วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง เข้าสู่โซนขาย (Sell into rally)
ทางเทคนิค คาด SET Index ขึ้นต่อ แนวต้าน 1,438/1,445 จุด แนวรับ 1,418 จุด (EMA 50 สัปดาห์)/1,411 จุด ภาพใหญ่เคลื่อนไหวอยู่ในรูปแบบ ขาขึ้น Rounding Bottom กรอบ 1,273-1,579 จุด และกำลังไต่ขึ้นไปทดสอบแนวต้าน
ส่วนระยะสั้น การสร้าง Break Away Gap และ Run Away Gap เป็นโมเมนตัมเชิงบวกต่อการปรับตัวสูงขึ้น ในลักษณะ Zig-Zag Up โดยมีเป้าหมายที่ 1,438/1,460 จุด ตามลำดับ เราแนะนำ ขายทำกำไร เมื่อเกิดสัญญาณกลับตัว(เกิด Hammer)
ประเด็น Event สำคัญวันนี้
Earnings Results จับตารายงานผลกำไร US Oracle 1Q24E คาด EPS USD1.33 Vs Previous USD1.19
Ex-Divided Effect: มีผลกระทบต่อดัชนีฯ -0.11 จุด ไฮไลท์ GPSC ฯลฯ
Apple: จัดงาน “It’s Glowtime: คืนนี้ (ช่วงเช้าวันอังคาร ตามเวลาไทย) โดยคาดว่าจะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ ตั้งแต่ iPhone 16 ซีรีส์ ไปจนถึง AirPods รุ่นใหม่ที่เตรียมยกระดับเพื่อมาทดแทนรุ่นเก่า
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
CN: Inflation Rate เดือน ส.ค. คาด +0.3% MoM, +0.5% YoY (Vs เดือน ก.ค. +0.5% MoM, +0.5% YoY) PPI เดือน ส.ค. คาด -0.5% YoY (Vs เดือน ก.ค. -0.8% YoY) ทั้งนี้ ระดับเงินเฟ้อที่ยังคงเติบโตต่ำ สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับอ่อนแอ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนต่ำกว่าป้าหมายของทางการที่ 5%
US: Wholesales Inventories เดือน ก.ค. คาด +0.3% MoM (Vs เดือน มิ.ย. +0.1% MoM) การปรับเพิ่มขึ้นจะเป็นสัญญาณบวกต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ 3Q24E GDP ส่วน Consumer Inflation Expectations เดือน ส.ค. คาดอยู่ที่ระดับเดิม 3% (Vs เดือน ก.ค. อยู่ที่ 3%) และ Consensus คาดว่าจะลดลงเหลือ 2.4% ในเดือน ธ.ค. 2024 สะท้อนเงินเฟ้อปรับลดลงต่อเนื่องและเพิ่มโอกาสให้เฟดมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในช่วงปลายปีนี้
JP: 2Q24 GDP Growth ครั้งสุดท้าย คาด +0.8% QoQ คิดเป็น Annualized 3.1% (Vs 1Q24 GDP -0.5% QoQ คิดเป็น Annualized -2.3%) อย่างไรก็ดี Consensus คาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเติบโตลดลง เป็น +0.3% QoQ ใน 3Q24E และดีขึ้นเล็กน้อยเป็น +0.5% QoQ ใน 4Q24E ช่วยลดโอกาสของ BOJ ในการปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้
Weekly Strategy: มุมมองต่อ SET Index: Sell into Rally บริเวณ 1,404-1,454 จุด ดัชนีเริ่มเข้าสู่โซน Overbought ระยะสั้น แม้ภาพดัชนี SET จะมี Momentum เชิงบวกในมุมมองระยะกลางจาก
1. กระแสเงินทุนโยกย้ายจากฝั่งตะวันตก (เศรษฐกิจอ่อนแอ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ขาลง) สู่ตะวันออก (เศรษฐกิจยังขยายตัวระดับสูง แนวโน้มดอกเบี้ยทรงตัว) โดยเศรษฐกิจที่คำนึงถึงเงินเฟ้อชะลอตัวลงในฝั่งตะวันตก กดดันให้ต้องกลับมาดำเนินนโยบายผ่อนคลายมากขึ้น ขณะที่ฝั่งตะวันออกเศรษฐกิจที่คำนึงถึงเงินเฟ้ออยู่ในช่วงฟื้นตัว ทำให้ต้องคงความเข้มงวดของนโยบายการเงินไว้เพื่อควบคุมเงินเฟ้ออุปสงค์
2. เศรษฐกิจไทยอยู่ในแนวโน้มฟื้นตัวโดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการเบิกจ่ายภาครัฐฯ การส่งออก การท่องเที่ยว และ การบริโภคในประเทศ และ 3. ประมาณการ EPS ของดัชนี SET ที่กลับเข้าสู่ช่วงขยายตัว (ตลาดหุ้นไทยเริ่มกลับมามี Growth เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ต่างชาติเริ่มเทรด PE สูงขึ้น)
พ.ร.บ. ปี 2025 ผ่านวาระ 3 แล้ว ขณะที่พ.ร.บ. ปี 2024 ยังมีถึง 13 กระทรวง ที่เบิกจ่ายงบลงทุนได้ต่ำกว่า 50% ของเบิกจ่ายงบลงทุนรวม
แต่ด้วยค่าเงินบาทที่เริ่มมีพื้นที่การแข็งค่ามีจำกัด (ดูรูปล่าง) ทำให้กระแสเงินทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยอาจเผชิญกับภาวะชะลอการไหลเข้าระยะสั้น ผนวนกับ การปรับตัวขึ้นของดัชนี SET ถึง +10.3% (นับจากจุดต่ำสุดของเดือน ส.ค.) จนทำให้ MRP ลดระดับลงมาที่ 4.39% (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 90 วัน ที่ -1 S.D.) ทำให้ความน่าสนใจในเชิง Valuation ลดลงในระยะสั้น (Figure 2) ทำให้เราแนะนำ ทยอยขายทำกำไร (Sell into rally) เมื่อดัชนี SET ขึ้นมาในกรอบ 1,404-1,454 จุด
กลยุทธ์การลงทุนสัปดาห์นี้: แนะนำ สลับการลงทุนรายกลุ่มอุตสาหกรรม (Sector Rotation) ไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปรับเพิ่มประมาณการ EPS แต่ราคาหุ้นยังปรับขึ้นไม่มาก (Laggard) สะท้อนผ่าน Equity risk premium (ERP) ที่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 12 เดือน หุ้นแนะนำ AOT (Transportation) BDMS (Health Care) TFG (กลุ่ม Food)
Strategic daily picks
AOT ปิด 63.25 บาท/แนวรับ 62.00 บาท แนวต้าน 65.75 บาท
KTX ประเมินรายได้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นใน FY2024-26E ที่ปีละ +35%/+19%/+12% YoY ทำให้รายได้มากกว่าช่วง pre-COVID ปี 2019 ได้ ทั้งนี้ รายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากรายได้ของธุรกิจการบินที่ขยายตัวใน FY2024E ที่ +39% YoY (ประกอบด้วยรายได้ Landing and parking (LPC), Departure passenger service (PSC) และ Aircraft service) สูงกว่ารายได้ที่ไม่ใช่ธุรกิจการบิน (ประกอบด้วยรายได้ค่าเช่า, ค่าบริการ และส่วนแบ่งกำไร ซึ่งส่วนใหญ่มาจาก King power Duty Free) ที่เติบโต +32% YoY โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 12M FWD ที่ 72.00 บาท อิง earning yield ที่ 2.3%
BDMS ปิด 29.00 บาท/แนวรับ 27.25 บาท แนวต้าน 32.00 บาท
BDMS และ MEDSI Group (เป็นเครือข่ายโรงพยาบาลและคลินิกเอกชนขนาดใหญ่สุดในรัสเซีย จำนวน 148 แห่ง) ร่วมกันลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อขยายขอบเขตความร่วมมือทั้งด้านการแพทย์ การให้บริการคำปรึกษาทางไกล การให้บริการความเห็นที่สอง การดูแลอย่างต่อเนื่อง และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ นอกจากนี้ BDMS คาดผลการดำเนินงานใน 2H24 ดีกว่า 1H24 เนื่องจากเข้าสู่ช่วง high season ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 4.06 พันล้านบาท (+4.35% YoY) และประเมินมูลค่าเหมาะสมที่ 34.84 บาท
TFG ปิด 4.60 บาท/แนวรับ 4.48 บาท แนวต้าน 5.05 บาท
KTX มีมุมมองบวกต่อแนวโน้ม 2H24E คาดธุรกิจไก่จะมีปริมาณส่งออกเพิ่ม HoH จากกำลังผลิตส่วนเพิ่มของโรงงาน 3 ที่กาญจนบุรี ส่วนธุรกิจหมูจะมีปริมาณขายเพิ่มราว 10% HoH (หมูไทยทรงตัว แต่หมูเวียดนามสัดส่วน 30% ของหมูรวมจะมีปริมาณเพิ่ม 30% ตามแผน) ด้านต้นทุนลด QoQ จะหนุนอัตรากำไรเพิ่ม HoH โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 12M FWD ที่ 4.97 บาท อิงอัตราผลตอบแทนคาดหวัง 9.2%