้านคน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 4 ใน 5 อันดับแรกเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
การเพิ่มพื้นที่สีเขียว กับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดย Universal Design การออกแบบผังเมืองที่ดี ต้องยึดประโยชน์ของ ปชช. เป็นศูนย์กลางลดมลพิษทางอากาศ น้ำ เสียง สารเคมี ขยะเพิ่มพื้นที่ออกกำลังกาย/พักผ่อน ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เอื้อต่อสุขภาพกาย จิตที่ดีสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
ซึ่งเชื่อมโยงผู้คน ที่อยู่อาศัย และธรรมชาติเพิ่มพื้นที่สาธารณะปลอดภัย รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ เสริมสร้างทัศนียภาพ เกิดพื้นที่ชุมชนน่าอยู่ ที่เป็นมิตรกับคนทุกวัยผังเมืองที่ดี ลดปัญหาจราจร การเดินทางสะดวกมากขึ้นลดความเครียดจากการเดินทางที่ยาวนาน ลดอุบัติเหตุ เพิ่มเวลาพักผ่อน สร้างสมดุลชีวิต
ปณต สิริวัฒนภักดี ซีอีโอ กลุ่มเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า การสร้างเมืองที่ดีนั้นต้องเพิ่มคุณภาพที่ดีต้อคนเมือง การออกแบบโครงการสามารถต่อยอดไปในเรื่องของคุณภาพชีวิต สองคนเป็นตัวตั้งและจุดหลัก 'การยกระดับคุณภาพชีวิต' ประโยชน์หลักของการพัฒนาแบบผสมผสาน
โดยพื้นที่สีเขียวมากขึ้น การพัฒนาการใช้งานแบบผสมสามารถให้พื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น 20-30 % โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน ซึ่งปรับปรุง คุณภาพอากาศ ส่งเสริมการผ่อนคลาย และ ส่งเสริมกิจกรรมกลางแจ้ง
นอกจากนี้จะต้องทำให้การเดินทางที่สั้นลงในพื้นที่ ที่มีการใช้งานหลากหลาย 30-50 % ช่วยลดเวลาเดินทางให้น้องลงเพิ่มความสะดวก
ทั้งนี้ยังปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีขึ้นพื้นที่ต่างๆ เพิ่มโอกาสสําหรับการ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและส่งเสริมความรู้สึกของชุมชนและลดความโดดเดี่ยวทางสังคมและเข้าถึงสิ่งอํานวยความสะดวก รวมถึงการพัฒนาแบบผสมผสานสามารถลดอาชญากรรมได้ 15 -25 % สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
เข็มอัปสร สิริสุขะ นักแสดงและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ความท้าทายในเรื่องของความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะความสะดวกสบายกับความยั่งยืนความขัดแย้งระหว่างทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและทางเลือกที่สะดวกกว่าแต่ยั่งยืนน้อยกว่าไม่ว่าจะเป็น
- อาหารจานด่วนกับการทําอาหารที่บ้าน
- ใช้ครั้งเดียวกับใช้ซ้ำ
- การขนส่งส่วนบุคคลกับการขนส่งสาธารณะ
- ช้อปปิ้งออนไลน์ (ขยะมากขึ้น) เทียบกับการช็อปปิ้งในท้องถิ่น
- ความท้าทาย การเข้าถึงแหล่งข้อมูล
ซึ่งในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน เช่น สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรืออาหารออร์แกนิกในท้องถิ่น อาจไม่มีจําหน่ายอย่างกว้างขวางหรือเข้าถึงได้ในทุกพื้นที่ แถมค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตัวเลือกที่ยั่งยืน เช่น พลังงานสีเขียว อาหารออร์แกนิก ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มักจะมาพร้อมกับป้ายราคาที่สูงขึ้น ซึ่งมักเรียกกันว่า 'พรีเมี่ยมสีเขียวมา
นอกจากนี้แรงกดดันทางวัฒนธรรมและสังคมการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนอาจรู้สึกโดดเดี่ยวหากขัดต่อนิสัยกระแสหลักของคนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นความคาดหวังทางสังคม ภาพและการรับรู้
ข้อจํากัดของพื้นที่ พื้นที่จํากัดในอพาร์ตเมนต์หรือบ้านในเมืองทําให้ยากต่อการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ เช่น การทําปุ๋ยหมัก การทําสวน หรือการจัดเก็บสิ่งของที่นํากลับมาใช้ใหม่ได้ รวมถึงระบบสนับสนุนที่ไม่สอดคล้องกัน โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะอาจไม่สนับสนุนความยั่งยืนอย่างเต็มที่ เช่น ขาดเลนจักรยาน โครงการรีไซเคิลไม่เพียงพอ หรือระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่มีประสิทธิภาพ
แต่ก็ยังมีเรื่องที่ดี ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่มากมายรวมถึงการปรับตัวเพื่อสิ่งแวดล้อมและอยู่ร่วมกับระบบนิเวศอย่างยั่งยืนต่อไป