Investment Strategy การส่งออกไทยเดือนเมษายนหดตัวแรงเกินคาด
การส่งออกที่แข็งแกร่งเกินคาดในเดือนมีนาคมพลิกกลับมาหดตัว 7.6% yoy ในเดือนเมษายน ซึ่งแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ -2% อย่างมาก
ในขณะที่การนำเข้าก็หดตัว 7.3% มากกว่า consensus ที่คาดไว้ที่ -4.9% แต่การนำเข้าที่อ่อนแอยังไม่สามารถชดเชยการส่งออกที่หดตัวอย่างหนักได้ ทำให้ไทยขาดดุลการค้า US$1.47 พันล้านบาท จาก US$2.72 พันล้านในเดือนก่อนหน้า การส่งออกสินค้าเกษตรยังประคองตัวได้ดี โดยเพิ่มขึ้น 8.2% yoy นำโดยพืชผัก, หมูและไก่แช่แข็ง ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงถึง -11.2% yoy สินค้ากลุ่มที่โตอย่างโดดเด่นมีเพียงรถปิกอัพ และรถเพื่อการพาณิชย์ (+47.3% yoy) รวมถึงรถมอเตอร์ไซค์ (+10.4%) ในขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยังคงอยู่ในขาลง สอดคล้องกับแนวโน้มภาคการผลิตโลกที่ชะลอตัวลง
เราพบว่าการส่งออกไทยลดลงจากเดือนก่อนหน้า (mom) ในอัตราที่แรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2019 (Fig 1) ซึ่งเมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออก พบว่าอยู่ในระดับเดียวกับเมื่อเดือนเมษายน 2021 (Fig 2) อย่างไรก็ตาม เราคิดว่าไม่น่าแปลกใจ เพราะตัวชี้วัดที่บ่งชี้อนาคต (forward looking) ที่เชื่อถือได้ (การส่งออกเฉลี่ยของเกาหลี ไต้หวัน และสิงคโปร์ – ไม่รวมน้ำมัน) ยังคงลดลงอย่างมากในระดับสองหลัก (Fig 3) สอดคล้องกับ PMI ภาคการผลิตที่อ่อนแอของเศรษฐกิจหลักทั่วโลก (Fig 4) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากการนำเข้าวัตถุดิบที่ยังคงหดตัวลง (-10.8% yoy) เราจึงคาดว่าการส่งออกในเดือนต่อ ๆ ไปน่าจะยังแผ่วอยู่ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อแนวโน้มการลงทุนภาคเอกชน เพราะการนำเข้าสินค้าทุนลดลงอย่างมากถึง 9.5%
เราคิดว่าตัวเลขที่อ่อนแอในเดือนเมษายนน่าจะเป็นผลมาจากวันหยุดยาวมากกว่า ขณะที่ดัชนีชี้นำอื่นยังคงบ่งชี้ถึงอุปสรรคของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม การอ่อนแอลงของเศรษฐกิจ และ การลดลงที่ค่อนข้างเร็วจากเงินเฟ้อของไทยลดลงค่อนข้างเร็ว อาจทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งสุดท้ายในการประชุมวันนี้ (31 พ.ค.) เรายังคาดว่าธปท. จะส่งสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้