อบก. ชี้ 'คาร์บอนเครดิตเพื่อผลกำไร' ต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค

อบก. ชี้ 'คาร์บอนเครดิตเพื่อผลกำไร' ต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค

คาร์บอนเครดิตเพื่อเพิ่มผลกำไรนั้น ต้องตอบโจทย์ความต้องการของตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งผู้ซื้อต้องการคาร์บอนเครดิตที่คุณภาพสูง สามารถตรวจสอบได้ มีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และถาวร ซึ่งกำไรนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ต้นทุนโครงการ การรับรอง และราคาตลาด

อโณทัย สังข์ทอง ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารและทะเบียนคาร์บอนเครดิตองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวในงาน Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business ช่วงสัมมนา "Carbon Market" Green Solution for All  จัดโดย 'กรุงเทพธุรกิจ' ว่า ตลาดคาร์บอนมีสินค้า ซื้อขายแลกเปลี่ยน มีการซื้อขาย 2 ประเภท 1. คาร์บอนเครดิตเกิดจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ 2.สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นมาตราการภาคบังคับจากภาครัฐจะจัดการกับผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะแต่เพียงเท่านั้น

การจะขายยังไงได้กำไรนั้น คาร์บอนเครดิตคือผลพลอยได้จากการทำโครงการจากการลดต้นทุนจากการจัดการพลังงานและการจัดการของเสีย แต่การทำคาร์บอนเครดิตนั้นมีค่าใช้จ่ายในการตรวจวัด ทวนสอบ รวมไปถึงราคาคาร์บอนเครดิตในตลาดปัจจุบันว่าคุ้มค่าหรือไม่ ต้องดูตลาดว่าตอบโจทย์ผู้ซื้อหรือไม่ จะต้องเป็นคาร์บอนเครดิตถาวรมีการตรวจสอบได้ มีที่มาที่ไปอย่างโปร่งใส

อบก. ชี้ \'คาร์บอนเครดิตเพื่อผลกำไร\' ต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค

นอกจากนี้ความคุ้มค่าโครงการคาร์บอนเครดิตขึ้นอยู่กับโครงการต่างๆ การได้รับคาร์บอนเครดิตเป็นผลประโยชน์เพิ่มเติมแต่มีต้นทุนการวัดรายงานและตรวจสอบ ควรวิเคราะห์ความคุ้มค่าโดยเปรียบเทียบต้นทุนกับราคาตลาดคาร์บอนเครดิตก่อนตัดสินใจลงทุน และต้องตอบโจทย์ความต้องการของตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งผู้ซื้อต้องการคาร์บอนเครดิตคุณภาพสูง ตรวจสอบได้ โปร่งใส น่าเชื่อถือ และถาวร การได้กำไรนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ต้นทุนโครงการ การรับรอง และราคาตลาด

นอกจากนี้ยังเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย มีแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30% ภายในปี  2573  และอาจเพิ่มเป็น 40% หากได้รับการสนับสนุน

ปัจจุบันแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ยังไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจน

ในส่วนของการซื้อขายวัคซีนและคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ มีการอนุญาตให้มีการซื้อขายวัคซีนระหว่างประเทศภายใต้ข้อตกลง ส่งเสริมโครงการคาร์บอนเครดิตตามมาตรฐานระดับโลก (Verra, Gold Standard) รวมถึงการดำเนินการตามมาตรฐาน Premium รับรองคุณภาพสูงและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

 

ทั้งนี้ยังมีกลยุทธ์ส่งเสริมโครงการคาร์บอนเครดิตซึ่งเน้นความน่าเชื่อถือและการทำงานร่วมกันของโครงการคาร์บอนเครดิต มีโครงการรองเพียง 4 โครงการสำหรับ Premium T-ver เป็นนโยบายส่งเสริมเปลี่ยนจากสมัครใจเป็นภาคบังคับ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ยังมี ร่างพระราชบัญญัติฯ มีมาตรการบังคับนิติบุคคลรายงานข้อมูล และกำหนดเพดานแรงงานสำหรับนิติบุคคลที่ผ่อนชำระหนี้  พร้อมสิทธิโอนหนี้ให้กับนิติบุคคลในระบบอนุญาต และส่งเสริมการลดการผ่อนชำระหนี้โดยสมัครใจ  และอนุญาตให้โอนหนี้ไปยังโรงงานที่ไม่สามารถลดได้

ซึ่งกลไกตลาดคาร์บอนเครดิตชุมชน โดยโครงการชุมชนในจังหวัดลพบุรีขายคาร์บอนเครดิตได้ราคา 500 บาทต่อตัน เทียบเท่าโครงการต่างประเทศ ซึ่งวิสาหกิจชุมชนในลพบุรีขายคาร์บอนเครดิตได้ราคา 200 บาทต่อตัน รวมถึงส่งเสริมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจต้องขยับไปสู่ภาคบังคับควบคู่กับการสมัครใจ เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนและเกษตรกรเข้าร่วมเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนต่อไป 

อบก. ชี้ \'คาร์บอนเครดิตเพื่อผลกำไร\' ต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค