ความยั่งยืนเป็นเรื่องของ 'การอยู่รอด' ของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต

ความยั่งยืนเป็นเรื่องของ 'การอยู่รอด' ของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบในหลายมิติ ไม่เพียงแต่ สภาพแวดล้อมเท่านั้น ยังมีเรื่องของ การใช้แรงงานไม่ถูกต้อง การประมงผิดกฎหมายในการให้ความสำคัญอีกด้วย

ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวในงาน วิสัยทัศน์ 2030 พลังความร่วมมือ สู่อนาคตที่ยั่งยืน ว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องของการอยู่รอด ไว่ว่าจะเป็นการใช้แรงงานไม่ถูกต้อง การประมงผิดกฎหมาย  โดยไทยยูเนี่ยนมีกลยุทธ์ SeaChange จะยังคงช่วยสนับสนุนเป้าหมายองค์กร “Healthy Living, Healthy Oceans” และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในวงกว้างในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ผ่านการขับเคลื่อนโครงงานหลัก 4 ด้าน คือ แรงงานปลอดภัยและถูกกฎหมาย การจัดหาวัตถุดิบด้วยความรับผิดชอบ การดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบ และผู้คนและชุมชน

นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อผู้คนบนโลก ฟื้นฟู  ปกป้องชุมชน  และปกป้องระบบนิเวศ ดังนี้

1.สิทธิแรงงานและมนุษยชน แรงงานได้รับค่าจ้างและ สวัสดิการที่เป็นธรรม มีสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย

2.สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี  ยกระดับสุขภาพของประชากรโลกและส่งมอบทรัพยากรสำคัญให้ผู้ที่ขาดแคลน

3. การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยดำเนินการเพื่อลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก

4.เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ปกป้องสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ

5.เศรษฐกิจหมุนเวียน อย่างการออกแบบและลดของเสีย

การดำเนินงานออกแบบมาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง เชิงบวกต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเล และความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากโครงการต่างๆ ของไทยยูเนี่ยนยังตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และสอดคล้องกับพันธสัญญาของบริษัทในฐานะภาคี UN Global Compact การดำเนินงานทั้งหมดนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ SeaChange® โดยไทยยูเนี่ยนจะเน้นไปที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ทุกเป้าหมาย แต่จะมุ่งเน้นไปที่ 3 เป้าหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในวงกว้าง

ความยั่งยืนเป็นเรื่องของ \'การอยู่รอด\' ของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต

เป้าหมายการลกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในระยะสั้น และระยะยาวให้สอดคล้องกับเป้าหมายการจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศา โดยมุ่งที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ลง 42 % ในขอบเขตที่ 1 กิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง, 2 กิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม และ 3 กิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม ตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร ภายในปี 2573 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 เพื่อเสริมสร้างความความยั่งยืนที่ดีตลอดไป

ความยั่งยืนเป็นเรื่องของ \'การอยู่รอด\' ของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต