เวสต์เทกซัส 77.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 82.87 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (31 ม.ค. 67) ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม จากความกังวลต่อสถานการณ์ในตะวันออกกลาง
วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (31 ม.ค. 67) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมัน
+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความกังวลต่อสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ยังคงตึงเครียด หลังการโจมตีฐานทัพของสหรัฐฯ ในจอร์แดนโดยกองกำลังติดอาวุธที่หนุนโดยอิหร่าน โดยวานนี้ (30 ม.ค. 67) โจ ไบเดน แถลงว่าสหรัฐฯ กำลังพิจารณาว่าจะตอบโต้การโจมตีดังกล่าวต่อไป ส่งผลให้เกิดความกังวลต่ออุปทานน้ำมันจากอิหร่านที่อาจมีการคว่ำบาตรเกิดขึ้น ขณะที่อุปทานจากเวเนซุเอลาถูกจำกัดจากเริ่มใช้การคว่ำบาตรในสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน
- อย่างไรก็ดี อุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิงในจีนยังคงได้รับแรงกดดันจากวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ในจีน
+ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับตัวเลขประมาณการ GDP ทั่วโลก ปี 2567 ที่ 3.1% เพิ่มขึ้น 0.2 % จากการคาดการณ์ในเดือน ต.ค. 66 โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่มีอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอตัวลง ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ดีขึ้น ส่งผลให้ IMF ปรับเพิ่มตัวเลขประมาณการ GDP สหรัฐฯ ในปี 2567 ที่ 2.1% จาก 1.5%
+ หลังตลาดปิดสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) เผย ตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 26 ม.ค. 67 ปรับตัวลดลงกว่า 2.50 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 0.867 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปสงค์ของภูมิภาคมีแนวโน้มชะลอตัวจากราคาที่ปรับตัวขึ้นอย่างมากในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี อุปทานมีแนวโน้มลดลงจากการซ่อมบำรุงโรงกลั่นในอินโดนีเซีย
ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปทานในภูมิภาคมีแนวโน้มลดลงจากช่วงฤดูกาลซ่อมบำรุงโรงกลั่นที่กำลังจะมาถึง ขณะที่ตัวเลขการส่งออกน้ำมันในภูมิภาคอยู่ในระดับต่ำเช่นกัน