AMATA มีความท้าทายอยู่บ้าง (1 กันยายน 2565)

AMATA มีความท้าทายอยู่บ้าง (1 กันยายน 2565)

อัพเดตแนวโน้มของบริษัท พร้อมทั้งปรับประมาณการ และราคาเป้าหมาย

อุปสงค์การลงทุนในประเทศไทยมีแนวโน้มเป็นบวก

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) อุปสงค์การลงทุนในประเทศยังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยอดอนุมัติสิทธิประโยชน์ BOI อยู่ที่ 3.76 แสนล้านบาท (+42% YoY) ในช่วง 6M65 หลังจากที่ตัวเลขในปี 2564 อยู่ที่ 5.12 แสนล้านบาท (+42% YoY) ในขณะเดียวกัน ยอดอนุมัติ BOI ของเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศอยู่ที่ 1.48 แสนล้านบาท (+17% YoY) ในช่วง 6M65 หลังจากที่ตัวเลขในปี 2564 อยู่ที่ 2.81 แสนล้านบาท (+11% YoY) (Figure 1-2) ทั้งนี้ สามประเทศที่มียอดการลงทุนทางตรง (FDI) ที่ได้รับอนุมัติ BOI สูงที่สุดได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และจีน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ได้รับอนุมัติ BOI ได้แก่ เครื่องจักร และขนส่ง (31% ของยอดอนุมัติ BOI ของ FDI) และอิเล็กทรอนิกส์ (23% ของยอดอนุมัติ BOI ของ FDI) ทั้งนี้ BOI คาดว่าอุปสงค์การลงทุนในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นหลังจากที่กลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง
เนื่องจากประเทศไทยมีความแข็งแกร่งทั้งในแง่ของทำเลที่ตั้ง และนโยบายการลงทุน ทั้งนี้ BOI มองว่ายังมีความเสี่ยงในบางประเด็น อย่างเช่น การบรรลุข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ยังคงจำกัด การเปลี่ยนผ่าน และ disruption ของเทคโนโลยี ซึ่งทาง BOI กำลังพิจารณามาตรการต่าง ๆ ที่จะมาช่วยบรรเทาผลกระทบด้านลบจากความเสี่ยงดังกล่าว

 

 

 

 

 

ผลการดำเนินงานดูท้าทายในครึ่งหลังของปีนี้ เราจึงปรับสมมติฐานเล็กน้อย

ถึงแม้เราจะมองว่าอุตสาหกรรมโดยรวมจะเป็นบวก แต่เราคิดว่า AMATA ยังเผชิญกับความท้าทายอยู่บ้างหลังจากที่ผลการดำเนินงานในครึ่งแรกของปีนี้อ่อนแอเล็กน้อย โดยยอดขายที่ดินใน 1H65 อยู่ที่ 174 ไร่ (สมมติฐานยอดขายเต็มปีของเราในปัจจุบันอยู่ที่ 950 ไร่) และยอดโอนที่ดินใน 1H65 อยู่ที่ 252 ไร่ (สมมติฐานยอดโอนที่ดินเต็มปี ของเราในปัจจุบันอยู่ที่ 610 ไร่) นอกจากนี้ ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านบาท/ไร่ เนื่องจากที่ดินที่มีการโอนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง (สมมติฐานราคาขายเฉลี่ยเต็มปีของเราในปัจจุบันอยู่ที่ 4.3 ล้านบาท/ไร่) ดังนั้น เราจึงปรับสมมติฐานเล็กน้อยดังนี้ i) ปรับลดยอดขายที่ดินปีนี้จากเดิมที่ 950 ไร่เหลือ 700 ไร่ (หมายความว่ายอดขายที่ดินใน 2H65 จะอยู่ที่ประมาณ 500 ไร่) และ ii) ปรับราคาขายเฉลี่ยปี 2565/2566 ลงจากเดิมที่ 4.3 ล้าบาท/ไร่ เหลือ 4 ล้านบาท/ไร่ ดังนั้น เราจึงปรับลดประมาณการกำไร
สุทธิปี 2565-2566 ลง 3% (Figure 5)

AMATA มีความท้าทายอยู่บ้าง (1 กันยายน 2565)

 

 

ยังคงใช้ PER แบบมี premium และขยับไปใช้ราคาเป้าหมายปีหน้าเพื่อสะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัว

เรายังคงมองว่ายอดขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมมีแนวโน้มจะฟื้นตัวขึ้นจากการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเดินทาง และการเปิ ดประเทศ ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถตอบสนองต่ออุปสงค์ในการย้ายฐานการผลิตได้ ดังนั้น เราจึงเชื่อว่าหุ้น AMATA สมควรจะมี premium โดยเรายังคงใช้ PER แบบมี premium สำหรับธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมที่ 20.5X (+1.0 S.D.) และขยับไปใช้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2566 เพื่อสะท้อนแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว

 

 

 

Valuation & action

เราขยับไปใช้ราคาเป้าหมาย SOTP สิ้นปี 2566 ที่ 21 บาท จากเดิมที่ 18.40 บาท ถึงแม้ว่าเราจะประเมินราคาเป้าหมายแบบมี premium และขยับไปใช้ราคาเป้าหมายปีหน้าแล้ว แต่จากราคาปิ ดล่าสุด ราคาหุ้นเหลือ upside จำกัด ดังนั้น เราจึงยังคงคำแนะนำ “ถือ” AMATA
 

Risks

ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risk), เศรษฐกิจชะลอตัวลง, ภัยธรรมชาติ, การซื้อที่ดิน, การกระจุกตัวของกลุ่มอุตสาหกรรม, เงินทุนไม่เพียงพอ