วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (9 ส.ค. 66)

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (9 ส.ค. 66)

ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา

+ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสและเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังตัวเลข คาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2023 ปรับเพิ่ม โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของ GDP สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่า 1.9% ซึ่งมากกว่าการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 1.5% นอกจากนี้ยังปรับเพิ่มการคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 สู่ระดับ 86 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากแนวโน้มอุปทานที่ตึงตัวหลังการลดกำลังการผลิตของซาอุดิอาระเบีย

- อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดัน หลังตัวเลขการนำเข้าน้ำมันดิบในจีนของเดือน ก.ค. ปรับตัวลดลงกว่า 18.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ม.ค. โดยตัวเลขการนำเข้าหดตัวมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ จากการที่ผู้ผลิตในประเทศชะลอการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์จาก CMC Market คงคาดการณ์ว่าอุปสงค์เชื้อเพลิงของจีนในเดือน ส.ค.-ก.ย. จะอยู่ในทิศทางที่ดีจากความต้องการเดินทางในช่วงหน้าร้อนก่อนจะปรับลดลงในเดือนต.ค.

- หลังตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) เปิดเผย ตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 4 ส.ค. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 4.1 ล้านบาร์เรล สวนทางที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดลง 0.2 ล้านบาร์เรล

 


 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซินปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปสงค์น้ำมันเบนซินในมาเลเซีย และสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ราคายังคงได้รับแรงกดดันจากอุปทานในตลาดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังผ่านพ้นช่วงการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น


ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังตลาดได้รับแรงกดดันจากปริมาณการส่งออกน้ำมันดีเซลในภูมิภาคที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะโควต้าการส่งออกจากจีน ขณะที่กำลังการผลิตน้ำมันดีเซลในเดือน ก.ย. มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
 

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (9 ส.ค. 66)