Investment Strategy เงินเฟ้อของไทยลดลงในเดือนมกราคม
ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเพิ่มขึ้น 5.02% yoy ในเดือนมกราคม ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 5.89% และต่ำกว่า consensus ที่ 5.12% ซึ่งหากไม่รวมอาหารสดและพลังงาน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 3.04% yoy จาก 3.23% ในเดือนธันวาคม
ทั้งนี้ แรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อในเดือนมกราคมส่วนใหญ่มาจากราคาสินค้าหมวดอาหารที่เพิ่มขึ้น 7.7% โดยเฉพาะผักสดที่พุ่งสูงขึ้นถึง 16.6% ซึ่งอาจจะเป็นผลจากเทศกาลตรุษจีน ส่วนราคาสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้นเพียง 3.18% โดยหมวดการบันเทิงและขนส่งเป็นหมวดหลักที่มีราคาสูงขึ้น
Analysis
เงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงจะลดแรงกดดันของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะเมื่อประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเร็วขึ้นอย่างที่พบในรายงานตัวเลขเศรษฐกิจเดือนธันวาคม อาจจะทำให้ กนง. หยุดขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราวในช่วงเดือนต่อ ๆ ไป ซึ่งจะลดความตึงเครียดทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดภาวะทางการเงินตึงตัว ในขณะเดียวกัน การที่เงินบาทอ่อนค่าลง (เมื่อเทียบกับ USD) ในช่วงนี้ยังมีส่วนช่วยคลายแรงกดดันลงไปด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องระวังคือผลสำรวจ purchasing manager survey (PMI) ของประเทศไทยที่รวบรวมโดย Markit economic ซึ่งชี้ว่าโมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจไทยกลับมาแล้วในเดือนมกราคมตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งประเด็นนี้อาจจทำให้การตัดสินนโยบายของ กนง. มีความซับซ้อนมากขึ้น