วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.เคจีไอฯ Quantamental คาดดัชนีพ้นจุดต่ำสุดได้ และกำลังจะฟื้น
ในบทวิเคราะห์เดือน ก.ค. เราประเมิน Downside ของ SET index มีจำกัด โดยคาดว่าธุรกิจ SBL (ขายชอร์ต) จะเริ่มลดลงหลังจากการบังคับใช้ Uptick Rule ในวันที่ 1 ก.ค.
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยยังขาดปัจจัยบวกในระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนี SET ความผันผวนตลอดทั้งเดือน อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.ค. หลังจาก ครม. อนุมัติมาตรการเพิ่มการลดหย่อนภาษีและลดระยะเวลาถือครองสำหรับผู้ถือกองทุน Thai ESG เพื่อช่วยพยุงตลาดหุ้น
Value factor: หุ้นไทยยังถูก
i) Modified yield gap (M-yield gap): M-yield gap ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ +2.0 จุด
มูลค่าของตลาดหุ้นไทยยังคงไม่สูงเกินไปเมื่อเทียบกับตลาดพันธบัตรในประเทศ EPS คาดการณ์ปี 2567
ถูกปรับลดลง 1.0% จากเดือนที่แล้ว อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในประเทศมีแนวโน้มลดลงคล้ายกับแนวโน้มทั่วโลก ซึ่งสนับสนุนมูลค่าของตลาดหุ้น
ii) Implied equity risk premium (iERP): iERP ของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 4.29% ลดลงเล็กน้อยจากเดือนที่แล้ว ส่วนใหญ่เนื่องจากดัชนี SET ปรับตัวขึ้น ค่าเฉลี่ยระยะยาวของ iERP อยู่ที่ +/- 4.3% อย่างไรก็ตาม
อัตราส่วนระหว่าง iERP และอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงอยู่ที่ 1.66 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะ
ยาวที่ 1.48 เท่า
iii) Cyclical adjusted PE (CAPE): อัตราส่วน CAPE ปัจจุบันอยู่ที่ 15.85 เท่า ค่าเฉลี่ยระยะยาวของ
CAPE ของดัชนี SET อยู่ที่ 14.3 เท่า และระดับต่ำสุดของ CAPE ในช่วงวิกฤตโควิด-19 อยู่ที่ 14.8 เท่า
นอกจากนี้ Excess CAPE yield (ECY) หรือความแตกต่างระหว่าง 1/CAPE และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ที่ 3.8% และเราคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในครึ่งหลังของปี 2567 มีโอกาสปรับลดลงอีก ในขณะเดียวกัน ECY ปัจจุบันของตลาดสหรัฐฯ อยู่ที่เพียง 1.15% ตามข้อมูลจาก www.shillerdata.com ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นไทย (พิจารณาจาก ECY) ตอนนี้น่าสนใจกว่าตลาดสหรัฐฯ ค่อนข้างมาก
Aggregate short interest (ASI) ผ่านจุดสูงสุดแล้ว
Aggregate short interest (ASI) ลดลงตลอดเดือนที่ผ่านมาตามที่คาดการณ์ไว้ ภายหลังการใช้มาตรการ
Uptick rule และด้วย Downside ของตลาดหุ้นที่เริ่มจำกัดแล้ว โมเดล ASI ของเราชี้ว่านักลงทุนที่ทำการ
ขายชอร์ตหุ้น ได้ลดสถานะการขายชอร์ตลง ทำให้ Sentiment ด้านลบของตลาดหุ้นไทยลดลง เมื่อเทียบ
กับ 1 – 2 เดือนก่อนหน้า
นักลงทุนลดน้ำหนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย มากจนเกินไปแล้ว
ดัชนี Aggregate Investor Allocation to Equities (AIAE) ของเรา ซึ่งแสดงถึงการจัดสรรสินทรัพย์ปัจจุบัน
ของนักลงทุนทั้งหมดในตลาดหุ้นไทยโดยตรงเทียบกับอุปทานเงินทั้งระบบ ลดลงเหลือ 26.9 จุด ต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 27.6 จุด นอกจากนี้ ในช่วงวิกฤติ Covid-19 นักลงทุนลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นลงสู่
ระดับต่ำสุดที่ +/-26% ของปริมาณเงินทั้งระบบ ดังนั้น ความเสี่ยงด้านลบของหุ้นไทยจึงมีจำกัด เนื่องจาก
เราไม่เชื่อว่านักลงทุนจะลดพอร์ตการลงทุนลงสู่ระดับวิกฤติในอดีต เมื่อพิจารณาจากสถานะการณ์
เศรษฐกิจไทยขณะนี้เทียบกับตอนวิกฤติโควิด-19
ซื้อสะสม ประเมินตลาดหุ้นไทย กำลังจะฟื้น
เราเชื่อว่าความเสี่ยงด้านลบของดัชนี SET มีจำกัด เนื่องจาก i) โมเดลต่างๆของเรา ชี้ว่า Valuation ตลาด
หุ้นไทย ค่อนข้างถูก ii) ธุรกรรมขายชอร์ต ได้ลดสถานะการขายชอร์ตลงตลอดเดือนที่ผ่านมาหลังจากมีการบังคับใช้กฎการขายชอร์ตใหม่ iii) น้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทยเทียบกับปริมาณเงินทั้งหมดใกล้เคียงกับระดับในช่วงวิกฤต Covid-19
นอกจากนี้ เราคาดว่ากระแสเงินทุนใหม่จากกองทุน ESG และกองทุนวายุภักษ์จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยน “ตลาดขาลง” เป็น “ตลาดขาขึ้น” ได้ในเร็วๆ นี้ การปิดสถานะขายชอร์ตจะเป็นอีกหนึ่งแรงซื้อในช่วงปลาย 3Q67 – 4Q67 เรายังคงคำแนะนำ ซื้อสะสม หุ้นไทยต่อ
ระดับแนวรับของดัชนีอยู่ที่ 1,310 จุดและ 1,300 จุด ในขณะที่ระดับแนวต้านอยู่ที่ 1,340–1,360 จุด ในเดือนที่ผ่านมา หุ้น Top Picks 20 ตัวของเรารายงานผลขาดทุน 3.9% แต่กำไร 0.4% คำนวณโดยวิธี Market cap weight และ Equal weight ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนี SET เพิ่มขึ้น 1.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหุ้น Top Picks ของเราสำหรับเดือน ส.ค. แสดงอยู่ในรูปที่ 4