KTX Zoom (31 พฤษภาคม 2566)

KTX Zoom (31 พฤษภาคม 2566)

จับตา สัญญาณหลังประชุมกนง. (คาดส่งสัญญาณสิ้นสุดดอกเบี้ยขาขึ้น)

KTX Zoom (31 พฤษภาคม 2566)

Today’s dominant ideas

คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways แนวรับ 1,527/1,517 จุด แนวต้าน 1,546/1,555 จุด ทางเทคนิค ดัชนีฯ ยังคงเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways กรอบ 1,527-1,546 จุด เพื่อรอเลือกทิศทางว่า ดัชนีฯ จะเป็นทิศทางขาขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 1,565/1,580 จุด (EMA 50/75 วัน) หรืออ่อนตัวลงมาทดสอบแนวรับ 1,500 จุด

ประเด็นที่มีผลต่อตลาดวันนี้ ไฮไลท์ในประเทศอยู่ที่ ผลประชุมกนง.(Consensus และ KTX คาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 2.0%) ส่วนสัญญาณที่ต้องจับตา คือ สัญญาณหลังประชุมว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องหรือเริ่มชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต โดย KTX คาดว่าขาขึ้นของดอกเบี้ยไทยปีนี้ จะสิ้นสุดที่ 2% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1.1 เงินเฟ้อไทย ทยอยลดลงมาเข้าสู่กรอบเป้าหมายของกนง. แล้ว 1.2 การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 3.6% โดยสุญญากาศทางการเมือง อาจส่งผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า (ซ้ายล่าง) 1.3 ลดผลกระทบต่อระดับหนี้ครัวเรือน และ
NPLที่ยังอยู่ในระดับสูง (ขวาล่าง) ส่วนประเด็นต่างประเทศ จับตา 1. MSCI Rebalance Index จะเริ่มมีผลต่อราคาปิดวันนี้เป็นวันแรก โดยดัชนี MSCI Global Standard Indexes เพิ่ม MAKRO (คาดมีเงินไหลเข้า USD105mn) ส่วนดัชนี MSCI Global Small Cap Indexes เพิ่ม SISB SAPPE TIDLOR (และ JMT TU ย้ายลงมาจาก MSCI Global Standard Indexes) 2.แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ผ่านรายงานภาคการผลิตและบริการเดือน พ.ค. ของจีน โดย NBS ทั้งนี้ Consensus คาด ภาคการผลิตดีขึ้นเป็น 49.8 (Vs เดือน เม.ย. 49.2) และภาคบริการลดลงเป็น 55.0 (Vs เดือน เม.ย. 56.4) ขณะที่ Morgan Stanley ส่งสัญญาณเตือนเศรษฐกิจจีนยังไม่ฟื้นตัว เป็นผลจาก จีนไม่ได้ใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนกับประเทศอื่นๆ ในการเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 และตลาดที่อยู่อาศัยของจีนยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าว ออกมาแย่กว่าคาด จะส่งผลต่อแรงขายหุ้นจีนและตลาดหุ้น EM เพิ่มขึ้น อิงผลสำรวจผจก.กองทุนโลกเดือน พ.ค. ล่าสุด ที่พบว่า ผจก.กองทุนโลกเริ่มปรับลดน้ำหนักตลาดหุ้น EM บนคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนอาจไม่เติบโตแข็งแกร่งตามคาด (เป็นลบต่อหุ้น Reopening)

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ KTB TTB SCB ซึ่งเป็นตัวแทนหุ้นกลุ่มธนาคารฯ ที่รับผลบวกจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของกนง. และคาดว่าจะทรงตัวในระดับสูงตลอดปีนี้

 

Strategic daily picks

KTB    ปิด 19.20 บาท/แนวรับ 18.60 บาท แนวต้าน 19.80 บาท

KTB มีมุมมองต่อผลการดำเนินงานปี 2023 ดังนี้ 1) คงเป้าสินเชื่อทั้งปี 2023 โต 3-5% จาก 1Q23 หดตัวลงเล็กน้อย โดยจะเน้นรายย่อยผ่าน digital lending 2)คาด NIM สูงกว่าเป้า 2.8% (1Q23 NIM อยู่ที่ 3%) จากสินเชื่อเกือบทั้งหมดที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว 3)รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เช่น รายได้ค่าธรรมเนียม ตั้งเป้าเติบโต low single digit แต่ยังเป็นเป้าที่ท้าทาย 4) coverage ratio ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่การปรับขึ้นดอกเบี้ย อาจกระทบความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ 5) credit cost คงไว้เดิมที่ 1% ของสินเชื่อรวม และ 6) คุม NPL <3.5% จากปัจจุบัน 3.22% Consensus มองว่า KTB เป็น 1 ในธนาคารที่มีคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อดีและมีความเสี่ยงต่ำ และเห็นพัฒนาการของศักยภาพการทำกำไรดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยเบื้องต้นคาดกำไรสุทธิ 2Q23 จะเพิ่มขึ้นได้ทั้ง YoY, QoQ จากสำรองฯ ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และ NIM ที่เพิ่มขึ้นได้ดี พร้อมทั้งยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 3.8 หมื่นล้านบาท (+14% YoY) และประเมินราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 21 บาท อิง 2023 PBV 0.72 เท่า

 

TTB      ปิด 1.60 บาท/แนวรับ 1.53 บาท แนวต้าน 1.65 บาท

Consensus ประเมินราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 1.70 บาท อิง 2023 PBV 0.72 เท่า และ ROE 8.8% โดยมีมุมมองเป็นบวกต่อกลยุทธ์ของ TTB ในการเปลี่ยนจากกลุ่มผลตอบแทนต่ำ ไปสู่สินเชื่อในกลุ่มผลตอบแทนที่ปรับตามความเสี่ยงที่ดีกว่า เช่น สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อส่วนบุคคล (เพิ่มขึ้น 3-4% QoQ ใน 1Q23) ขณะที่สภาพคล่องส่วนเกินระหว่างธนาคารและตลาดเงิน ได้อานิสงส์จากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ทั้งนี้ Consensus ประมาณการกำไรปกติปี 2023-24 ที่ 1.75 หมื่นล้านบาท และ 1.95 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ สะท้อนถึง NIM สูงขึ้นและต้นทุนสินเชื่อลดลง ด้วยกลยุทธ์ที่เน้นทำกำไรมากกว่าการเติบโตของสินเชื่อ นอกจากนี้ TTB เปลี่ยนการจ่ายเงินปันผลเป็นปีละ 2 ครั้ง (เดิมปีละครั้ง) และเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผลเป็น 50% ในปี 2022 จาก 36% โดยเฉลี่ยในช่วงปี 2017-21

 

SCB    ปิด 103 บาท/แนวรับ 100 บาท แนวต้าน 107 บาท

SCB รายงานกำไรสุทธิ 1Q23 ที่ 1.10 หมื่นล้านบาท (+8% YoY, +54% QoQ) สูงสุดในกลุ่มธนาคารไทย การเติบโตที่แข็งแกร่ง QoQ เป็นผลจาก รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (non-NII) ปรับสูงขึ้น และค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน (opex) ที่ลดลง ด้านคุณภาพสินเชื่อค่อนข้างทรงตัว อัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) ทรงตัว QoQ ที่ 3.3% และอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ปรับเพิ่มเป็น 163.8% ทั้งนี้ Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท +13% YoY จากการตั้งสำรองฯ ที่ลดลง และเริ่มรับรู้รายได้แบบเต็มปีจากธุรกิจใหม่ ส่วนแนวโน้มกำไรสุทธิใน 2Q23 คาดเพิ่มขึ้น YoY จาก NIM ที่เพิ่มขึ้น แต่ QoQ คาดปรับลดลง เพราะฐานสูง จากกำไรจากเงินลงทุน ทั้งนี้ Consensus ประเมินราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 130.00 บาท อิง 2023 PBV 0.90 เท่า

 

KTX Zoom (31 พฤษภาคม 2566)