‘การร่วมมือ’ ในทุกภาคส่วน เป็นสาระสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต

‘การร่วมมือ’ ในทุกภาคส่วน เป็นสาระสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต

ความรวมมือและการเรียนรู้รับฟังในทุกๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลและเอกชนเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตที่ยั่งยืน

ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน ) กล่าวบนเวทีเสวนา CEO Panel ในวันที่ 4 ตุลาคม 2024 หัวข้อ "วิสัยทัศน์ 2030: พลังความร่วมมือสู่อนาคตยั่งยืน" ภายในงาน SX2024 หรือ Sustainability Expo 2024 ว่า ในปัจจุบันประชากรโลกเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ มีการใช้โดยไม่สิ้นสุด และยังมีเรื่องของ Extreme Weather ทำให้เส้นศูนย์สูตร และน้ำร้อนและน้ำเย็นแปรปวน ทุกคนประสบปัญหากันทุกคน อุณหภูมิเพิ่มขึ้น รวมถึงน้ำแข็งที่ละลาย รวมถึงด้านความมั่นคงทางอาหาร โดยสิ่งสำคัญนั้นคือการเตรียมองค์ความรู้ให้ทุกภาคส่วนให้ทุกคนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มันคือการเชื่อมโยงกันทั้งหมดจึงจะเกิดความยั่งยืนได้

ในส่วนของภาคธุรกิจนั้นในมิติที่เรียบง่ายด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมนั้น ภาคเอกชนต้องตระหนักและมีการร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก มีความสำคัญทุกคน ไม่เว้นแต่ SMEs ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของห่วงโว่อุปทาน ทั้งนี้ยังให้ความสำคัญกับความรวมมือและการเรียนรู้รับฟังในทุกๆฝ่าย ซึ่งผู้ประกอบการใหญ่มีโอกาสได้รู้ข้อกำหนดบังคับมากมายต้องมีการพูดคุยมากขึ้น

ภายใน 4 ปีที่ผ่านมา ในวันนี้ภาคเอกชนมีการรวมตัวจากองค์กรได้อย่างเหนี่ยวแน่และมีมิติที่คลายกันมากขึ้น แต่ยังไม่ได้ทำพร้อมกัน ถ้าทำร่วมกันจะเกิดพลังมหาศาลในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน  โดยเน้นศึกษา และต่อยอด หรือการใช้โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมาย ของการพัฒนาความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของคนทุกคน

‘การร่วมมือ’ ในทุกภาคส่วน เป็นสาระสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต

โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาความยั่งยืนครอบคลุมในทุกมิติ ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของไทยเบฟมีเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนให้บรรลุ เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ทั้งทางตรง (ขอบเขตที่ 1) และทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) ภายในปี 2583

กลยุทธ์นี้จะช่วยให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นในธุรกิจ ปกป้องสิ่งแวดล้อม สนับสนุนชุมชน ท้องถิ่นและยกระดับธรรมาภิบาล ตามเป้าหมายทางกลยุทธ์ นอกจากนี้ยังมี กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน 5 P ได้แก่ Planet  People  Prosperity Partnership  Peace ที่ทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ทุกฝ่ายต้องมีการช่วยเหลือกัน ภาครัฐมีข้อมูลที่มีความจำเป็น และผู้ประกอบการมีส่วนในการสะท้อนข้อเท็จจริงจะช่วยสร้างความคล่องตัวและเกิดประโยชน์ในสังคม ต้องมีส่วนช่วยเสริมและสนับสนุน เหลือรวมถึงทุกๆฝ่าย ซึ่งเป้นความท้าทายในทุกมิติ เอกชนต้องฟังเสียงพนักงาน รัฐบาลโต้องฟังเสียงผู้ประกอบการ จึงจะเกิดความสมดุลและความยั่งยืนที่ดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เวทีเสวนา CEO Panel นี้ ยังมีผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรชั้นนำอีก 3 องค์กรขึ้นเวทีร่วมแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ในการนำแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนมาปรับใช้ในภาคธุรกิจ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนอย่างแท้จริง ได้แก่ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG และ ธีรพงศ์ จัน ศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย ยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

‘การร่วมมือ’ ในทุกภาคส่วน เป็นสาระสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต

‘การร่วมมือ’ ในทุกภาคส่วน เป็นสาระสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต