วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ลุ้น SET Index “รีบาวนด์เพื่อลงต่อ”
ทางเทคนิค คาด SET Index แกว่งตัวขึ้น แนวต้าน 1,550/1,555 จุด แนวรับ 1,537/1,529 จุด (เปิด Gap ไว้เมื่อวันที่ 22 ส.ค.) แม้รูปแบบใหญ่ยังคงเป็นทิศทางขาลง โดยมีเป้าหมายที่ 1,506 จุด แต่อาจมีสัญญาณรีบาวนด์ จากการเกิดแท่งเทียนที่เป็น Higher Low & Higher High ได้เมื่อวันศุกร์
ประเด็นลงทุน อิงการเปลี่ยนแปลงของตลาดการเงินในสัปดาห์ที่ผ่านมา เราคาดว่ามุมมองต่อดัชนี SET Index จะเคลื่อนไหวในลักษณะ “รีบาวนด์เพื่อลงต่อ” โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1. ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร อายุ 10 ปี ของไทย เทียบกับของสหรัฐฯ ที่ขยายกว้างขึ้น (เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร อายุ 10 ปี ของไทย ปรับขึ้นแรงกว่าของสหรัฐฯ) ทำให้เกิดแรงจูงใจในการไหลกลับของนักลงทุนต่างชาติ 2. ประมาณการ EPS เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว (ดัชนีได้มีการพักฐานลงมา จนทำให้ Implied EPS / Est EPS ratio ลดลง เมื่อเทียบกับระดับค่าเฉลี่ยสัปดาห์ก่อน และเข้าสู่ระดับ Oversold สร้างโอกาสต่อการเกิดรีบาวนด์ของดัชนีในระยะสั้นได้) แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร อายุ 10 ปี ของไทยที่ยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น ทำจุดสูงสุดใหม่ต่อเนื่องที่ 3% (Price-in ความเสี่ยงเรื่อง การถูกปรับลดอันดับ Rating) ขณะที่ Earnings Yield ปรับตัวขึ้นไม่ทัน ส่งผลให้ Market risk premium ปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดของปีที่ 3.47% มีนัยว่า ตลาดหุ้นไทยให้อัตราผลตอบแทนที่ต่ำเกินไป สำหรับการซื้อเพื่อลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับระดับความเสี่ยง
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำหุ้นที่มีประเด็นบวกจาก global play กลุ่มอิงราคาน้ำมันดิบโลก ได้แก่ PTTEP TOP และ BCP ส่วนหลักทรัพย์กลุ่มเซมิคอน ดักเตอร์ อาทิ DELTA HANA KCE และกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ AH คาดมีปัจจัยลบตามการร่วงลงกว่า -3% ของกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์สหรัฐฯเมื่อวันศุกร์ จากข่าวการนัดหยุดงานประท้วงของแรงงานใน 3 ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯ GM FORD Stellanis (Chrysler) ตั้งแต่ วันพฤหัสฯ มีแนวโน้มยืดเยื้อจากการไม่สามารถบรรลุข้อตกลงปรับขึ้นค่าจ้าง และสวัสดิการต่าง ๆ ตามคำขอของผู้ประท้วง
Strategic daily picks
PTTEP ปิด 167.50 บาท/แนวรับ 163.00 บาท แนวต้าน 173.00 บาท
KTX คาดกำไรปกติปี 2023-25E (60.3 พันล้านบาท, 64.6 พันล้านบาท และ 67.5 พันล้านบาท ตามลำดับ) และมอง PTTEP เป็น value stock จาก 2023-25E earnings yield ที่ดึงดูดใจราว 9-10% และคาดการณ์อัตราเงินปันผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ (เฉลี่ยราว 5% ต่อปี) เชิงพื้นฐานบริษัทคงเป้าหมายราคาก๊าซฯ เฉลี่ยปี 2023E ที่ USD6.0/ล้านบีทียู, unit cost ที่ USD27-28/boe (คาด 2H23E เร่งตัวขึ้นในกรอบ USD28-29/boe จาก 1H23 ที่ USD26.24/boe) ส่วนเป้าหมายปริมาณขายปิโตรเลียมเฉลี่ยปี 2023E ขยับขึ้นเล็กน้อยจาก 460kboe/d เป็น 464kboe/d โดยคาดปริมาณขาย 2H23E จะเพิ่มขึ้น HoH เป็น 475kboe/d (vs. 1H23 ที่ 453kboe/d)
TOP ปิด 49.50 บาท/แนวรับ 47.75 บาท แนวต้าน 52.50 บาท
ตลาดการกลั่นมีแนวโน้มแข็งแกร่ง โดยคาดค่าการกลั่นอยู่ในระดับ new normal ในปี 2023-24E เมื่อเทียบกับช่วง Pre-COVID-19 แต่ต่ำกว่าปี 2022 ที่เป็นช่วงวิกฤติราคาพลังงาน นอกจากนี้ KTX ประเมินเหตุน้ำมันรั่วไหลที่บริเวณ SBM-2 ที่จุดความเสียหายเป็นท่อลอยบนผิวน้ำ (floating hoses) จะไม่รุนแรงเท่ากรณี SPRC (จุดความเสียหายเกิดขึ้นที่อุปกรณ์ใต้ทะเล) และคาดจะกลับมาใช้งานได้เร็วกว่ากรณีของ SPRC คาดกำไรสุทธิที่ 15.1 พันล้านบาท ในปี 2023E, 14.1 พันล้านบาท ในปี 2024E และ 19.7 พันล้านบาท ในปี 2025E (vs. ฐานกำไรสุทธิที่สูงผิดปกติในปี 2022 ที่ 32.7 พันล้านบาท)
BCP ปิด 40.75 บาท/แนวรับ 38.25 บาท แนวต้าน 42.00 บาท
ราคาน้ำมันดิบโลกคาดว่าจะทรงตัวระดับสูงตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ เนื่องจากการปรับลดกำลังการผลิต (Supply) ของประเทศผู้ผลิต เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ (Demand) ที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจเอเชีย โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีสถานะเป็น Net import น้ำมัน ผนวกกับการเข้าสู่ช่วง High season ของการใช้น้ำมันโลกในช่วง 4Q23 ปัจจัยดังกล่าวเป็นผลบวกต่อ หุ้น BCP ในฐานกลุ่มปลายน้ำ (Downstream) ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมัน