บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจนล่าสุด เดือนมีนาคม 2567
อัปเดต บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจนล่าสุด เดือนมีนาคม 2567
ที่นี่อัปเดตทุกแง่มุมความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับการ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ซึ่งได้กำหนดการโอนเงินให้กับผู้มีสิทธิจะสามารถใช้ สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด เดือนมีนาคม 2567
ไทม์ไลน์โอนเงินเข้า "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" หรือ บัตรคนจน ในช่วงเดือนมีนาคม 2567 ดังนี้
วันที่ 1 มีนาคม 2567 (เป็นวงเงินสิทธิไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)
- วงเงินซื้อสินค้า 300 บาทต่อคนต่อเดือน (สำหรับผู้มีสิทธิที่ยืนยันตัวตน 27 ม.ค. - 26 ก.พ. 2567 และเริ่มใช้สิทธิได้ 1 มี.ค. 2567 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง)
- วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 80 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (มกราคม - มีนาคม 2567)
- วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาทต่อคนต่อเดือนประกอบด้วย
- บขส.
- รถไฟ
- ขสมก.
- รถไฟฟ้า MRT (สายสีน้ำเงิน/สีม่วง) BTS (สายสีเขียว/สีทอง/สีเหลือง/สีชมพู) ARL (Airport Rail Link/สายสีแดง)
- รถโดยสารเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ
วันที่ 11-13 มีนาคม 2567
- เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่ได้รับสิทธิในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อัตรา 100 บาทต่อเดือน (มกราคม - มีนาคม 2567)
วันที่ 11 มีนาคม 2567 สำหรับผู้มีสิทธิที่เกิดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2495
วันที่ 12 มีนาคม 2567 สำหรับผู้มีสิทธิที่เกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2495 - 31 ธันวาคม 2501
วันที่ 13 มีนาคม 2567 สำหรับผู้มีสิทธิที่เกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2501 - 29 กุมภาพันธ์ 2507
สำหรับผู้มีสิทธิที่ได้ทำการยืนยันตัวตน (e-KYC) แล้ว ภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 จะได้รับการโอนเงินผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้
1. บัญชีร่วมกับบุคคลอื่นหรือบัญชีบุคคลอื่น ตามหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีร่วมกับบุคคลอื่นสำหรับผู้ได้รับสิทธิโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (เฉพาะกรณีผู้พิการ/ผู้ป่วยติดเตียง/และหรือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่สามารถเปิดบัญชีหรือผูกพร้อมเพย์ได้) หรือหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีบุคคลอื่นสำหรับผู้ได้รับสิทธิโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (เฉพาะกรณีผู้พิการ/ผู้ป่วยติดเตียง/และหรือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปที่ไม่สามารถเปิดบัญชีหรือผูกพร้อมเพย์ได้) หรือ
2. กรณีไม่มีบัญชีตาม (1) จะโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิ (ต้องผูกพร้อมเพย์ภายในวันที่ 6 มีนาคม 2567)
วันที่ 20 มีนาคม 2567
- เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้มีสิทธิที่เป็นคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาทต่อเดือน ที่ยืนยันตัวตน 27 ม.ค. - 26 ก.พ. 67 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง (โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้มีสิทธิหรือบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิหรือผู้รับมอบอำนาจที่ใช้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท))
ขออุทธรณ์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐล่าสุด
ขออุทธรณ์ด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์
ตั้งแต่เวลา 6.00 น. ถึง 23.00 น.ของทุกวัน
ขออุทธรณ์ผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน
ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานคลังจังหวัดทุกจังหวัด ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร และศาลาว่าการเมืองพัทยา ตามวันและเวลาทำการของแต่ละหน่วยงาน นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม 2566 ผู้ลงทะเบียนสามารถขอตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติและขออุทธรณ์ได้ที่สำนักงานคลังจังหวัดทุกจังหวัดได้ทุกวัน รวมวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 8.30 – 16.30 น.
ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน-ไม่ผ่าน ยืนยันตัวตน
ผู้ผ่านเกณฑ์สามารถไปยืนยันตัวตนได้ที่ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ตามวันและเวลาของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคม 2566 ผู้ผ่านเกณฑ์สามารถยืนยันตัวตนได้ทุกวัน รวมวันเสาร์ -อาทิตย์ โดยสาขาทั่วไปตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. และสาขาในห้างสรรพสินค้าตั้งแต่เวลา 11.00 – 16.00 น.
นอกจากนี้ ผู้ผ่านเกณฑ์ที่ยังไม่มีบัญชีธนาคารจะต้องเปิดบัญชีธนาคารและผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขประจำตัวประชาชน โดยสามารถเปิด “บัญชีพื้นฐาน” ซึ่งเป็นบัญชี เงินฝากที่ไม่กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี
ทั้งนี้ ประเภทบัญชีดังกล่าวเป็นการให้บริการเฉพาะผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนภายใต้โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยผู้ที่ประสงค์จะเปิดบัญชีดังกล่าวสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเปิดบัญชีได้จากธนาคารพาณิชย์ทั้ง 14 แห่งทุกสาขาทั่วประเทศ
เอกสารสำหรับการยืนยันตัวตน
กรณีเดินทางมาด้วยตนเอง
- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ลงทะเบียน)
- ใบสำคัญการหย่า หรือ ใบมรณะบัตร หรือ หนังสือรับรองการตาย หรือทะเบียนบ้านที่มีการจำหน่ายการตาย (เฉพาะผู้ผ่านเกณฑ์แบบมีเงื่อนไข)
กรณีมอบอำนาจ (ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมายืนยันตัวตนได้เอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมายืนยันตัวตนแทนได้) โดยใช้เอกสาร ดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ลงทะเบียน)
- หนังสือมอบอำนาจ (ดาวน์โหลดคลิกที่นี่)
- ใบสำคัญการหย่า หรือ ใบมรณะบัตร หรือ หนังสือรับรองการตาย หรือทะเบียนบ้านที่มีการจำหน่ายการตาย (เฉพาะผู้ผ่านเกณฑ์แบบมีเงื่อนไข)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ได้รับมอบอำนาจ)
- สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี) หรือใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี) ให้นำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่หน่วยงานยืนยันตัวตน
เมื่อยืนยันตัวตนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะสามารถตรวจสอบสถานะการยืนยันตัวตนของตนเองผ่านทางเว็บไซต์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (คลิกที่นี่) หรือที่ welfare.mof (คลิกที่นี่) ในวันถัดไป
อ้างอิงข้อมูลจาก กระทรวงการคลัง และ รัฐบาลไทย