ระบบระหว่างประเทศที่ไม่แน่นอน: นโยบายสิ่งแวดล้อมในเงาแห่งความขัดแย้ง

ระบบระหว่างประเทศที่ไม่แน่นอน: นโยบายสิ่งแวดล้อมในเงาแห่งความขัดแย้ง

ในยุคที่โลกเผชิญกับความไม่แน่นอน ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลก รวมถึงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนความสมดุลของอำนาจโลก

ดูเหมือนว่าความท้าทายที่แท้จริงจะไม่ใช่แค่การเผชิญหน้ากับความขัดแย้งมากกว่าระดับภูมิภาค หรือ ประเทศรอบบ้าน แต่หมายถึงการข้ามทวีป แม้ว่ายังไม่มีความชัดเจนว่าการค้าระหว่างประเทศจะมุ่งสู่การลดลงหรือขยายตัวในรูปแบบใด  แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ บทบาทสำคัญของนโยบายสิ่งแวดล้อมที่ถูกใช้เป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier: เอ็นทีบี)

โดยนโยบายสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจอย่างที่ สหภาพยุโรป (อียู) ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2026 ด้วยเป้าหมายการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสินค้านำเข้า โดยคิดภาษีคาร์บอนตามปริมาณการปล่อยก๊าซในกระบวนการผลิต  หรือ นโยบาย Carbon Border Adjustment Mechanism (ซีแบม)

การใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะเริ่มมีบทบาทสำคัญในเวทีการค้าโลกในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษในระดับสากลเกิดขึ้นเมื่อปี 2535 ที่ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ หรือ ที่เรียกว่า ปฏิญญาริโอ (Rio Declaration) และอีก 5 ปีต่อมีการลงสนธิสัญญา พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ปี 2540 แต่ความที่ท้าทายที่สำคัญของมาตรการ ซีแบม นั้นคือ ความพร้อมในการรับมือ  เพราะ ซีแบมไม่ได้เป็นเพียงมาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่เป็นมาตรการที่ส่งผลกระทบเชิงเศรษฐกิจโดยตรง ซึ่งกำหนดให้สินค้านำเข้าบางประเภท เช่น เหล็ก ซีเมนต์ ปุ๋ย และอลูมิเนียม ต้องเสียค่าธรรมเนียมคาร์บอนตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต  หน่วยภาครัฐและเอกชนต่างก็ตื่นตัวกับมาตรการ ซีแบม และได้เตรียมการรับมือ  

 

การวัดว่าแต่ละประเทศมีความพยายามในการผลักดันนโยบายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากน้อยเพียงไหน สามารถดูได้จากตัวดัชนีชี้วัดที่เราเอาจะไม่คุ้นชินอย่าง Green Future Index (จีเอฟไอ) ที่จัดทำโดย MIT Technology Review Insights  ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินหลัก 5 ด้าน ได้แก่ การปล่อยก๊าซคาร์บอน การเปลี่ยนผ่านพลังงาน สังคมสีเขียว นวัตกรรมสะอาด และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัดนี้ได้จัดทำข้อมูลทั้งหมด 76 ประเทศ จุดเด่นและความน่าสนใจของตัวชีวัดคือ การที่เน้นความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจและการลดคาร์บอนที่ไม่ได้วัดเพียงแค่ผลลัพธ์เชิงสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่จะวัดเชิงระยะยาวที่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและนโยบายของประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความยั่งยืน รวมถึงการให้ความสำคัญการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ เช่น การลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีสะอาด โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมที่จะมีผลต่อการลดคาร์บอนในอนาคต  

เมื่อเราจัดอับดับและเปรียบตัวดัชนีชี้วัดใน Green Future Index 2023 ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 55 จาก 76 ประเทศ เราอาจจะพูดได้ว่าความก้าวหน้าของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสีเขียวของเรายังตามหลังหลายประเทศ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีรายละเอียดดังนี้:

ประเทศ

อันดับ

จุดเด่นของประเทศ

สิงคโปร์

32

เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน

ฟิลิปปินส์

44

มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานพลังงานหมุนเวียน

อินโดนีเซีย

49

เด่นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนผ่านการฟื้นฟูป่า

เวียดนาม

53

มีการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนจากนโยบายรัฐบาล

ไทย

55

แผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพพลังงาน

มาเลเซีย

68

มีโครงการด้านพลังงานสะอาดแต่ยังพึ่งพาก๊าซธรรมชาติสูง

 

จากตารางจะเห็นได้ว่า ไทยมีอันดับใกล้เคียงกับเวียดนามและอินโดนีเซีย แต่ยังตามหลังสิงคโปร์และฟิลิปปินส์ในด้านนโยบายและการลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว และในส่วนของการประเมินความพร้อมในการรับมือ ซีแบม ประเทศไทยถูกจัดลำดับที่อยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงต่ำ แต่เวียดนามจะอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งนับได้ว่ายังใกล้เคียงกับเรา

          อย่างไรก็ดี ดัชนี จีเอฟไอ มีจุดเด่นที่มีการวัดระยะยาวที่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีสะอาด แต่การพิจารณาดัชนีตัวอื่นก็สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นเราควรพิจารณาดัชนีตัวอื่นด้วย เพื่อให้เห็นภาพรวมได้กว้าง ลึก และชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ดัชนี Environmental Performance Index (อีพีไอ) ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยเยลและโคลัมเบีย หรือ Climate Change Performance Index (ซีซีพีไอ)

          จากหลายดัชนีชี้วัดทางด้านสิ่งแวดล้อมประเทศไทยยังต้องได้รับการพัฒนาและสนับสนุน และเร่งปรับตัว ทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อลดผลกระทบจาก เอ็นทีบี ประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ อียู เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดสากลได้อย่างยั่งยืน ประเทศไทยควรใช้โอกาสนี้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวเพราะจะมีมาตรการเกี่ยวกับข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ