‘การเปลี่ยนผ่านพลังงานสีเขียว’ ทำได้จริง เร่งพัฒนาบุคลากร ให้ทันเทคโนโลยี

‘การเปลี่ยนผ่านพลังงานสีเขียว’ ทำได้จริง เร่งพัฒนาบุคลากร ให้ทันเทคโนโลยี

“การเปลี่ยนผ่านพลังงานสีเขียว” สามารถทำได้จริง แต่จำเป็นต้องเร่งพัฒนาบุคลากร ให้ทันเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

“Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business” ของกรุงเทพธุรกิจ ระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคม 2567 ณ พารากอน ฮอลล์ ในการ “การเปลี่ยนผ่านพลังงานสีเขียว” (Green Energy Transition) โดยในงานนี้ได้ ไซมอน ฮอร์ จาก Enlit Asia มาเป็นผู้ดำเนินรายการ พูดคุยกับ นิวัฒน์ ธัญปิตินันทน์ อุปนายกต่างประเทศสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย และ เจอริน ราช ผู้อำนวยการบริษัท  Black & Veatch ประจำเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน

ในฐานะวิศวกรที่คร่ำหวอดในการให้คำปรึกษาด้านการจัดการโครงการ นิวัฒน์กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานส่งผลต่อการให้คำปรึกษาโครงการต่าง ๆ อย่างมาก เพราะเมื่อต้องให้คำปรึกษากับธุรกิจใด ๆ จำเป็นต้องมีความรู้เชิงลึกในด้านนั้น ๆ 

“เราต้องก้าวนำลูกค้าอย่างน้อยหนึ่งก้าว เราต้องกระตือรือร้นตลอดเวลา เพื่อให้แน่ใจว่าเรารู้จักพลังงานสะอาดทุกประเภทที่มีในปัจจุบัน”

“เนื่องด้วยพลังงานสะอาดเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงมากมาย และในฐานะวิศวกร เราจึงจำเป็นต้องบูรณาการความรู้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ไม่สามารถใช้ความรู้ทางวิศวกรเพียงสาขาเดียวแนะนำเกี่ยวกับข้อมูลพลังงานได้ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ยากที่สุด”

‘การเปลี่ยนผ่านพลังงานสีเขียว’ ทำได้จริง เร่งพัฒนาบุคลากร ให้ทันเทคโนโลยี

เนื่องจากตอนนี้โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถและมีศักยภาพ นิวัฒน์ระบุว่า ระบบการศึกษาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ตามการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้ให้ทัน และจำเป็นต้องบูรณาการความรู้เข้าด้วยกัน เพราะเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้คนรุ่นใหม่ทุกคนพร้อมจะพัฒนานวัตกรรมเพื่อประเทศ  โดยเฉพาะด้านพลังงาน ที่จำเป็นจะต้องทำงานเป็นทีมร่วมกับสาขาวิชาอื่น ๆ 

ไม่ใช่แค่สถาบันการศึกษาเท่านั้นที่ต้องพัฒนา แต่บริษัท องค์กร และสมาคม จำเป็นต้องสนับสนุนและเปิดการอบรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้วยเช่นกัน

‘การเปลี่ยนผ่านพลังงานสีเขียว’ ทำได้จริง เร่งพัฒนาบุคลากร ให้ทันเทคโนโลยี

นอกจากนี้ การจัดการวิศวกรรมที่ยั่งยืนจะช่วยเร่งการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนและเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ได้ แต่ก่อนที่ไปถึงขั้นนั้น จำเป็นต้องมีกระบวนการวางแผนระยะยาว มีงบประมาณที่เพียงพอ และการออกแบบที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ที่สำคัญเราจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน 

การเปลี่ยนผ่านจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย มักจะมีปัญหาที่เราต้องเรียนรู้และแก้ไขเสมอ โดยเฉพาะความเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดว่าเห็นด้วยหรือไม่กับตัดสินใจเปลี่ยนแปลง ดังนั้นนิวัฒน์จึงสนับสนุนให้ทุกคนแสดงความเห็น

“คุณยังต้องเรียนรู้ รีสกิล อัปสกิลตลอดเวลา ดังนั้นผมจึงอยากให้ทุกคนแชร์แนวคิดกัน เหมือนกับที่เรากำลังแบ่งปันอยู่ตอนนี้ ไม่เช่นนั้นคนที่มีหน้าที่ตัดสินใจจะไม่รู้ว่าอะไรเป็นทางออกที่ดีที่สุด หรือควรตัดสินใจอย่างไร ดังนั้นเราต้องการเสียงของทุกคนจริง ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนผ่าน”

‘การเปลี่ยนผ่านพลังงานสีเขียว’ ทำได้จริง เร่งพัฒนาบุคลากร ให้ทันเทคโนโลยี