วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิตและภาคบริการเดือน ก.ย. ของ CN

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิตและภาคบริการเดือน ก.ย. ของ CN

ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Up แนวต้าน 1,460/1,465 จุด แนวรับ 1,446/1,438 จุด ภาพระยะกลางอยู่ในรูปแบบ Sideways กรอบใหญ่ 1,274-1,696 จุด โดยมีแนวต้านสำคัญที่ 1,489 จุด (EMA 50 เดือน)

ส่วนในระยะสั้น แม้จะเกิดสัญญาณขาลง (LowerHigh, Lower Low เป็นวันที่สอง) แต่ความ Overbought และ RSI, Stochastic เริ่มลดลง จะทำให้ดัชนีฯมีโอกาสลุ้นรีบาวนด์ในลักษณะ Zig-Zag Up เราแนะนำ ซื้อเก็งกำไรเมื่ออ่อนตัว อิงโมเมนตัมบวกจากการเข้าซื้อหุ้นกองกองทุนวายุภักษ์ เริ่มต้นพรุ่งนี้ เป็นปัจจัยสนับสนุน

ประเด็น Event สำคัญวันนี้ 

Window Dressing: แรงซื้อหุ้นเพื่อทำราคาปิดก่อนสิ้นงวดบัญชี อาจเป็นปัจจัยหนุนหุ้นในวันสุดท้ายของ 3Q24

US: สุนทรพจน์ของประธานเฟด Fed Powell ในงาน National Association for Business Economics conference ที่เมือง Nashville

EU: สุนทรพจน์ของประธานอีซีบี คริสเตียน ลาการ์ด ในงาน EU Parliament monetary dialogue

US: พนักงานท่าเรือชายฝั่งตะวันออกนัดหยุดงาน หลังจากไม่ได้รับการต่อสัญญาทำงาน

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิตและภาคบริการเดือน ก.ย. ของ CN

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิตและภาคบริการเดือน ก.ย. ของ CN

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ

+CN: รายงานภาคการผลิตและภาคบริการรวมเดือน ก.ย. โดย NBS และ Caixin (ส่วนใหญ่คาดปรับตัวดีขึ้น)
NBS (สำรวจจากบริษัทขนาดกลางและบริษัทขนาดใหญ่) คาดรายงานภาคการผลิตและภาคบริการรวมเดือน ก.ย. ลดลงเป็น 49.5 (Vs 50.1 ในเดือน ส.ค.) โดยภาคการผลิตเดือน ก.ย. คาดเพิ่มขึ้นเป็น 50.0 (Vs เดือน ส.ค. 49.1) ส่วนภาคบริการเดือน ก.ย. คาดดีขึ้นเป็น 50.4 (Vs 50.3 ในเดือน ส.ค.) ส่วน Caixin (สำรวจจากบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง) คาดภาครวมเดือน ก.ย. ดีขึ้นเป็น 52.5 (Vs 51.2 ในเดือน ส.ค.) โดยภาคการผลิตเดือน ก.ย. ดีขึ้นเป็น 51 (Vs 50.4 ในเดือน ส.ค.) และภาคบริการเดือน ก.ย. ดีขึ้นเป็น 53.0 (Vs 51.6 ใน
เดือน ส.ค.)

 

 

 

เราคาดตัวเลขดังกล่าวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในเดือน ต.ค. หลังจาก PBOC ประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่เมื่อวันอังคารที่ 24 ก.ย. เพื่อให้เศรษฐกิจจีนเติบโตได้ตามเป้าหมาย 5% ได้แก่ 1. การลดอัตราส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) 50 bps. เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงินCNY1Trn. โดยอาจลดเพิ่มอีก 25-50 bps. อีกครั้งในช่วงปลายปี 2. การลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเพื่อลดต้นทุนกู้ยืมของธนาคารผ่าน Reserve Repurchase 7 วัน จาก 1.7% เป็น 1.5% 3. การลดอัตราดอกเบี้ย Medium Term Loan lending facility (MTF) 30 bps. และ Mortgage Rate ลดลง 50 bps. 4. มาตรการอื่น ๆ รวมถึงการลดเงินดาวน์สำหรับการซื้อบ้านหลังที่สองเหลือ 15% จาก 25%

TH: ธปท.รายงานตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ส.ค. คาด Current Account +USD0.4bn. (Vs เดือน ก.ค. +USD0.3bn.) Private Consumption/Private Investment คาดเติบโต +0.4% MoM และ +0.1% MoM (Vs เดือน ก.ค. +0.3% MoM, +6% MoM)

Germany: รายงานเงินเฟ้อเดือน ก.ย. เบื้องต้นคาด +0.3% MoM, +2.1% YoY (Vs เดือน ส.ค. -0.1% MoM, +1.9% YoY) โดยเงินเฟ้อที่เร่งสูงขึ้นอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ ECB ใช้ในการพิจารณาลดดอกเบี้ยในการประชุม ECB เดือน ต.ค

 

 

Weekly Strategy:

ภาพระยะสั้น หลังจากเราแนะนำทยอยขายทำกำไรในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากคาดตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มผันผวนและย่อตัว เพราะนักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยขายทำกำไรระยะสั้น หลังดัชนีตลาดฯ และค่าเงินบาท/USD พุ่งแรงตลอดเดือน ก.ย. จนทำให้ระดับมูลค่าที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐาน Valuation ที่แพงเกินไปในระยะสั้น โดย SET Market risk premium (MRP) ปรับตัวลงมาที่ 4.27% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 90 วัน ในช่วง -1 S.D. ถึง -2 S.D. (4.39%-4.17%) ส่วนในสัปดาห์นี้ แม้คาดว่าดัชนีฯ ยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัว แต่เราปรับคำแนะนำเป็น รอซื้อคืนเมื่อดัชนีปรับตัวลงต่ำกว่า 1,434 จุด เนื่องจากเรามองว่า Downside ของตลาดหุ้นไทยมีจำกัด เนื่องจากไทยยังมีปัจจัยหนุนจาก 1. การเริ่มเข้าซื้อหุ้นของกองทุนวายุภักษ์ (วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป) 2. การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ ในไตรมาส 4 (เริ่มใช้พ.ร.บ. งบประมาณปี 2025) และ 3. โอกาสการลดดอกเบี้ยที่มากขึ้นของกนง. ทำให้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว

Risks: ธปท. เริ่มออกมาส่งสัญญาณเข้าควบคุมค่าเงินบาท ทำให้การแข็งค่าของค่าเงินบาทหลังจากนี้อาจเริ่มลดระดับลง
อิงข้อมูลจาก KTX AHEAD ประจำวันที่ 16 ก.ย. บ่งชี้ว่า อัตราดอกเบี้ยแท้จริง (Real rate) ของไทยยังคงสูงเป็นลำดับที่ 4 ของเอเชีย เป็นรอง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน (Figure ข้างล่าง) ที่นำร่องประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปก่อนหน้าแล้ว จากภาวะเงินเฟ้อลดลงในเดือน ส.ค. โดยไทยจะรายงานเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. ในวันที่ 7 ต.ค. หากออกมาต่ำกว่าคาด (Consensus คาด +0.6% YoY) จะหนุนให้ Real rate ยังอยู่ในระดับสูง เพิ่มแรงกดดันให้กนง. ปรับลดดอกเบี้ยลง เพื่อลดผลกระทบเงินบาทแข็งค่า สอดคล้องกับมุมมอง ธปท. ที่ได้ออกมาส่งสัญญาณแทรกแซงด้วยวาจาไปแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา (ธปท. ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทเคลื่อนไหว ผันผวนมากผิดปกติ) อีกทั้งสัปดาห์นี้จะมีการนัดหารือระหว่างนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กับนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. กรณีเงินบาทแข็งค่าด้วยปัจจัยดังกล่าว ทำให้การแข็งค่าของค่าเงินบาทหลังจากนี้อาจเริ่มลดระดับลง

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิตและภาคบริการเดือน ก.ย. ของ CN

Risk: นักลงทุนต่างชาติกำไร 2 เด้ง ร่วม 20% QTD หากค่าเงินบาทพลิกกลับ ระวังหุ้นปรับฐานระยะสั้น
นับตั้งแต่ต้นไตรมาส 3 เป็นต้นมา ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นมาแล้วถึง 12.5%QtD กดดันให้ Market risk premium ลดลงอย่างรวดเร็วถึง 60 bps. มาที่ 4.265% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 90 วัน อยู่ที่ -1 ถึง -2 S.D. สะท้อนถึงดัชนี SET มีมูลค่าที่แพงเกินไป เมื่อผนวกกับ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าถึง 10.8% จนทำให้เส้น Trading line ในเครื่องมือ USDTHB Carry trade ปรับตัวลดลงจากระดับ +2 S.D. มาสู่ระดับต่ำกว่า -2 S.D. ซึ่งสะท้อนถึงการแข็งค่าของเงินบาทที่มากเกินไป โดยในอดีต หากสัญญาณดังกล่าว (เส้น Trading line ปรับตัวลงมาต่ำกว่า -2 S.D.) เกิดขึ้นในช่วงที่ดัชนี SET ปรับตัวขึ้น พร้อมกับ ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามาก่อนหน้า มักจะตามมาด้วยการกลับตัว กล่าวคือ นักลงทุนต่างชาติ ได้รับกำไร 2 ทาง (Capital gain และ Exchange rate gain) ทั้งนี้ หากค่าเงินบาทเริ่มกลับมาชะลอการแข็งค่าลง จะเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการขายทำกำไร และ ขนเงินกลับของนักลงทุนต่างชาติ (กระแสเงินทุนต่างชาติพลิกมาไหลออก) (Figure ล่าง)

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิตและภาคบริการเดือน ก.ย. ของ CN

หุ้นแนะนำ: คงกลยุทธ์การหมุนเวียนกลุ่มอุตสาหกรรม (Rotation) ในกลุ่มที่มีความน่าสนใจความเชิงประเมินมูลค่า (Laggard) สะท้อนผ่าน Equity Risk Premium (ERP) ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 12 เดือน

กลยุทธ์การลงทุนสัปดาห์นี้: แนะนำ SAPPE CENTEL และ TFG (ขายหุ้น BDMS เนื่องจากกำไร +10.9% และ ERP กลุ่ม Health เริ่มลดลงเข้าใกล้ค่าเฉลี่ย)

Strategic daily picks

SAPPE      ปิด 71.25 บาท/แนวรับ 69.75 บาท แนวต้าน 74.25 บาท

แนวโน้ม 3Q เป็นฤดูกาลขายดีของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดยุโรปและสหรัฐฯ หนุนโมเมนตัมกำไรเติบโต โดยในเบื้องต้นผลการศึกษาของ KTX พบว่า หากอัตรากำไรเพิ่มทุก ๆ 1% จะทำให้ประมาณการกำไรปี 2024 เพิ่มจากเดิม 4% หรือ 57 ล้านบาท (0.19 บาท/หุ้น) โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 12M FWD ที่ 97.77 บาท

TFG    ปิด 4.24 บาท/แนวรับ 4.10 บาท แนวต้าน 4.44 บาท

บริษัทคาดผลงานใน 3Q24 ดีขึ้นต่อเนื่องจาก 2Q24 เพราะเป็นช่วง high season ส่งผลให้คำสั่งซื้อปรับดีขึ้น ตลอดจนธุรกิจยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทั้งปี 2024 คาดรายได้จะเป็นตามเป้าหมายที่เติบโตราว 10-15% YoY รวมทั้งมุ่งขยายร้านค้าปลีก “ไทยฟู้ดส์ เฟรซ มาร์เก็ต” ให้ครบ 450 สาขา ในปี 2024 โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 12M FWD ที่ 4.97 บาท

CENTEL    ปิด 40.00 บาท/แนวรับ 37.50 บาท แนวต้าน 42.50 บาท

KTX ปรับประมาณการกำไรปกติปี 2024E ลง -5% เป็น 1.07 พันล้านบาท (+3% YoY) โดยเป็นผลจากการปรับ effective tax rate ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับที่เกิดขึ้นจริงใน 1H24 ขณะที่เรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2025E ที่ 1.4 พันล้านบาท (+27%YoY) โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 12M FWD ที่ 35.75 บาท (Bloomberg Consensus ประเมินมูลค่าเหมาะสม 44.17 บาท)

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิตและภาคบริการเดือน ก.ย. ของ CN