เวสต์เทกซัส 78.02 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 82.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 78.02 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 82.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (15 พ.ค. 67) ราคาน้ำมันดิบ เวสต์เทกซัส ปรับลด หลังตลาดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมัน 

- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส และ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปรับตัวลดลงหลังตลาดกังวลแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อาจจะคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ภายหลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้กล่าวถึง อัตราเงินเฟ้อ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ (PPI) ในเดือน เม.ย. 67 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.2% เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. 67 ที่ระดับ 1.8% จากหมวดสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อเงินเฟ้อให้สูงขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ได้

-/+ ตลาดได้รับแรงกดดันจากรายงานของกลุ่มโอเปคในเดือน พ.ค. 67 ที่คงคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันโลกในระดับเดิมที่ 2.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2567 อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงจับตาสถานการณ์ไฟป่าบริเวณแถบตะวันตกของแคนาดา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบกว่า 1.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน

+ หลังตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) เปิดเผย ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 10 พ.ค. 67 ลดลง 3.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับตัวลดลงเพียง 1.4 ล้านบาร์เรล
 

 

 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงสวนทางกับ ราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคยังอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ อุปสงค์ในเวียดนามและตลาดอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกยังคงอยู่ในภาวะซบเซา อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับปัจจัยบวกจากโรงกลั่นน้ำมันในญี่ปุ่นจำนวน 2 แห่ง ที่มีแผนหยุดซ่อมบำรุงในช่วงกลางเดือน พ.ค. ไปจนถึงเดือน ส.ค. 67


ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปสงค์น้ำมันในออสเตรเลียปรับตัวเพิ่มขึ้นภายหลังสต็อกน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับปัจจัยกดดันจากการที่โรงกลั่นน้ำมันในเกาหลีใต้มีแนวโน้มเพิ่มการส่งออกน้ำมันภายหลังอุปสงค์น้ำมันในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัว
 

เวสต์เทกซัส 78.02 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 82.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล