ส่อง ‘ระบบขนส่งที่ยั่งยืน’ ใน ‘เอเชียแปซิฟิก’ ติดปัญหาอะไร ทำไมไม่คืบหน้า?

ส่อง ‘ระบบขนส่งที่ยั่งยืน’ ใน ‘เอเชียแปซิฟิก’ ติดปัญหาอะไร ทำไมไม่คืบหน้า?

แนวโน้มการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงภาคการขนส่งในเอเชียแปซิฟิก ไปสู่ระบบขนส่งที่ยั่งยืนยังคงมีความท้าทายหลายประการ

ด้วยทางหลวงและทางรถไฟที่เปิดใหม่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ช่วยให้ “เอเชียแปซิฟิก” เชื่อมต่อกันมากขึ้น ในขณะที่การนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการขนส่งสินค้าทางถนน ทางรถไฟ และทางทะเลอย่างต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของ “การพัฒนาระบบขนส่งที่ยั่งยืน” สร้างประโยชน์ต่อทุกคน ทำให้การขนส่งผู้คนและสินค้าปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเข้าถึงได้มากขึ้น ประเทศต่าง ๆ 

นอกจากนี้ “ระบบขนส่งที่ยั่งยืน” ยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น เพราะ การเปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ หรือแม้แต่เลือกที่จะเดิน หรือปั่นจักรยาน สามารถช่วยบรรเทาความเครียดจากปัญหารถติด ช่วยลดการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะส่วนตัว ลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุบนท้องถนน และอีกทั้งส่งเสริมการออกกำลังกายอีกด้วย

การเข้ามาของแอปพลิเคชันเรียกรถ (Ride-hailing) และ บริการแชร์รถ (Ride-sharing) ช่วยให้คนหันมาใช้บริการขนส่งมวลชนมากขึ้น เพราะผู้ใช้บริการสามารถเลือกรถและบริการได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล อีกทั้งช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงและลดปริมาณมลพิษทางอากาศ 

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืนเรื่อยมา โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งในภูมิภาค เพื่อตอบสนองความต้องการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันเอเชียแปซิฟิก มีทางหลวงประมาณ 145,000 กม. ทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย 121,000 กม. และท่าเรือ 275 แห่งครอบคลุมทุกพื้นที่ของภูมิภาคและเกือบ 99.7% ของประชากรทั้งหมด อีกทั้งภูมิภาคนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์ 10 แห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกและคิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้าทางทะเลทั่วโลก

นอกเหนือจากการนำโซลูชันการจราจรอัจฉริยะ (Smart Mobility) มาใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว ประเทศต่าง ๆ มุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยคาร์บอนในถนน ทางรถไฟ และการขนส่งทางทะเล โดยมีแผนที่จะเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งเป็นไฟฟ้า ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง และการใช้แหล่งเชื้อเพลิงที่สะอาด 

แม้จะมีแนวโน้มที่ดี แต่ก็ยังเต็มไปด้วยความท้าทาย คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ หรือ ESCAP เผยแพร่รายงาน “การทบทวนพัฒนาการด้านการขนส่งในเอเชียและแปซิฟิก 2024: การเปลี่ยนผ่านสู่แนวทางแก้ปัญหาด้านการขนส่งที่ยั่งยืน” แสดงให้เห็น ถึงแนวโน้มสำหรับการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงภาคการขนส่งในเอเชียและแปซิฟิก 

แนวโน้มแรก คือ ภูมิภาคนี้มีการใช้ยานยนต์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยอัตราการใช้ยานยนต์เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 64% ระหว่างปี 2010-2022 โดยประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดในด้านนี้ ส่งผลให้มีการใช้การขนส่งทางถนนมากกว่าการขนส่งระบบรางมากกว่า 3 เท่า ขณะที่การสัญจรทางเลือกที่ไม่บริโภคพลังงานเชื้อเพลิง (Active Mobility) เช่น การเดิน ปั่นจักรยาน เพิ่มขึ้นเพียง 4% ในช่วงระหว่างปี 2015-2020

แม้ว่าการขนส่งทางทะเลจะยังคงมีสัดส่วนสูงสุดของความต้องการขนส่งสินค้าทั้งหมด แต่การขนส่งสินค้าทางบกและทางรถไฟ เพิ่มขึ้นเกือบ 20% และ 15% ตามลำดับ ในช่วงระหว่างปี 2015-2020 ส่งผลให้มีโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางถนนเพิ่มขึ้น มากกว่า 50% ระหว่างปี 2005-2019 และมากกว่าโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งประเภทอื่น ๆ

เอเชียแปซิฟิกพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งในภูมิภาค เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการขนส่งสินค้า ปัจจุบันเอเชียแปซิฟิก มีทางหลวงสายเอเชียประมาณ 145,000 กม. ทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย 121,000 กม. และท่าเรือ 275 แห่งครอบคลุมทุกพื้นที่ของภูมิภาคและเกือบ 99.7% ของประชากรทั้งหมด อีกทั้งภูมิภาคนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์ 10 แห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกและคิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้าทางทะเลทั่วโลก

นอกจากนี้ แต่ละประเทศมีการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้น ในอัตราที่แตกต่างกันทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยทั่วไปแล้วจะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของประชากรในประเทศส่วนใหญ่ แต่ในบางประเทศกลับมีอัตราการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นเร็วกว่าการเติบโตของประชากร 

แม้จะมีการใช้ถนนเพิ่มมากขึ้น แต่การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนโดยรวมลดลง ซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่มีอายุต่ำกว่า 64 ปีมีจำนวนลดลง ตั้งแต่ปี 2000-2019 แต่จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไปกลับเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป 

ความเท่าเทียมทางเพศเป็นอีกหนึ่งประเด็นในด้านความยั่งยืน แต่ประเด็นนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข ยังคงมีช่องว่างทางเพศมีอยู่จริงในแรงงานด้านการขนส่ง โดยพบว่า ในปี 2022 มีผู้หญิงเป็นแรงงานด้านการขนส่งในภูมิภาคเพียงประมาณ 16% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเล็กน้อย

ในปี 2024 ภาค การขนส่งของเอเชียแปซิฟิก ปล่อยคาร์บอนเพิ่มจากปี 2023 ถึง 6.6% ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในทุกภาคส่วนและทุกภูมิภาค โดยแตะระดับ 12% ของการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดของภูมิภาคนี้ และคิดเป็น 40% ของการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งทั่วโลก ทำให้การขนส่งกลายเป็นแหล่งปล่อยคาร์บอนที่เติบโตเร็วเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากพลังงาน ซึ่งเป็นปริมาณเท่ากับเท่าการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งของยุโรปและอเมริกาเหนือรวมกัน แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของเอเชียในการดำเนินการด้านสภาพอากาศของโลก

เอเชียแปซิฟิกจะเป็นภูมิภาคที่ภาคการขนส่งจะเติบโตมากขึ้น เพราะมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็ง อีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว และความต้องการใช้รถยนต์ส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก 

อีกทั้ง อาจทำให้ระบบขนส่งในเมืองที่ไม่ได้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอเกิดปัญหาการขนส่งระหว่างประเทศล่าช้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก

การจราจรอัจฉริยะและกลยุทธ์เน็ตซีโร่ของภูมิภาคยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งเป็นผลมาจากแต่ละประเทศมีระดับเทคโนโลยีที่ไม่เท่าเทียมกัน และการบรรลุเป้าหมายการขนส่งคาร์บอนต่ำไม่เท่ากัน 

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของรัฐบาลแต่ละประเทศได้ประชุมกันในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน และประเมินความสำเร็จและความท้าทายเหล่านี้ภายในกรอบโครงการปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อการพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งในหลายประเด็นจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือกันในระดับภูมิภาค ถึงจะประสบความสำเร็จได้ เช่น การลดการปล่อยคาร์บอนของภาคการขนส่ง ในขณะเดียวกัน การนวัตกรรมการขนส่งให้เกิดประโยชน์ง เช่น การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ จะบรรลุผลได้อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อมีการนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลาย

 

ที่มา: EarthUNESCAPWorld Economic Forum