‘อายิโนะโมะโต๊ะ’ พิชิตเป้าความยั่งยืนด้วย ‘วัฏจักรอาหารยั่งยืน’ 

‘อายิโนะโมะโต๊ะ’ พิชิตเป้าความยั่งยืนด้วย ‘วัฏจักรอาหารยั่งยืน’ 

บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศแผนงานด้านความยั่งยืนประจำปี 2568 เน้นหลัก “วัฏจักรอาหารยั่งยืน”

บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศแผนงานด้านความยั่งยืนประจำปี 2568 เน้นหลัก “วัฏจักรอาหารยั่งยืน” สร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนใน 4 มิติ พร้อมเดินหน้าลดคาร์บอนและการตรวจสอบได้อย่างเป็นระบบ ยกระดับโครงการ “Thai Farmer Better Life Partner” ด้วยการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่กาแฟ ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความ “กินดี มีสุข” แก่สังคมและเกษตรกรไทย 

นายสมิชฌน์ เพ็ชร์ดี ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมความยั่งยืน บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หัวใจสำคัญของอายิโนะโมะโต๊ะ คือ “การสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจอาหาร” โดยมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจให้เติบโต ผ่านการใช้องค์ความรู้ด้าน “AminoScience” มาสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาหาร ที่โดดเด่นด้วยรสชาติอร่อย มีโภชนาการที่ดี ควบคู่ไปกับการดำเนินการที่ลดผลกระทบ พร้อมช่วยฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อม 

เป้าหมายหลักของอายิโนะโมะโต๊ะในปี 2568 จะโฟกัสไปที่ “วัฏจักรอาหารยั่งยืน” ที่มุ่งเน้นไปที่ 4 มิติหลัก ได้แก่ การจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้พลาสติก และการลดขยะอาหาร ควบคู่ไปกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาช่วยผลักดันให้เกิดความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป โดยในแต่ละด้านมีดังต่อไปนี้

1. การจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างให้เกิดระบบการจัดซื้อวัตถุดิบแบบหมุนเวียนและยั่งยืน บริษัทตั้งเป้าหมายในการบรรลุผลสำเร็จให้ได้ 75% ภายในปี 2568 โดยมุ่งเน้นเรื่องการติดตามและทำการตรวจสอบกลับได้ รวมถึงการจัดหาวัตถุดิบที่ยั่งยืน และไม่ไปรุกล้ำระบบนิเวศหรือรบกวนสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทจะรับซื้อเมล็ดกาแฟจากไร่ที่มีคุณภาพตาม “หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)” กับกรมส่งเสริมการเกษตร

‘อายิโนะโมะโต๊ะ’ พิชิตเป้าความยั่งยืนด้วย ‘วัฏจักรอาหารยั่งยืน’ 

2. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทดำเนินงานตามแนวทาง Ajinomoto Bio-cycle ที่เป็นกลไกความร่วมมือกับภูมิภาคท้องถิ่นในการสร้างกระบวนการจัดการการผลิตและการเกษตรอย่างยั่งยืน ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โรงงานการผลิตทั้งหมด 7 แห่งเป็นโรงงานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้นำหลัก 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) มาใช้ในการจัดการภายในโรงงาน 

ในปี 2568 อายิโนะโมะโต๊ะตั้งเป้าตรวจสอบรอยเท้าคาร์บอนที่เกิดขึ้นทั้งหมด พร้อมทั้งร่วมมือกับพันธมิตรคู่ค้าเพื่อการดำเนินงานลดคาร์บอนอย่างต่อเนื่อง

3. ลดการใช้พลาสติก บริษัทมุ่งเน้นการลดพลาสติกในบรรจุภัณฑ์ ด้วยการลดการใช้พลาสติกใหม่ และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ อีกทั้งยังส่งเสริมการรีไซเคิลอย่างเป็นรูปธรรม 

4. การลดขยะอาหาร ปัจจุบัน 6 โรงงานของอายิโนะโมะโต๊ะสามารถพิชิตเป้าหมายการลดขยะอาหารได้ 100% ส่วนโรงงานเบอร์ดี้สามารถลดขยะอาหารได้สำเร็จ 82% ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมมือกับชุมชนข้างเคียงรอบพื้นที่โรงงานเพื่อส่งเสริมเรื่องการลดขยะอาหาร ด้วยการนำเอาวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิต “รสดี” และ “เบอร์ดี้” ไปทำอาหารสัตว์หรือปุ๋ยแจกจ่ายตามชุมชน 

สำหรับการดำเนินงานเพื่อช่วยลดขยะอาหารในบริบทของครัวเรือน บริษัทผลักดันโครงการ “Too Good To Waste กินหมดลดโลกร้อน” ที่รณรงค์ให้ผู้บริโภคร่วมลดขยะอาหารผ่าน “สูตรอาหารรักษ์โลก” ที่อร่อยแล้วยังดีต่อโลก และแคมเปญการครีเอทเมนู “Too Good To Waste” ร่วมกับร้านอาหารชื่อดัง อาทิ ร้านเป็นลาว และร้านจิรกาล เพื่อหวังจุดประกายการลดขยะอาหารให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคไปพร้อม ๆ กัน

‘อายิโนะโมะโต๊ะ’ พิชิตเป้าความยั่งยืนด้วย ‘วัฏจักรอาหารยั่งยืน’ 

“บริษัทมีแผนที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยผลักดันให้เกิดความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างวัฏจักรอาหารยั่งยืนในอนาคตต่อไป” สมิชฌน์ กล่าวเสริม

ขณะที่ นายนพดล จิตรมั่น ผู้จัดการหน่วยงานผลิตและพัฒนา บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เอฟ ดี กรีน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “เราเป็นบริษัทต้นแบบทางธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่มีการดำเนินงานหลัก 2 ส่วนด้วยกัน คือ การเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ที่ได้จากกระบวนการผลิตมาพัฒนาเป็นปุ๋ยชีวภาพทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์สำหรับพืช และอาหารสำหรับสัตว์ โดยปีที่ผ่านมา สามารถสร้างการเติบโตของยอดขายได้ถึง 30% 

‘อายิโนะโมะโต๊ะ’ พิชิตเป้าความยั่งยืนด้วย ‘วัฏจักรอาหารยั่งยืน’ 

รวมถึง สานต่อโครงการ "Thai Farmer Better Life Partner" เป็นปีที่ 5 เพื่อยกระดับผลผลิตและความรู้แก่เกษตรกรไทย ปัจจุบันมีพี่น้องเกษตรกรเข้าร่วมทั้งหมด 1,300 ครัวเรือน โครงการนี้ช่วยให้ผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น 30% โดยเป้าหมายในปี 2573 บริษัทมุ่งดำเนินธุรกิจแบบ Net Zero พร้อมขยายวัตถุดิบทางการเกษตรที่ตรวจสอบกลับได้เพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนเพาะปลูกไปจนถึงหลังเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถดำเนินการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในส่วนของโครงการมันสำปะหลังสู่ความยั่งยืน มีแผนการดำเนินงาน 5 กิจกรรมหลักคือ 

1) AFDG one-stop service ทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์ด้วยการสร้างเครือข่ายเพื่อการเกษตรกับพาร์ตเนอร์ เช่น คูโบต้าในเรื่องการเตรียมดิน เก็บเกี่ยว และสตาร์ตอัพการเกษตร ListenField พัฒนาแอปพลิเคชันการเกษตรที่มีการพยากรณ์อากาศ การเจริญเติบโต การเก็บเกี่ยว และการตรวจสอบกลับได้ 

2) นำระบบ AI มาสร้าง supply chain เพื่อช่วยในการจับคู่โรงงานแป้งและเกษตรกร 

3) ร่วมมือกับโรงแป้ง ในการรับมันสำปะหลังของโครงการ “Thai Farmer Better Life Partner” 

4) พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ปุ๋ยชีวภาพ/สารกระตุ้นชีวภาพเพื่อเสริมการเจริญเติบโตของพืช และการจัดการน้ำ 

5)  Farm School สานต่อโครงการร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร มุ่งเน้นการให้ความรู้และเทคนิคการเพาะปลูกที่ทันสมัยแก่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังและกาแฟเพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรไทย

ขณะที่ โครงการ Green Coffee Bean (GCB) Farmer Sustainability เป็นการสนับสนุนการเติบโตของเกษตรกรไทยอย่างครบวงจร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตาม “หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)” กับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ควบคู่ไปกับการไม่ทำให้เกิดมลพิษ และเกิดความยั่งยืนทางการเกษตรในระยะยาว

‘อายิโนะโมะโต๊ะ’ พิชิตเป้าความยั่งยืนด้วย ‘วัฏจักรอาหารยั่งยืน’