กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ กลับมาปรับฐานลง ปัจจัยต่างประเทศเป็นลบมากขึ้น

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ กลับมาปรับฐานลง ปัจจัยต่างประเทศเป็นลบมากขึ้น

ภาวะตลาดโลกกลับเข้าสู่โหมด risk-off อีกครั้ง ซึ่งน่าจะฉุดให้ตลาดไทยขยับลดลง ในสัปดาห์ที่แล้ว (3-7 ตุลาคม) ตลาดหุ้นไทยผันผวนอย่างหนัก แต่ปิดแทบไม่เปลี่ยนแปลง WoW โดยตลาดปรับลงมาแรงในวันจันทร์เพราะมีแรงขายอย่างหนักจากนักลงทุนสถาบันในประเทศ

แต่ดัชนี SET สามารถดีดตัวกลับขึ้นมาได้ในระหว่างสัปดาห์เนื่องจากหุ้นกลุ่มพลังงานขยับขึ้นหลังจากที่ OPEC+ มีมติลดการผลิตน้ำมันลง 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเหนือความคาดหมายของตลาด บวกกับหุ้นใหญ่ในกลุ่มอิงเล็กทรอนิกส์ (DELTA) ขึ้นมามาแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สภาวะตลาดโดยรวมยังคงซบเซาเนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐกลับมาขยับขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่มีผู้บริหารของเฟดหลายรายออกมาส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง

 

ในสัปดาห์นี้ (10-12 ตุลาคม) เราคาดว่าดัชนี SET น่าจะปรับลดลง โดยข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐที่ตึงตัวขึ้น (อัตราการว่างงานเดือนกันยายนยังต่ำมากที่ 3.50%) และราคาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมาทำให้ตลาดมองว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยต่อ และทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรกลับมาสูงขึ้นอีก ซึ่งในภาวะดังกล่าวเป็นสัญญาณลบกับสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัปดาห์นี้จะมีเหตุการณ์ทางด้านเศรษฐกิจมหภาคโลกเกิดขึ้น อย่างเช่น การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของ IMF และการเผยแพร่ดัชนีเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐ ทั้งนี้ เมื่ออิงจากการวิเคราะห์ earnings yield gap (EYG) เรายังคง
มองว่าดัชนี SET ไม่น่าจะปรับลงไปต่ำกว่าระดับ 1,550 จุด

 

 

ติดตามประมาณการเศรษฐกิจของ IMF, ดัชนี CPI สหรัฐ และความคืบหน้าของกลุ่มสื่อสารของไทย

ปัจจัยในตลาดโลก: การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของ IMF และ ดัชนี CPI ของสหรัฐในเดือนกันยายน ในช่วงกลางสัปดาห์นี้ IMF จะเผยแพร่รายงาน World Economic Outlook (WEO) และจะปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเราคาดว่า IMF จะปรับลดประมาณการของประเทศ DM ลงอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ของประมาณการของ ASEAN และประเทศไทยน่าจะยังประคองตัวได้ ส่วนทางด้านของสหรัฐ จะมีการเผยแพร่ดัชนี CPI เดือนกันยายนในวันที่ 13 ตุลาคม ซึ่ง consensus คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 8.1% YoY (จาก 8.3% YoY ในเดือน
สิงหาคม) แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.5% YoY (จาก 6.3% YoY ในเดือนสิงหาคม)

 

ปัจจัยในประเทศ: การตัดสินของกสทช. กรณีดีล M&A ของ DTAC* และ TRUE* ตลาดการเงินไทยจะเปิดทำการเพียงสามวันเท่านั้นในสัปดาห์นี้ และไม่มีกำหนดการเผยแพร่ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอย่างไรก็ตาม มีหนึ่งเหตุการณ์สำคัญสำหรับกลุ่มสื่อสาร คือในวันที่ 12 ตุลาคม กสทช. จะตัดสินกรณีการควบรวมของ DTAC* และ TRUE* ซึ่งเรามองว่า กสทช. น่าจะตัดสินในแนวทางเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ตีความว่า กสทช. ไม่มีอำนาจอนุญาต/ไม่อนุญาตให้ทั้งสองบริษัท
ทำดีล M&A แต่สามารถกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้มั่นใจว่าหลังการควบรวมแล้วผู้บริโภคจะไม่เสียประโยชน์

 

 

 

เรายังคงแนะนำให้ซื้อเมื่อ SET Index ตลาดหุ้นไทยยังน่าจะ outperform หุ้นโลก และมีความเสี่ยงทางลงไม่มาก

เรายังคงมองว่าดัชนี SET จะยังคง outperform ตลาดหุ้นโลก และตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงทางลงที่จำกัด ดังนั้น เราจึงยังคงแนะนำให้ซื้อเมื่อย่อ ในขณะเดียวกัน ถึงแม้ว่าหุ้นกลุ่มพลังานจะมีแนวโน้มดีในระยะสั้น แต่เรายังไม่แน่ใจว่าราคาน้ำมันดิบจะฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนในภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญในระยะต่อไป ดังนั้น เราจึงยังคงแนะนำธีมการลงทุนกลุ่มเดิม ๆ ได้แก่ ธนาคาร ท่องเที่ยว และ reopening โดยหุ้นเด่นที่เราเลือกได้แก่ KBANK*, KTB*, AOT*, BDMS*, CENTEL*, ERW, PLANB* และ PTG*