BANKING SECTOR - NIM ปรับดีขึ้นเร็วกว่าที่คาด
กำไรของกลุ่มธนาคารใน 3Q22 เพิ่มขึ้นทั้ง qoq และ yoy ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปตามที่เราคาดไว้ แต่ไส้ในถือว่า NIM ปรับตัวดีขึ้นเร็วกว่าที่เคยประเมิน อย่างไรก็ดี เรามองว่าโมเมนตัมกำไรอาจจะแผ่วลงใน Q4 เนื่องจาก OPEX สูงขึ้นตามฤดูกาลในช่วงปลายปี
อีกทั้งราคาหุ้นอาจจะผันผวนจากความกลัวเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย และ การจ่ายเงินสมทบ FIDF ที่จะกลับมาเพิ่มขึ้น เรายังคงให้น้ำหนักกลุ่มธนาคารที่ OVERWEIGHT เลือก SCB และ KTB เป็นหุ้นเด่นในกลุ่ม
กำไรของกลุ่มธนาคารใน 3Q22 เร่งตัวทั้ง qoq และ yoy
กำไรสุทธิรวมของกลุ่มธนาคารใน 3Q22 อยู่ที่ 4.25 หมื่นล้านบาท (+3% qoq และ+27% yoy) โดยกำไรสุทธิในงวด 9M22 เพิ่มขึ้น 20% ytd และคิดเป็น 77% ของประมาณการกำไรปี FY22 ของเรา ทั้งนี้ ผลประกอบการโดยรวมเป็นไปตามที่เราคาดไว้ และเป็นไปตาม consensus ของตลาด โดยผลประกอบการของธนาคารสี่แห่ง (KBANK, SCB, TISCO และ TTB) เป็นไปตามที่เราคาดไว้ ขณะที่กำไรของ KTB แข็งแกร่งกว่าที่คาดและมีเพียงธนาคารเดียว (BBL) ที่กำไรต่ำกว่าที่ประเมิน ทั้งนี้กำไรของกลุ่มที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง yoy เป็นเพราะ ECL ทยอยปรับลดลงกลับสู่ระดับปกติมากขึ้นท่ามกลางสัดส่วน NPL ที่ลดลง โดย Credit cost ลดลงจาก 158bps ใน 3Q21 เหลือ 127bps ใน 3Q22 ในขณะเดียวกัน โมเมนตัมกำไรที่ดีขึ้น QoQ เป็นเพราะสินเชื่อขยายตัว และ NIM ฟื้นตัวขึ้นได้ดีกว่าที่เราคาดไว้ โดยสินเชื่อขยายตัว 0.8% qoq และ 2.7% ytd ในขณะที่ NIM เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14bps จากไตรมาสก่อนหน้า แม้ว่าธนาคารต่าง ๆ จะยังคงอัตราดอกเบี้ย M-rates เอาไว้เท่าเดิม
โมเมนตัมกำไรอาจจะแผ่วลงเนื่องจาก OPEX เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล
ในช่วงปลายปี ธนาคารต่าง ๆ มักจะมีการบันทึก OPEX เพิ่มขึ้นทั้งจากค่าใช้จ่ายในการบริหาร และส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของระบบ IT ซึ่งหมายความว่าโมเมนตัมของกำไรอาจจะแผ่วลง qoq ใน Q4 ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม เราคาดว่ากำไรของธนาคารน่าจะยังโตได้อย่างแข็งแกร่งในเชิง yoy จากการที่ ECL ปรับลดลงต่อสู่ระดับปกติ และ NIM ฟื้นตัวขึ้นหลังธนาคารเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ย M-rate ตาม ธปท. นอกจากนี้โดยรวม เรายังมองว่าสภาวะทางการเงินและเศรษฐกิจยังคงเอื้ออำนวยกับกลุ่มธนาคาร โดยคาดว่าการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นในปีหน้าจะทำให้มีอุปสงค์ของเงินและสินเชื่อเพิ่มขึ้น รวมถึงคาดว่าอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งผลดีต่อกลุ่ม โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ เพราะพอร์ตสินเชื่อส่วนใหญ่คิดดอกเบี้ยลอยตัว และโครงสร้างเงินฝากส่วนใหญ่เป็น CASA ซึ่งมีต้นทุนต่ำ
คงน้ำหนักกลุ่มธนาคารที่ OVERWEIGHT โดยมองว่ายังมีโอกาสในความผันผวน
เรายังคงมองว่ากลุ่มธนาคารอาจจะแกว่งตัวใน 4Q22 ท่ามกลางความกลัวประเด็นเศรษฐกิจโลกถดถอย และ NIM ที่จะถูกกดดันหลังจากมาตรการลดเงินสมทบ FIDF สิ้นสุดลงในปลายปีนี้ อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าน่าจะเป็นโอกาสให้เข้าซื้อสะสมได้ในช่วงที่ตลาดย่อลงมา โดยเรายังคงให้น้ำหนักกลุ่มธนาคารที่ OVERWEIGHT โดยเลือก SCB และ KTB เป็นหุ้นเด่นในกลุ่ม เราคาดว่า KTB และ SCB จะเป็นตัวนำกลุ่มธนาคารในช่วงที่เหลือของปีนี้ เนื่องจากผลประกอบการมีแนวโน้มแข็งแกร่ง และแนวโน้มบวกในระยะต่อไป ในทางกลับกัน เราคาดว่า KBANK และ BBL จะถูกกดดันจากผลประกอบการที่น่าผิดหวัง และแนวโน้มที่อ่อนแอลงจาก credit cost