ถึงเวลาเปลี่ยนครั้งใหญ่ 'ซ่อมแซมฐานราก' ประเทศดีกว่าเดิม
การปรับเปลี่ยนพัฒนาประเทศนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐเพียงอย่างเดียว ยังมีภาคเอกชนที่มีความสำคัญ ในเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม ระบบราชการ และความมั่นคงโดยทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวในงาน THAILAND NEXT เปลี่ยนใหญ่ ประเทศไทย จาก “THE GREAT DISRUPTION” สู่ “THE GREAT TRANSITION” ว่า ปัจจุบันประเทศเปลี่ยนครั้งใหญ่ในประเทศ
“ความจริงนั้นบ้านของเราเริ่มเก่า ประเทศเพื่อนต่างๆ เริ่มแซงไทยไปข้างหน้า ซึ่งเป็นปัญหาระยะยาว อย่างเรื่องเศรษฐกิจไทยโตไม่คงที่อยู่ที่ 2-3% ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านโตขึ้นมากถึง 5-6% โดยโรงงานต่างๆ ทยอยปิด ผลสอบของเด็กไทยด้อยลง ในขณะที่ฐานรากภาคเกษตรกรต้องมีรัฐบาลช่วย และเกิดหนี้เป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้มีทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมทำให้ประเทศไทยเสื่อมถอยในอัตราที่เร่งเร็วขึ้นจากโลกที่เปลี่ยนเร็ว โดยเปลี่ยนจากเบอร์ 1 อาจร่วงหายไปเลยก็ได้ จึงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้ทันยุคสมัย ในตอนนี้โลกมีการเปลี่ยนครั้งใหญ่ ไทยยังมีความลังเล และยังไม่ตัดสินใจในหลายเรื่อง ดังนั้นเอกชนต้องทำเลยไม่ต้องรอรัฐบาล และจะเติบโตได้ด้วยมือของเราเอง
ทั้งนี้การเปลี่ยนใหญ่ของไทยต้องทำให้สำเร็จ เพื่อพร้อมรับมือ และหยิบฉวยโอกาสจาก The Great Disruption ที่กำลังเกิดขึ้น โดยการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจแห่งอนาคตมุ่งสู่อุตสาหกรรม 5.0 นำ AI มาประยุกต์ใช้ในการผลิต การให้บริการ การตลาด และการทำธุรกิจ รวมทั้งปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็น Low Carbon
ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันซ่อมแซมฐานรากของประเทศ” ในฐานะของเอกชนมีมุมมองยังไงกับปัญหาดังนี้
1.ความพร้อมศักยภาพของคน ในเหตุการณ์อยู่ที่ธรรมชาติว่าเรามีความพร้อม และรับมืออย่างไร คนไทยมีทักษะไม่ได้แพ้ใครแต่มวลรวมทั้งประเทศยังสู้ต่างประเทศไม่ได้ เช่น ขีดความสามารถในเอกชนที่กำลังจะรวมตัวกันในมิติการพัฒนาความยั่งยืน
2.มนุษย์เป็นผู้สร้าง และทำลายตนเอง เหมือนในบริบทของไทย ซึ่งภาคเอกชนมองเห็นความท้าทายว่าการรวมตัวน้อยไป ยังสู่คนอื่นไม่ได้ จึงต้องมีการรวมกำลังให้มากกว่านี้ ซึ่งไปต่างประเทศได้หลายประเทศ เช่น ไทยเบฟเวอเรจ ขยับขยายสู่ภูมิภาคได้เต็มกำลัง ในขณะเดียวกันทางรัฐบาลมีผู้ที่มีความรู้มากมาย ต้องลงมือทำ และฝึกฝนด้วยตัวเอง อยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้ระดับฐานรากของประเทศนั้น สามารถสร้างการปรับเปลี่ยนได้มากมาย จึงต้องมีการรวมพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและมิติสังคม โดยสรุปแล้วการทำงานแบบเดี่ยวเอกชนไม่แพ้ใคร แต่รวมกันต้องมีพลังจึงสามารถไปสู้กับต่างประเทศได้ และเอกชนกำลังฝึกฝน และสร้างประสิทธิภาพการเป็นผู้นำให้แก่คนรุ่นใหม่ได้อย่างยั่งยืน
ส่วนอุตสาหกรรมใหม่และธุรกิจใหม่ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น ในช่วงรอยต่อที่ไทยกำลังก้าวไปสู่อุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต โดยเฉพาะ Industry 5.0 และการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องเร่งส่งเสริมต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน และเป็นผู้นำของโลกในช่วงที่ผ่านมา
ดร.ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการ ก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า เศรษฐกิจสีเขียวเป็นประเด็นที่คนไทยต้องสนใจ เพราะภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องจริง และคนยังไม่รู้ว่าต้องทำอะไร
สำหรับไทยต้องปรับตัวจากภาวะโลกร้อน เช่น ความร้อน แล้ง และน้ำท่วม มีความถี่ที่มากขึ้นทุกวัน และภัยพิบัติเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศต้องรับมือทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกัน อย่างระบบคาดการณ์ภูมิอากาศ การวางผังเมืองรับน้ำ ต้องรวมกันทุกภาคส่วนไม่ใช่แค่ภาครัฐ อย่าปัดความรับผิดชอบ ต้องนำความรู้ ความสามารถที่มีมาช่วยกันเพื่อความยั่งยืนทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
นอกจากนี้ยังต้องจัดระเบียบโครงสร้างใหม่ กฎหมาย ทั้งระบบ ต้องมีความรู้รวมถึงการศึกษาในการกระจายความรู้ ในเรื่องของ Low Carbon ต้องแก้ปัญหาด้วยสาเหตุในการลดก๊าซสู่บรรยากาศ และมีเรื่องของการรับรู้ของคน โดยต้องเปลี่ยนความคิดในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช้ประเด็นแค่สิ่งแวดล้อมแต่เกี่ยวกับทุกภาคส่วนในประเทศ ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
1.โดยเปลี่ยนโครงสร้างพลังงานไปสู่พลังงานทดแทน และหมุนเวียน 2.เปลี่ยนกฎหมาย โดยสร้าง พ.ร.บ. โลกร้อน ในไทย ภาษีคาร์บอน ร่างการบังคับรายงานเปิดเผย 3.เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ โดยแรงจูงใจ ในการสร้างป่า การลดภาษี จึงจะสามารถรักษาป่าได้อย่างยั่งยืนได้
พลอากาศตรี จักรกฤษณ์ ธรรมวิชัย รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศกองทัพอากาศ กล่าวว่า ปัจจุบันไม่สามารถรองรับภัยคุกคามได้ทันถ่วงที โดยประเทศเรียนรู้รับทราบเหตุการณ์แต่ไม่เคยต่อยอด
"ระบบราชการเกิดความไม่ต่อเนื่องในทุกๆ ที่ ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์ในสถานการณ์นั้นได้ทันท่วงที นอกจากนี้ประเทศไทยต้องมีการต่อยอดเพื่อเตรียมรับมือแก้ปัญหาในอนาคตได้ โดยการร่วมมือร่วมกันเสริมสร้างระบบต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพด้วยการคิดร่วมกัน"
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์